เมื่อต้องสอนนักศึกษา ทีละ 500 คนในยุค 2019

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH
Published in
5 min readJul 19, 2019

Dr.David Kellerman จาก มหาวิทยาลัย UNSW Sydney ได้เล่าถึงวิธีการจัดการกับนักศึกษาในคลาสของเขาที่ต้องสอนคลาสละมากกว่า 500 โดย Dr. David ได้เลือกใช้เทคโนโลยีจาก Microsoft โดยความพิเศศษคือ Dr. David ได้ใช้แบบจัดหนักจัดเต็มมากๆ เรียกได้ว่ามีอะไรให้ใช้แกใช้หมด ( ก็ส่วนใหญ่มันฟรี >< )

โดยในคลิปนี้จะรวมไปถึงผลลัพธ์สุดท้ายด้วยว่า ถ้าเราลองเอาเทคโนโลยีไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว เราจะสามารถเปลี่ยนห้องเราเรียนเราไปได้ขนาดไหน

Fun Fact UNSW Sydney คือ มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ที่มี นักศึกษากว่า 65,000 คน และมีนักศึกษาคณะวิศวกรรมที่ Dr.David สอนอยู่ กว่า 17,000 คน

และบทความนี้จะสรุปและอธิบายประเด็นที่น่าสนใจจากในคลิปมาให้ทุกคนได้อ่านกัน ( ใครสะดวกดูผ่านคลิปผมแนะนำให้ดู แล้วข้ามบทความผมไปได้เลย แต่ใครสะดวกอ่านมากกว่า ก็ ติดตามได้ครับ )

ซึ่งเนื้อหาในครึ่งแรก จะเป็นส่วนที่อาจารย์สามารถทำตามได้ด้วยตัวเอง และ ฟรีด้วย

Source : Microsoft

#Teams #OneNote #Stream # SharePoint #PowerBI #Azure

Dr. David ได้เปิดประเด็นว่า เขาสอนและสร้างความร่วมมือกันระหว่างนักศึกษาที่มากถึงห้องเรียนละ 500คน ( และแน่นอนว่าสอนหลายคลาส) ที่อยู่ในและนอกแคมปัสของเขาอย่างไร?

เป็นที่รู้กันว่า การเรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่แบบนี้ เราและอาจารย์ จะรู้สึกห่างไกลกันค่อนข้างมาก และแทบจะเกือบเป็นการสื่อสารทางเดียวไปเลย ( อาจารย์ถามก็ไม่ค่อยจะมีคนตอบ เด็กก็ไม่ค่อยจะกล้าถาม อันนี้ประสบการณ์ส่วนตัวสมัยผมเรียนนะครับ >< )

หน้าตาห้องเรียนขนาดใหญ่

การเปลี่ยนแปลงแรก

ปี 2016 Dr. David เล่าว่าสิ่งแรกที่เขาเลือกจะทำเพื่อที่จะจัดการคือการเลือกทำทุกอย่างให้อยู่บนดิจิตอล ให้เขาสามารถ กระจายเนื้อหาที่สอนในชั้นเรียนให้นักเรียนทุกคนได้ โดยเริ่มต้นด้วยการใช้ OneNote ในการเรียนการสอนแทนการเขียนการดาษแล้วสแกนเก็บไว้

Tip : OneNote สามารถใช้งานได้ทุก Platform ไม่ว่าจะเป็น Windows, MacOS, Web browser, iOS, Android ซึ่งสามารถ Sync ใช้งานสลับไปมาได้ด้วย Email

Tip : OneNote สามารถใช้งาน การเขียน| การพิมพ์ ร่วมกับการบักทึกเสียง ซึ่งสามารถย้อนกลับมาฟังเสียง ณ เวลาที่ พิมพ์ | เขียน ได้ ( เช่น อยากฟังช่วงที่เรา * เอาไว้ในข้อ 8 ก็จะมีเสียงของอาจารย์อธิบายใน ชั่วโมงที่ 2 ให้เลย ไม่ต้องเลื่อนหาเอง)

ทดลองใช้ Teams

Dr.David ได้เริ่มต้นใช้งาน Teams เป็นช่องทางในการสื่อสารกับนักศึกษาทั้งชั้นเรียน และภายใน 60 วินาทีหลังจาก Add นักศึกษาเข้ามา เขาก็พบว่า นักเรียนของเขานั้นเรียนรู้ที่จะใช้ Teams ได้แทบจะในทันที

Engagement ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นักศึกษาเรามีการพูดคุยกัน และ เริ่มใช้ Teams เป็นช่องทางในการถามคำถามเกี่ยวกับวิชาเรียน ( แน่นอนว่าเรากล้าทักแชทอาจารย์ มากกว่าเดินดุ่มๆเข้าไปหา )

ในแต่ละทีม( ห้องเรียน ) ที่สร้างขึ้นมาจะมีกลุ่มย่อยๆ ( Channel ) ที่ Dr. David สร้างขึ้นมา โดยใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มเป็น Week ที่สอน ซึ่งช่วยให้ห้องเรียนของ Dr. David สามารถจัดการ เอกสารและแยกหัวข้อการคุยในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างชัดเจน

//อันนี้ผมชอบมากเป็นพิเศษ เมื่อก่อนผมแค่แยกตามหัวข้อการคุย แต่พอมาเห็นว่าแยกรายสัปดาห์แล้วเขียนหัวข้อกำกับนั้น ดีกว่ามากจริงๆ

Tip : ทุกครั้งที่สร้าง “ทีม(ห้องเรียน)” ขึ้นมา ระบบจะทำการสร้างที่เก็บไฟล์สำหรับห้องเรียนนั้นๆให้ด้วย ( ผ่าน SharePoint ) ซึ่งแต่ละกลุ่มย่อย จะเปรียบเหมือนเป็น Folder ย่อยๆ อีกที

กลับมาที่ OneNote อีกครั้ง ใน Teams แบบ Classroom จะมี Tab พิเศษชื่อ Class notebook ซึ่งช่วยให้ Dr.David สามารถสร้าง OneNote ของห้องเรียนนั้นๆได้ ( แทนที่จะมีอาจารย์ใช้อยู่คนเดียวเหมือนตอนแรก)

OneNote Class notebook ช่วยให้ทุกคนในห้องเรียนเข้าถึง สมุดโน้ต อันเดียวกันได้ ( เหมือนแชร์ให้ 500 คน ) แต่ความพิเศษของมันคือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน

  1. Library : อาจารย์เขียนและแก้ไขได้เท่านั้น ( นักเรียนได้แค่เข้ามาดูและคัดลอกออกไปเท่านั้น เหมาะสำหรับการกระจายเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์)
  2. Collaboration space : ทุกคนสามารถแก้ไขได้ เหมาะกับการใช้ทำงานกลุ่ม หรือ การระดมสมองต่างๆ
  3. Personal notebook : โซนนี้ นักเรียนแต่ละคนจะเห็นเพียงแค่ที่จดของตนเอง แต่ Dr. David หรืออาจารย์ร่วมสอนท่านอื่นๆ สามารถ เห็นสมุดโน้ตของนักเรียนทั้งชั้นแบบ real-time ได้

ซึ่งการเลคเชอร์ผ่าน OneNote รูปแบบนี้ ช่วยให้นักศึกษาทุกคนในชั้นเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างเป็นระเบียบ

นอกจากนี้ คุณ David ยังได้บันทึก Video ด้วย Microsoft Teams ที่บันทึกการสอนในแต่ละสัปดาห์ อัปโหลดขึ้น Stream ( ที่เก็บไฟล์วีดีโอระดับองค์กร ที่มีอยู่ใน Office 365 ) เพื่อให้นักศึกษา สามารถตามมาดูย้อนหลังได้

Tip : การประชุมออนไลน์ สามารถประชุมพร้อมกันได้สูงสุด 250 คน/ ต่อห้องประชุมในแผนฟรี และ สูงสุด 10,000 คนแบบมีค่าใช้จ่าย

Tip : การบันทึกวีดีโอการเรียนการสอน ทำได้โดยกด start recording และเมื่อกด Stop ระบบจะทำการบันทึกใน Stream ให้โดยอัตโนมัติ โดยให้สิทธิคนในห้องเรียนนี้เท่านั้นที่สามารถเข้าดูได้ จนกว่า Dr. David จะต้องการแก้ไขสิทธิ

รวมไปถึงการทำงานเกี่ยวกับเอกสาร ( Word | Excel | PowerPoint ) นักเรียนสามารถใช้งานภายใน Teams ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่งไฟล์แล้วไฟล์ไม่หาย สามารถแก้ไขไฟล์ได้ทันทีโดยไม่ได้โหลดลงเครื่องและไม่จำเป็นต้องมี word ในเครื่องมาก่อน ซึ่งสามารถแก้ไขได้พร้อมกันสูงสุดถึง 100 คน

ในแต่ละสัปดาห์ Dr.David ใช้ Microsoft Forms ในการทำ quiz ประจำสัปดาห์ ซึ่งสามารถ ปักหมุดไว้เป็น Tab ด้านบนที่ นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายแต่เห็นได้ชัด

Tip : Microsoft Forms สามารถทำในเรื่องของการให้คะแนน และการจำกัดเวลาการทำควิซได้ เช่น ให้ทำ 15.15–15.30 เท่านั้น และกดส่งได้แค่ครั้งเดียว

นอกจาก Office 365 Services ต่างๆที่ Dr.David หยิบมาใช้แล้ว ยังมี Engieering software อย่าง Mathlab ที่สามารถนำมาเชื่อต่อภายใน Teams เพื่อใช้งานอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย

จาก solution ที่นำมาใช้ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ การมีส่วนร่วมของนักศึกษาสูงขึ้นกว่า 900% ใน

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ solution ที่ทางสถาบันการศึกษาสามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งมหาวิทยาลัยในไทยเองส่วนใหญ่ก็ได้ทำการเซทระบบไว้ให้เรียบร้อยแล้ว หากท่านไหนที่อ่านมาถึงจุดนี้ และ ทางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ทำการตั้งระบบ Office 365 สามารถขอรับได้ฟรี ที่นี่

Note: ข้อสังเกตคือ นี่เพิ่งผ่านมา 3.29 นาทีจากคลิปเต็ม

เนื่องจากการมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่สูงขึ้นถึง 9 เท่า ทำให้ Dr. David เจอกับปัญหาใหม่คือ ไม่สามารถตอบทุกคำถามทุกข้อสงสัยของนักศึกษาได้

ถึงเวลาที่ AI เริ่มเข้ามามีบทบาท

Meet Chatbot

solution V.1 ที่ Dr.David เลือกใช้คือ เมื่อนักศึกษาเรียกใช้งานบอท และเล่ารายละเอียดคำถามให้บอทฟัง และ บอทจะจับใจคความว่านักศึกษาถามถึงโจทย์ข้อไหน และทำการ ส่ง Notification ไปให้ TA ( ผู้ช่วยสอน ) ให้ TA เข้ามาตอบคำถามนั้นๆ

ซึ่งแน่นอนว่า นักเรียนทั้งชั้น สามารถเห็นคำถามและคำตอบที่ TA ตอบนั้นด้วย

Bot V.1 ยังไม่ได้ตอบคำถามโดยตรง แต่จะคัดกรองและส่งต่อให้ TA ประจำหัวข้อนั้นๆ

ผ่านไป 2 สัปดาห์ มีนักศึกษาตั้งคำถามกับบอทนี้ และได้รับการตอบกว่า กว่า 200 หัวข้อ

ซึ่งคำถามเหล่านั้น ถูกนำไปเป็นคลังความรู้ให้กับบอทตัว ซึ่งหากมีคำถามซ้ำเดิมมา บอทก็จะสามารถตอบคำถามนั้นได้ โดยไม่ต้องพึ่ง TA อีกต่อไป

แน่นอนว่าบอทยังไม่สามารถตอบได้ 100% โดยทุกครั้งที่ตอบ บอทจะมี Confidential level บอกกับนักศึกษาด้วย และ นักศึกษายังสามารถให้ feedback กลับไปได้อีกว่า คำตอบนั้นมีประโยชน์หรือไม่ และยังสามารถส่ง notification หาผู้สอนได้อีกด้วยในกรณีที่ บอทยังไม่สามารถอธิบายได้จนเข้าใจ

อีกปัญหาที่พบคือ นักศึกษามักจะถ่ายรูปโจทย์มาถาม โดยไม่ได้ให้รายละเอียดมากนักเป็นตัวอักษร เช่น ข้อนี้ทำยังไงครับ ( ใช่ครับ ผมก็เคยถามแบบนี้สมัยผมเรียน )

Dr.David จึงเริ่มใส่ QR code เข้าไปในโจทย์แต่ละข้อ เมื่อนักเรียนถ่ายรูปมาถาม บอทก็จะสามารถรู้ได้ว่า ข้อที่ถามนั้นคือโจทย์ข้อไหน จากนั้นก็จะดึงข้อมูลที่มันได้เรียนรู้มาแล้ว นำมาตอบนักศึกษาคนนั้น

รวมไปถึง บอทจะไปทำการดูคำพูดของอาจารย์ระหว่างสอน ถ้าหากมันพบว่ามีคำตอบที่นักศึกษาถาม จากการสอนในสัปดาห์นั้น บอทก็สามารถพาไปยัง วีดีโอ ณ เวลานั้น ที่อาจารย์ทำการเฉลยหรือ อธิบาย

Power BI เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงผลต่างๆ รวมถึงคะแนน ซึ่งบางครั้ง นักเรียนอาจจะไม่มั่นใจว่า ตัวเองได้คะแนนน้อยเพราะทำได้ไม่ดี หรือ แค่คำถามข้อนั้นมันยาก

Power BI ช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าใจ performance ของแต่ละคนมากยิ่งขึ้น

และสุดท้าย ในปีถัดมา Dr.David ใช้ข้อมูลของปีที่ผ่านมา ในการจัดการเรียนการสอนของปีถัดไป โดยใช้ Azure Machine Learning

โดยทำการแบ่งการบ้านตามหัวข้อ และ ระดับความยาก

และทำการ personalize การเรียนเข้ากับนักเรียนแต่ละคน ผ่านผลการเรียนและการทำแบบทดสอบก่อนเรียน

รวมไปถึงอัพโหลดเนื้อหาการเรียนนั้น ไปที่ SharePoint ให้นักเรียนแต่ละคนสามารถเข้าถึงได้ในคลิกเดียวใน Microsoft Teams

จากการพยายามทั้งหมดของ Dr. David ทำให้นักศึกษามีความรู้สึกมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น อัตราการ drop ระหว่างเรียนลดลง ( แน่นอนว่าผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ และให้คะแนนความเสี่ยงที่จะ drop off ของนักเรียนแต่ละคน และ หากคนไหนมีเกณฑ์ว่าจะมีปัญหาด้านการเรียน Dr. David ก็จะเข้าไปพูดคุย เพื่อทำความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือ เป็นการส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก กับห้องเรียนขนาด500 คน)

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing