“Entrepreneurship” The 21st Century Skill

Napatsaporn Niyawanont, PhD
2 min readJun 3, 2022

--

“การเป็นผู้ประกอบการ” ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ผู้ประกอบการคือบุคคลที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง วางแผนการป้องกัน สร้างจุดแข็งจากทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงการลดความเสี่ยง เพื่อรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและเสริมสร้างธุรกิจให้เข้มแข็ง และเป็นบุคคลที่สามารถรับรู้และเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ให้เป็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีแนวโน้มที่จะตอบสนองเชิงบวกต่อความต้องการของสังคมหลังสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21

ที่มา: https://stock.adobe.com/

บทนำ

ยุคโลกาภิวัตน์ที่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้ตลาดแรงงานปัจจุบันกำลังกลายเป็นสภาพแวดล้อมที่ท้าทายและคาดเดาได้ยากขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดที่ถูกกำหนดโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมยุค 4.0 และอุตสาหกรรมยุค 5.0 ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ (Özdemir & Hekim, 2018) ทำให้แรงงานสมัยใหม่ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาความยืดหยุ่น และสร้างโอกาสด้วยตัวของพวกเขาเองทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับโลก โดยการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลบางประเภทเท่านั้น (Wanberg & Banas, 2000) ซึ่งผู้ประกอบการคือบุคคลที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง วางแผนการป้องกัน สร้างจุดแข็งจากทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงการลดความเสี่ยง เพื่อรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและเสริมสร้างธุรกิจให้เข้มแข็ง และเป็นบุคคลที่สามารถรับรู้และเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ให้เป็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีแนวโน้มที่จะตอบสนองเชิงบวกต่อความต้องการของสังคมหลังสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 (van den Heuvel et al., 2013)

การเป็นผู้ประกอบการ: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ทักษะการเป็นผู้ประกอบการเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย จิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง ความตระหนักในสุขภาพ สวัสดิภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยมีเนื้อหาในสาขาใหม่ๆ ที่สำคัญต่อความสำเร็จในที่ทำงานและชุมชน (New Commission on the Skills of the American Workforce, 2007)

ด้วยความท้าทายทางเศรษฐกิจในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเผชิญกับภาวะการว่างงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดการให้การเรียนรู้หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการเป็นกลไกเสริมสร้างความสามารถให้กับตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 การศึกษาการเป็นผู้ประกอบการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทักษะ การปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจ และคุณลักษณะของคนหนุ่มสาวยุคใหม่ที่คาดหวังจะนำทักษะไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต หรืออีกนัยหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้เริ่มต้นธุรกิจเป็นของตนเอง (Baden & Prasad, 2016)

ทักษะการเป็นผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ในบริบทที่เป็นความจริงของธุรกิจ การตัดสินใจที่ประสบความสำเร็จ และการแก้ปัญหารที่ซับซ้อน เป็นที่มาของแนวความคิดใหม่ๆ ในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่แสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะ และการเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว (Bedwell et al., 2014) ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจของสมาขิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค (APEC) ระบุว่า ความสามารถในศตวรรษที่ 21 เป็นความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นต่อการแข่งขันในแรงงานศตวรรษที่ 21 โดยการศึกษาหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการได้รับการยอมรับว่าเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับสมรรถนะเชิงพฤติกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Baden, D. & Prasad, S. (2016). Applying behavioural theory to the challenge of sustainable development: using hairdressers as diffusers of more sustainable hair- care practices. Journal of Business Ethics, Vol. 133, Issue 2, pp 335–349pp 335–349

Bedwell, W.L., Fiore, S.M. and Salas, E. (2014), “Developing the future workforce: an approach for integrating interpersonal skills into the MBA classroom”, Academy of Management Learning & Education, Vol. 13, №2, pp. 171–186.

New Commission on the Skills of the American Workforce. (2007). Tough choices or tough times: The report of the new Commission on the Skills of the American Workforce. Washington, DC: National Center on Education and Economy.

Özdemir, V., and Hekim, N. (2018). Birth of Industry 5.0: making sense of big data with artificial intelligence, “The Internet of Things” and next generation technology policy. OMICS 22, 65–76. doi: 10.1089/omi.2017.0194

Wanberg, C. R., and Banas, J. T. (2000). Predictors and outcomes of openness to changes in a reorganizing workplace. J. Appl. Psychol. 85, 132–142. doi: 10.1037/0021–9010.85.1.132

van den Heuvel, M., Demerouti, E., Bakker, A. B., and Schaufeli, W. B. (2013). Adapting to change: the value of change information and meaning-making. J. Vocat. Behav. 83, 11–21. doi: 10.1016/j.jvb.2013.02.004

******************************

--

--

Napatsaporn Niyawanont, PhD

Assistant Professor of Entrepreneurship Department at BSRU. I obtain a PhD (Business Administration) from Kasetsart University, Bangkok, Thailand