คิดเร็ว คิดช้า คิดๆๆ.. ด้วยหลักของ DANIEL KEHNEMAN Part.1

Nantana Rungsawasdisap
4 min readJan 11, 2022

--

เริ่มต้นบทความแรกที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2022 ว่าจะตั้งใจทำ Output จากหนังสือที่อ่านจบไปในแต่ละเดือน

ในบทความนี้เลยจะเอาหนังสือ Thinking Fast and Slow ของ DANIEL KEHNEMAN ที่เคยทำบทสรุปเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว มา Recap อีกรอบในความเข้าใจของตัวเอง

หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับ

  1. ตัวเองที่จะเข้ามาอ่านทวนอย่างย่ออีกครั้ง
  2. คนที่สนใจทฤษฎีหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมของ DANIEL KEHNEMAN
  3. คนที่อยากเข้าใจระบบความคิดของสมอง และการตัดสินใจ
  4. คิดที่ไม่อยากโดนหลอกในการตอบคำถามบางคำถาม ;)

Let’s Start …. go go go

ในหนังสือจะพูดถึงกระบวนการทำงานทางความคิดของมนุษย์ ว่ามันมีการทำงานอย่างไร

รวมถึงจะมาเล่าผลลัพธ์ของการวิจัยในต่างๆ ที่จะทำให้เรามองเห็นและเข้าใจถึงกระบวมการตัดสินใจของมนุษย์มากขึ้น

แบ่งออกเป็น 5 ส่วน

1.องค์ประกอบพื้นฐานของการตัดสินใจและทางเลือก ซึ่งจะกล่าวในส่วนของ Part นี้ นั่นคือ“ความแตกต่างระหว่างความคิดแบบอัตโนมัติ(ระบบ1)” กับ “ความคิดแบบควบคุม(ระบบ2)”

2.ทางลัดทางความคิดในการตัดสินใจ และอคติต่างๆ หรือหลักการในการใช้ความคิดในเชิง สถิติ ใน Part ที่ 2

3.การมั่นใจในตัวเองมากเกินไปในสิ่งที่เราเชื่อว่ารู้

4.การตัดสินใจ เมื่อมีทางเลือก และการตีกรอบทางความคิดตามหลักของเศรษฐศาสตร์

5.ตัวตนของมนุษย์ ระหว่างตัวตนเชิงประสบการณ์ และ ตัวตนเชิงความทรงจำ

โดยใน Part.1 นี้เท่าที่อ่านจะได้ Objective 4 ข้อ คือ

“เป้าหมายในการแนะนำแนวทางการใช้งานเกี่ยวกับกระบวนการทางความคิด เพื่อที่จะมาปรับใช้กับการทำงานและการใช้ชีวิต”

“เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถในการทำความเข้าใจความผิดพลาดเกี่ยวกับวิธีการเลือกและการตัดสินใจของผู้อื่นและตัวเราเอง”

“สามารถมองเห็นและเข้าใจถึงการตัดสินใจของระบบความคิดทั้งตัวเองและคนอื่นมากขึ้น”

“ฝึกการคิดให้ช้าลง”

เริ่มต้น ในหนังสือให้พิจารณาคำถามต่อไปนี้

“สตีฟเป็นคนขี้อายมาก และชอบเก็บตัว มักช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ แต่ให้ความสนใจต่อผู้คนและโลกแห่งความเป็นจริงน้อยมาก เขาสุภาพและอ่อนโยนและมีระเบียบ ต้องการความเรียบร้อยและเป็นแบบแผน แถมยังหมกมุ่นอยู่ในรายละเอียด”

คุณคิดว่าสตีฟน่าจะเป็น บรรณารักษ์หรือเกษตรกร?

ผลจากการทดลองถามคำถามสตีฟ พบความจริงว่า

1.ผู้เข้าร่วมการทดสอบ มักจะมองข้ามข้อเท็จจริงทางสถิติ

2.อาศัยความคล้ายคลึงและความรู้สึกเพียงอย่างเดียวในการตอบคำถาม

ถ้าลองพิจารณา Fact จะพบว่า

Ratio ของ เกษตรกรเพศชาย : บรรณารักษ์เพศชาย เท่ากับ 20 : 1

สรุป

มนุษย์มักใช้ความคล้ายคลึงเป็นทางลัดทางความคิด หลักการประเมินแบบคร่าวๆ

ผลเสีย

เวลาตัดสินใจเรื่องยากๆ จะก่อให้เกิดอคติ หรือ ความผิดพลาดเชิงระบบ

คิดอย่างไรกับผู้หญิงในภาพนี้ ?

เราจะมองเห็นและอาจจะมั่นใจว่าผู้หญิงคนนี้กำลัง “โกรธ” ได้รวดเร็วพอๆกับมองเห็นว่า ผมผู้หญิงคนนี้เป็นสีดำ แถมเผลอๆ ยังมองเห็นเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เช่น ผู้หญิงคนนี้กำลังจะด่ากราด ด้วยน้ำเสียงแข็งกร้าว และเหตุการณ์อื่นๆเกิดขึ้นในหัวตามมา

การคิดแบบนี้ มักจะ

•เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

•ไม่ต้องใช้ความพยายาม

•ไม่ได้ตั้งใจ

นี่คือตัวอย่างของ “System1” หรือ “การคิดเร็ว” — Thinking Fast

ดูโจทย์เลขต่อไปนี้

17 x 24

ทุกคนคิดยังไงกับมัน ??

คิดว่ามันเป็นโจทย์ , คิดว่ามีกระดาษไหม , คิดว่ามีเครื่องคิดเลขไหม

บางคนอาจจะคิดคำตอบได้คร่าวๆว่าประมาณไหน และอาจจะรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าไม่ใช่ 1999 หรือ ไม่ใช่ 123 แต่ก็อาจจะไม่มั่นใจว่าใช่ 568 ไหม

เมื่อเราพยายามแก้โจทย์นี้

การคิดแบบนี้ มักจะ

•เกิดขึ้นอย่างตั้งใจ

•ความพยายามคิดเป็นขั้นตอน

•ความเป็นระบบ

นี่คือตัวอย่างของ “System2” หรือ “การคิดช้า” — Thinking Slow

System2 จัดสรรความสนใจให้กับกระบวนการทางสมองที่ต้องอาศัยความพยายาม ซึ่งรวมถึงการคำนวนอันซับซ้อน การทำงานของระบบ 2 นี้มักเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของตัวเองในแง่ของหน้าที่ ทางเลือก และ การมุ่งความสนใจ

ตัวอย่างของทั้ง 2 ระบบ

ระบบ1 คิดเร็ว

•เห็นว่าวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ไกลกว่าอีกชิ้น

•หันหน้าไปหาแหล่งกำเนิดเสียง

•ทำหน้าขยะแขยงเมื่อเห็นภาพหน้าขนลุก

•รู้สึกถึงความไม่เป็นมิตรในน้ำเสียงคนอื่น

•ตอบได้ว่า 2+2 ได้เท่าไหร่

•อ่านข้อความบนป้ายขนาดใหญ่

•ขับรถยนต์บนถนนโล่งๆ

•คิดว่าประโยคที่ว่า “สุภาพอ่อนโยนและมีระเบียบแถมยังหมกมุ่นอยู่กับรายละเอียด” ฟังดูเป็นคุณสมบัติที่ถูกเหมารวมว่าเป็นอาชีพใดอาชีพหนึ่ง

ระบบ2 คิดช้า

•การมองหาผู้หญิงผมสีขาวในฝูงชน

•การเดินเร็วกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง

•การนับว่ามีตัวอักษร a กี่ตัวในหนังสือ

•การบอกเบอร์โทรของตัวเองกับใครซักคน

•การจอดรถในที่แคบมากๆ

•การกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี

•การตั้งใจฟังเสียงใครซักคนในห้องที่เสียงดังและเต็มไปด้วยผู้คน

•การเตรียมพร้อมรอฟังสัญญาณให้เริ่มต้นการแข่งวิ่ง

ลองดูคลิปนี้ แล้วหาคำตอบว่า

จำนวนครั้งที่ทีมสีขาวส่งต่อลูกบาสให้กันทั้งหมดกี่ครั้งโดยไม่ต้องสนใจทีมสีดำ

นี่คือการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเต็มที่ทำให้ผู้คนตาบอดไปชั่วขณะ

ผลการทดลองนี้พบว่าคนหลายพันคนประมาณครึ่งหนึ่งที่มองไม่เห็นสิ่งปกติ ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ

มีคนที่มองไม่เห็นกอลิล่า แถมยังมั่นใจมากกว่าไม่มีกอลิล่าในคลิปวิดีโอ

มันแสดงให้เห็นว่า “เราสามารถตาบอดไปชั่วขณะหนึ่งและมองไม่เห็นสิ่งตรงหน้า แถมยังมองไม่เห็นความตาบอดของตัวเองอีกด้วย”

ความขัดแย้งระหว่าง 2 ระบบ

แถวที่1 ดูทีละบรรทัดแล้วบอกว่าตัวหนังสืออยู่ด้าน ซ้าย หรือ ขวา แถวที่2 ดูไล่ทีละบรรทัดแล้วบอกว่าตัวหนังสือที่ใช้ หนา หรือ ปกติ

สิ่งนี้เรียกว่า ความขัดแย้งระหว่างสองระบบ

เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ยาก จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่าง

การใช้ระบบอัตโนมัติ กับ ความตั้งใจที่จะควบคุมมันไว้

เนื่องจากความไม่คุ้นเคย

ระบบ2 จะพยายามไปควบคุมระบบ1 ทำให้เกิดความช้าลงไปอีก และอาจจะเกิดความผิดพลาดเมื่อมันควบคุมระบบ1 ไม่ได้

ภาพลวงตาของกระบวนการคิด

เส้นที่ขนากกันนั้น มีความยาวเท่ากันหรือไม่?

ในความรู้สึก ระบบ1จะมองว่าไม่เท่ากัน

ทั้งๆที่มันเท่ากัน

แปลได้ว่าเมื่อเราทำอะไรตามความคิดด้วยระบบ1 มันอาจจะเกิดความผิดพลาดได้มาก แต่มันก็คือวิวัฒนาการของมนุษย์

โดยไม่ได้ใช้เหตุและผล ความจริงที่ว่าเราอาจจะไม่สามารถนำไม้บรรทัดมาวัดได้กับทุกเรื่อง แต่ในถ้าพูดถึงเรื่องสำคัญ ถ้าเราเอาไม้บรรทัดมาวัด แม้จะช้าลงหน่อยแต่ใช้เหตุผลมากขึ้นน่าจะดีกว่า

ระบบ1 มันเจ้าเล่ห์ กว่า เมื่อเจอกับปัญหาที่ยาก มันจะเลี่ยงไปตอบด้วยคำตอบอื่น เพื่อมาสนับสนุนในความเชื่อหรือสิ่งที่ตัดสินใจแล้ว

ดังนั้น เราควรที่จะฝึกฝนระบบ 2 ควบคู่กับไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญที่ต้องตัดสินใจ

System2 จอมเกียจคร้าน

“ไม้เบสบอลและลูกเบสบอลราคารวมกัน 110 บาท

ไม้เบสบอลราคาสูงกว่าลูกเบสบอล 100 บาท

ลูกเบสบอลราคาเท่าไหร่?”

คุณตอบว่า เบสบอลราคา 10 บาท หรือไม่?

หากลูกบอลราคา10บาท แปลว่าไม้เบสบอลราคา110บาท รวมเป็น 110+10=120 บาท แปลว่าคุณคิดผิด

ความจริงคือ ลูกเบสบอล ราคา 5 บาท ไม้เบสบอล ราคา 105 บาท (5+105=110)

นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ระบบ2 นั้นมีความขี้เกียจ มีความบกพร่องในการคิด

นอกจากนี้ ระบบ2เมื่อทำงานหนักมากๆขาดน้ำตาลอาจจะเกิดความเหนื่อยล้า

หรือข้อบกพร่องคืออาการหน้ามือตามัว ในการทดลอง The Invisible Gorilla

มันแสดงให้เห็นว่า เราสามารถตาบอดไปชั่วขณะหนึ่งและมองไม่เห็นสิ่งตรงหน้า แถมยังมองไม่เห็นความตาบอดของตัวเองอีกด้วย

ถึงแม้ว่าจะทำงานได้ดี มีความรอบครอบมากกว่า ระบบ1 ก็ตาม

การเชื่อมโยง

พิจารณาคำศัพท์ต่อไปนี้

กล้วย

อาเจียน

หลายคนอาจจะคิดเชื่อมโยงกันเป็นความรู้สึกขยะแขยง อี๋ขึ้นมาทันที

ว่ากล้วยไปรวมกับอ้วก มีกลิ่นมีสี

พูดง่ายๆคือ เชื่อมโยงเก่ง

การปูพื้นทางความคิด

การเชื่อมโยงทำให้เกิดการปูพื้นความคิด

ในหนังสือมีการเล่าเกี่ยวกับ การทดลองเรื่องความซื่อสัตย์

มีการเอาภาพไปแปะไว้ที่กล่องหยอดตังค์ในร้านกาแฟ และเปลี่ยนภาพไปทุกๆสัปดาห์

ผลปรากฎว่า ภาพที่เป็นดวงตา จะมีคนจ่ายตังมากกว่า ภาพดอกไม้

เหมือนถูกปูพื้นความคิดว่า มีคนจับตามองเราอยู่

แม้ว่าจะไม่รู้สึกความเชื่อมโยงใดๆ โดยที่เราไม่ได้รู้ตัวซักนิดเดียว

ระบบ 1 นั่นเองที่เป็นคนควบคุมสิ่งต่างๆที่เราทำ ซึ่งมันจะสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่มักจะถูกเปลี่ยนกลายเป็นความเชื่อ

รวมไปถึงต้นเหตุของแรงกระตุ้นที่จะกลายเป็นการตัดสินใจและการกระทำของเราไปโดยไม่รู้ตัว

ระบบ 1 จะตีความสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราและสิ่งรอบๆตัว รวมทั้งยังเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดในอดีตและปัจจุบันความคาดหวังต่างๆ มันจึงเป็นที่มาของการตัดสินใจโดยสัญชาติญาน ที่มักเกิดอย่างรวดเร็ว

ความง่ายดายในการคิด

จากแผนภาพจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความง่ายดายในการคิดและผลลัพธ์ที่ตามมา

อารมณ์ดี จ่ายเงินคล่อง Shopee Lazada รัวๆ

ถ้าเกิดสาเหตุเหล่านี้ อาจจะทำให้การตัดสินใจบางสิ่งบางอย่างง่ายมาก

สมองเรามักจะชอบอะไรง่ายๆ และคุ้นเคย

การด่วนสรุป

จากรูป หลายคนมักจะมองช่องซ้ายสุดเขียนว่า A B C และขวาสุดเป็น 12 13 14

ทั้งๆที่เราก็สามารถอ่านได้เป็น A 13 C และ 12 B 14 แต่เรากลับไม่อ่านแบบนั้น

นั้นเป็นเพราว่า รูปทรงนี้จะถูกมองว่าเป็นตัวอักษรเมื่อสิ่งที่อยู่รายล้อมมันเป็นตัวอักษร แต่จะถูกมองว่าเป็นตัวเลขก็ต่อเมื่อถูกรายล้อมด้วยตัวเลข

บริบทรอบข้างจะเป็นตัวกำหนดการตีความขององค์ประกอบต่างๆ ทั้งๆที่รูปทรงมันกำกวม แต่เราก็ด่วนสรุปเกี่ยวกับตัวตนของมันไปก่อน

เราจะสรุปว่า อลัน ดูเป็นคนมีคุณสมบัติในแง่ดีมากกว่า ทั้งๆที่ มีคุณสมบัติพอๆกัน

หรือแม้แต่การที่มองคุณจากลักษณะภายนอกจาก หน้าตา การแต่งตัว

เช่น ถ้าคนขายครีมใส่ชุดกาวน์อาจจะรู้สึกดูน่าเชื่อถือกว่า

นี่คือปรากฏการณ์หน้ามืดตามัว

การตัดสินใจเกิดขึ้นได้อย่างไร

จากรูปเสาด้านซ้ายมือมีจำนวนบล้อกเท่ากับบล้อกที่อยู่ตรงกลางหรือไม่?

ความยาวเฉลี่ยของเส้นตรงในภาพมีความยาวเท่าไหร่?

●เราสามารถนับตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดในหนังสือ เปรียบเทียบความสูง ประเมินอนาคตทางการเมือง โดยการใช้ระบบ 2 ซึ่งต้องใช้ความพยายาม

●แต่ระบบ 1 ทำงานต่างออกไป มันจะคอยเฝ้าสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นภายในหัวและรอบตัวคุณอย่างต่อเนื่อง แล้วประเมินสถานการณ์ในแง่มุมต่างๆอย่างไม่หยุดหย่อน โดยไม่มีเจตนาเฉพาะเจาะจงใดๆ และไม่ต้องใช่ความพยายามหรือใช้น้อยมาก

●สมองมีความชำนาญในการคิด “ค่าเฉลี่ย” มากกว่าการคิด “ผลรวม” เช่น มีเส้น 5 เส้น มองแวบๆก็พอคิดออกว่าความยาวเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่ แต่พอคิดความยาวรวมนั้นต้องใช้ความพยามมากเป็นพิเศษ

●Intensity Matching หรือ การเปรียบเทียบความรุนแรงของสิ่งหนึ่งกับระดับความรุนแรงของอีกสิ่ง เป็นงานที่สมองของมนุษย์เชี่ยวชาญมาก เช่น การเทียบความสูงของเด็กเป็นความดังของเสียงหรือความสว่างของแสง

●Mental Shotgun คือ ความคิดของคนเวลาคิดถึงสิ่งหนึ่งมักจะส่งผลให้นึกถึงสิ่งอื่นๆเป็นทอดๆไปด้วย

●เช่น นาย A วิเคราะห์งบการเงินของบริษัทหนึ่งว่าไม่ดีแต่เค้าก็อาจจะคิดเลยเถิดไปถึงสินค้าของบริษัทนี้ที่เขาชื่นชอบและอาจจะเผลอสรุปคำแนะนำการซื้อหุ้นที่ผิดพลาดได้

ตอบคำถามที่ง่ายกว่า

เราอาจจะถูกหลอกจากคำถามที่ถูกถาม

ดังนั้น ควรคิดก่อนจะตอบว่า มันเป็นคำตอบที่บังคับให้เราตอบโดยที่ยังไม่ได้คิดให้ดีก่อนหรือไม่?

นี่เป็นเทคนิคในการตอบคำถาม

จบแล้ว สำหรับ Part ที่ 1 ที่พยายามจะเล่าอย่างย่อและเข้าใจให้มากที่สุด

เจอกันใหม่ใน Part ที่ 2 ค่ะ

--

--

Nantana Rungsawasdisap

Nantana Rungsawasdisap Don’t stop running😊 Don't give up💪🏻