บัณฑิตนิพนธ์…ทบ(ทวน)เพื่อเข้าใจ

ได้มีการพยายามจัดการข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน รวมไปถึงการให้คำปรึกษาบัณฑิตนิพนธ์หรืองานวิจัยต่าง ๆ ของนักศึกษาตั้งแต่รหัส 54–58 (บางส่วน) มีความท้าทายอย่างมาก สิ่งที่อยากให้เกิดขึนในรุ่นถัดๆ ไปบอกทั้งตัวเองและนักศึกษาคือว่า…
..
//
..
- ทำในเรื่องที่สนใจ (น่าสนใจ) และเห็นถึงผลของประโยชน์จากการศึกษาวิจัยในเรื่องนั้น ฉะนั้นคำถามที่ว่า อาจารย์เรื่องนี้ทำได้มั้ยจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และเราก็ยืนยันคำเดิมว่า ทำได้ทุกเรื่อง (ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองว่ามีแรงปรารถนาแรงกล้าพอไหม)

- อาจารย์ไม่ได้รู้ทุกเรื่องเพราะฉะนั้นมันเลยเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ถ้านักศึกษาสนใจแล้วเราให้นักศึกษาทำเรื่องนั้นได้ เราก็ต้องศึกษาเรื่องนั้นด้วย (ตอนแรกๆ ต้องบอกว่าเราเองก็กลัวไปหมดว่าจะไกด์ได้หรือไม่ และก็ยึดกับขนบเก่าๆ ทำเรื่องเดิมๆ พอนักศึกษาพูดมาก็เห็นภาพหมดละว่าผลมันจะเป็นยังไง เอาจริงน่าเบื่อและไม่เห็นน่าทำ)

- พักหลังๆ มารู้สึกว่าขายไอเดียให้นักศึกษาเยอะมาก บางคนก็โอบางคนก็เอ้าท์ พอมันโดนมันคลิ๊ก ถูกจริตมันก็เร็ว รู้ว่าจะทำอะไร จะเดินไปช่องไหนต่อ ผลมันเลยน่าสนใจ (เราเพียงแต่เสนอว่าคุณทำแบบนี้น่าจะโอเค เหมือนชี้ช่องทาง จะเดินไม่เดินก็แล้วแต่ งานของเขา (ไม่ใช่งานของเรา)) อีกเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง กลับตั้งโจทย์ง่าย หวังเพียงความรวดเร็ว(ในการจบและทำแบบเดิมๆที่เคยทำกันมา) เคสแบบนี้น่าเสียใจมาก(มีจำนวนไม่น้อย)

- มีข้อค้นพบอย่างหนึ่งน่าสนใจ พบว่าคนที่นำเสนอ/คิดหัวข้อน่าสนใจ เจ๋งๆ กลายเป็นนักศึกษากลุ่มกลาง ที่เผชิญปัญหาหรือมีไอเดียโดดเด่นแล้วกล้าลงมือทำ ส่วนคนเกรดสูงติดขนบธรรมเนียมเดิมมักเดินตามทางเก่าที่ใคร ๆ ก็เดิน จริง ๆ แล้วก็บอกแบบนี้ไม่ได้หรอกเราก็คิดในมุมเราเองถ้าไม่ใช่ก็ไม่ว่ากัน

- จากสถิติที่ทำออกมาหัวข้อก็มีพัฒนาการขึ้นตามลำดับทั้งตัวนักศึกษาเองและตัวอาจารย์ด้วย นับเป็นความสำเร็จระดับหนึ่งในแง่นี้

นราธร สายเส็ง อาจารย์ประจำสาขาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU #SocialStudies

ตัวอย่างหัวเรื่องบัณฑิตนิพนธ์ที่เราเป็นที่ปรึกษา อ.นราธร สายเส็ง

--

--