หนังสือโครตแรงบันดาลใจในช่วงเวลานี้ได้ดีที่สุด “เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด” (Part.2)

Nantana Rungsawasdisap
1 min readMar 15, 2022

--

บทความนี้จะยังคงเป็นการสรุปเนื้อหาบทที่เราชอบจากหนังสือ “เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด” เขียนโดย อาจารย์คิม รันโด ต่อจาก Part1

credit :https://www.magazinedee.com/home/main/celebritydetail/id/6139-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94.html

ไม่เกริ่นนำอะไรมากความ ต่อเลยแล้วกันค่ะ

จดหมายถึงคุณ-ความหดหู่

หลายครั้งในช่วงโควิดที่ต้อง WFH อยู่แต่บ้าน บ่อยครั้งมักจะมีอาการหดหู่ ในหนังสือบอกว่า ความหดหู่คือพฤติกรรม “ความขี้เกียจ” เพราะความหดหู่เป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกของตัวเราเอง..

พอลองทบทวนดีๆ มันก็น่าจะจริงแฮะ

เพราะเราเป็นมนุษย์ เมื่อเจอเรื่องที่ยากลำบาก มีอารมณ์ที่อ่อนไหว ร่างกายเหนื่อยล้า และยังมีข้ออ้างอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำให้เราเข้าใกล้ความ “ขี้เกียจ” ได้ง่ายมาก

แถมยิ่งงานเยอะ ̶ย̶ิ̶̶่ง̶ห̶ด̶ห̶̶̶ู่ ยิ่งขี้เกียจ …

ปัญหาคือ ชีวิตประจำวันของเราเคยชินกับความขี้เกียจไปแล้ว เราเลยหาข้ออ้างว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันคือความหดหู่ แล้วเราก็คิดว่าเดี๋ยวมันก็หายเองแหละ แต่ความจริงแล้ว เรากลับเพลิดเพลินกับมันแบบไม่รู้ตัว จนติดเป็นนิสัย …

แล้วทำยังไงเราถึงจะหลุดพ้นไอเจ้าความรู้สึกนี้ไปได้ล่ะ?

ความขี้เกียจเกิดจาก เป้าหมายที่เรามีไม่ชัดเจน

ถ้าคิดจะเลิกขี้เกียจ ก็ต้องหาความปรารถอันแรงกล้าให้พบ ไม่เมินเฉยกับมัน คิดและลงมือทำ นั่นคือหาเป้าหมายและลงรายละเอียดให้มันชัดเจน

อย่างเช่นตอนนี้เราที่กำลังทำอยู่มีเป้าหมายคือ “อยากฝึกทักษะการเขียน และทำ output สรุปใจความเพื่อนำไปใช้ได้จริงจากการอ่านหนังสือ” รายละเอียดคือ จะเขียนบทความจากการอ่านหนังใน 1 ปี ออกมาให้ได้ 12 บทความ แปลว่าในแต่ละเดือนจะต้องเขียน 1 บทความ

ถามว่าขี้เกียจมั้ย สุดๆ แต่ก็ต้องเข็นให้มันได้ เพราะเราตั้งเป้าไว้แล้ว

ในหนังสือเขียนประโยคนึง ช่างโดนใจคนขี้เกียจอย่างเราจริงๆ

“วันนี้” คือเวลาที่มีค่ามาก อย่าเลื่อนสิ่งที่ต้องทำวันนี้ไปทำพรุ่งนี้

ดังนั้น จึงต้อง “อดทน” อย่าจมกับความเศร้าและความหดหู่ เดี๋ยวมันก็ดีขึ้น

ความทุกข์คือพลังของฉัน

สำหรับตัวเราเองนั้น ในชีวิตนี้อาจจะไม่เคยผ่านช่วงเวลาที่ทุกข์ยากแสนเข็ญเสียจนทำให้ชีวิตระทมอาลัยตายอยาก เหมือนกับในหนังสือที่อาจารย์เขียนเล่าเรื่องในวัยรุ่นที่เค้าต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์เกินวัย

แต่ก็เคยผ่านช่วงเวลาที่ยากและเป็นทุกข์ในเรื่องของสุขภาพและจิตใจ ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ไปเรียนต่อและใช้ชีวิตทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่น

เราเห็นด้วยกับในบทนี้มากๆว่า เมื่อเรารู้สึกทุกข์ จะต้องยอมรับกับตัวเองให้ได้ และตระหนักว่าเดี๋ยวเราก็จะข้ามผ่านมันไปได้

แม้จะหนักหนาสาหัสแค่ไหน ในทางกลับกันมันคือพลังยิ่งใหญ่ที่จะช่วยผลักดันเรา

คิดในแง่ดี นี้ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้รับประสบการณ์ที่มีค่านี้ ถ้าผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ ประสบการณ์เหล่านั้นมันจะหล่อหลอมให้เราเข้มแข็งขึ้นอย่างแน่นอน

เพราะ ทุกข์คือพลัง

พื้นไม่ลึกเท่าที่คิด

ในชีวิตเราอาจจะต้องเผชิญกับวิกฤตที่แสนลำบากใจ ไม่มีทางออกและที่พึ่งใดๆ อับจบหนทางที่จะสู้กับเหตุการณ์ที่มันเลวร้าย ถ้าจะตัดใจล้มเลิกกลางคันก็น่าเศร้าน่าเสียดาย

หากเมื่อมันเกิดขึ้นกับเรา เราจะยอมปล่อยมือ แล้วเริ่มต้นใหม่อีกครั้งไหม?

เพราะการปล่อยมือ มันคือการตัดใจ ซึ่งแน่นอนว่าการตัดใจ มันทำได้ยากกว่าการพยายามดันทุรังต่อไป

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเจอกับปัญหาที่เราไม่รู้ มองไม่เห็น เรามักจะใช้จิตปรุงแต่งขึ้นมา จนเรามักกลัวและไม่กล้าที่จะทำสิ่งต่างๆ

ยกตัวอย่างในหนังสือ สมมติเหตุการณ์ว่า ถ้าเรากำลังจับเชือกแขวนอยู่ในบ่อน้ำที่ลึกมาก และมืดมากจนมองไม่เห็นพื้นด้านล่าง และมีทางเดียวคือต้องปีนขึ้นไปให้ถึงด้านบน ร่างกายเหนื่อยล้ามากแทบไม่เหลือแรงจับเชือก จะยอมกล้าที่จะปล่อยเชือก แล้วยอมตกลงไปด้านล่างไหม

เราอาจจะคิดว่า ถ้าตกลงไปอาจจะตายหรือเปล่า ไม่ก็บาดเจ็บจนพิการ ต่างๆนาๆ

ทั้งที่จริงๆเราอาจจะถูกแขวงสูงจากพื้นแค่ 30 เซน บางทียอมตัดใจปล่อยมืออาจจะเจ็บน้อยกว่าที่คิด ถึงแม้ตกลงไปบาดเจ็บก็อาจจะหายเองได้ในเวลาไม่นาน เผลอๆลองฝึกปีนเชือกในที่มืดๆ อาจจะชำนาญจนปีนขึ้นมาได้เร็วกว่าที่คิด

เรื่องแบบนี้เราเจอในชีวิตการทำงานบ่อยมาก

ยิ่งสมัยก่อนเป็น Programmer เขียน Code ใช้ไม่ได้ซักที ดันทุกรังพยายามแก้ บางที Bug นิดเดียวใช้เวลาเป็น 3 วัน 7 วัน สุดท้ายตัดใจโละเขียนใหม่ครึ่งวันเสร็จ!

บางทีการตัดใจมันไม่ใช่เรื่องขี้ขลาด สิ่งที่เราพยายามจะแก้ปัญหามันให้ได้มันก็เหมือนการจับเชือก มันอาจจะเกินกว่ากำลังของเรา

ในหนังสือบอกว่า “อย่ากลัวที่จะตกลงไป พื้นไม่ได้ลึกเท่าที่คิด คุณยังเด็กอยู่ใช่ไหม ถึงแม้ตกลงมาแล้วจะบาดเจ็บ แต่พักฟื้นไม่นานก็หาย”

จดหมายถึงผม-ความฝันที่ลุกโชติช่วง

บทนี้คล้ายจะพูดถึงอารมณ์ของคนหมดไฟ ท้อแท้ สิ้นหวัง ชีวิตไม่สำเร็จซักที

อายุสามสิบกว่าแล้ว แต่ยังมองไม่เห็นอนาคตเป็นชิ้นเป็นอัน การงานก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จแบบที่ฝันไว้ ไม่รู้ชีวิตจะไปจบที่ตรงไหน ชีวิตช่างว่างเปล่าจริงๆ

คนเราเมื่อมีความกดดันที่ต้องใช้ชีวิตไปพร้อมกับความยากลำบาก ปัญหามากมายในปัจจุบัน ความทรมานใจที่ไม่เห็นความสำเร็จในชีวิต ไหนจะความกดดันจากสังคมรอบข้าง ความฝันที่เคยมี ไม่ได้ลุกโชติช่วงอย่างที่ฝัน

อาจารย์เขียนไว้ว่า อายุที่มากขึ้นไม่ใช่ประเด็นที่จะยอมทิ้งฝัน อย่าให้ความฝันที่มีอยู่พังลง กลับกันการที่เราลืมความฝันของตัวเองนั้น น่ากลัวกว่าการไม่สามารถทำให้ความฝันเป็นจริงได้ร้อยเท่า อย่าหวาดกลัวต่อสิ่งใด และอย่าปล่อยให้ความฝันนั้นมันหายไปง่ายๆ

ศัตรูตัวฉกาจที่ซ่อนอยู่คือ การยึดติดกับความสำเร็จมากจนเกินไป

เมื่อไหร่ก็ตามที่ร่างกายเกียจคร้านเกินจนคุมไหว

วันที่จิตใจท้อแท้และสิ้นหวัง

ในวันใดที่ความฝันและความปรารถนามันหายไป

จงกลับมาอ่านบทความนี้และหนังสือเล่มนี้ เพื่อย้อนดูชีวิตที่ต้องอดทนต่อสู้กับปัจจุบันที่ยากลำบากและอนาคตมืดมัว

หวังว่าชีวิตที่มืดมัวในวันนั้น จะกลับมาเป็นพลังและผลักดันให้ลุกขึ้นสู้อีกครั้ง!

แล้วเราจะกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

ขอจบ Part2 ไว้เพียงเท่านี้ก่อน อาทิตย์หน้าจะต้องจบเล่มให้ได้!

ขอบคุณที่อดทนอ่านมาจนถึงตรงนี้ค่ะ ;)

ขอพลังจงสถิตกับทุกคน สู้ๆค่ะ

--

--

Nantana Rungsawasdisap

Nantana Rungsawasdisap Don’t stop running😊 Don't give up💪🏻