Money Management System: Martingale ระบบบริหารจัดการเงินแบบนักพนัน EP.1

ND investor
2 min readOct 28, 2019

--

Martingale ระบบบริหารจัดการเงินแบบนักพนัน

ที่ผมตั้งชื่อบทความในคำสุดท้ายที่เขียนว่านักพนัน คุณอ่านไม่ผิดครับ นักพนันจริงๆ ผมมีความเชื่อแบบนี้ครับนักพนัน คือคนที่ยึดการเล่นพนันเป็นอาชีพ ครับ เช่น Poker การเล่น Poker ถ้าศึกษาให้ดีๆ มีรายละเอียดเยอะมากเลยครับ ผมเองก็ฝึกเล่นนะ ไม่ได้เก่งอะไร ต้องยอมรับเลยว่าตอนนี้ยังงงๆ ตำแหน่งที่นั่งอยู่เลย ฮ่าๆๆๆ

นักพนันแตกต่างจากผีพนัน ครับ ที่ผมจะสื่อคือผีพนันไม่ได้ศึกษาหรือคำนวณหาโอกาสความน่าจะเป็นในการเล่นพนันเลย พูดง่ายๆคือ ดวงล้วนๆ ไม่มีฝีมือผสม ส่วนนักพนันนั้น บังคับดวงบังคับโชคลาภให้อยู่กับตัวครับ เอาหละเล่ามุมมองของผมเป็นน้ำจิ้มแค่นี้พอ เข้าเรื่องกันดีกว่า

Martingale คือ การจัดการเงินที่เป็นลักษณะของการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผิดทาง เช่น 1 3 5 7 9 หรือ 1 2 4 8 16 การเพิ่มของขนาดการเทรดขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะออกแบบมาแบบไหน โดยหวังว่าราคาจะกลับมาในทิศทางเดียวกันกับหน้าไม้ที่เราเก็งกำไรอยู่ นั่นเองครับ

*หมายเหตุ Point คือทศนิยมจุดที่ 5 ส่วน Pip คือทศนิยมจุดที่ 4 ดังนั้น 1 Pip = 10 Point

ระยะ(Distance) = 300 point

ขนาด Position Size = เพิ่มขึ้นแบบ Multiple x2

จากรูปทั้งหมด 7 ไม้ อธิบายทีละไม้

ไม้ที่ 1 = 0.01 -18$ ไม้ที่ 2 = 0.02 -30$ ไม้ที่ 3 = 0.04 -48$ ไม้ที่ 4 = 0.08 -72$

ไม้ที่ 5 = 0.16 -96$ ไม้ที่ 6 = 0.32 -96$ ไม้ที่ 7 เป็นไม้ที่ราคาเด้งขึ้นไปถึงราคาต้นทุนพร้อมบวกกำไรให้เราสามารถปิดไม้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องรอให้

ราคาขึ้นไปจนถึงไม้ที่ 1 ส่วนวิธีการคำนวณราคาต้นทุนบวกกำไรสำหรับ Martingale นั้นมีหลากหลายวิธีมาก คุณสามารถหาดูได้ตาม Google

สำหรับวิธีของผมนั้นค่อนข้างยาวถ้าผมเขียนลงในบทความนี้จะยาวเกินไป ถ้าหากคุณสนใจอาจจะทักติดต่อ Inbox มาได้ที่เพจเพื่อถามรายละเอียดการคำนวณได้ครับ ต่อไปผมจะขึ้น Case ที่ 2 Buy ยังใช้รูปภาพเดียวกัน

ระยะ(Distance) = 300 point

ขนาด Position Size = เพิ่มขึ้นแบบ +2

จากรูปทั้งหมด 7 ไม้ อธิบายทีละไม้

ไม้ที่ 1 = 0.01 -18$ ไม้ที่ 2 = 0.03 -45$ ไม้ที่ 3 = 0.05 -60$ ไม้ที่ 4 = 0.07 -63$

ไม้ที่ 5 = 0.09 -54$ ไม้ที่ 6 = 0.11 -33$ ไม้ที่ 7 เป็นไม้ที่ราคาเด้งขึ้นไปถึงราคาต้นทุนพร้อมบวกกำไรให้เราสามารถปิดไม้ทั้งหมดได้โดยไม่ต้องรอให้

Case ที่ 1 ผลติดลบจนถึงไม้ที่ 7 = -360$ ระยะทั้งหมด 1,800 Point

Case ที่ 2 ผลติดลบจนถึงไม้ที่ 7 = -273$ ระยะทั้งหมด 1,800 Point

ก็คือ ระยะเท่ากันแต่ขนาดของ Position size ต่างกันผลรวมติดลบก็ต่างกัน แต่ข้อควรระวังคือ ใน Case ที่ 1 ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเร็วมากกว่า Case ที่ 2 ก็จริงแต่เมื่อราคาถึงไม้ที่ 7 และเด้งกลับมาทิศทางเดียวกันกับที่เราเก็งกำไร เราจะออกจากการเทรดได้เร็วกว่า Case ที่ 2 ซึ่งการกำหนดขนาด Position size ที่เล็กลงต้องใช้ระยะการปิดไม้ทั้งหมด ยาวขึ้นนั่นเองครับ

ข้อดีของระบบ Martingale คือสามารถสร้างให้พอร์ต Growth ขึ้นได้เรื่อยๆ (มันขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดด้วยนะ)

ข้อเสียคือ ถ้าสภาวะตลาดไม่เป็นใจ หรือราคาเคลื่อนที่ผิดทางกับที่เราเปิดหน้าไม้เก็งกำไรไว้ไปเรื่อยๆ ระบบนี้จะทำให้พอร์ตเราเสียหายหนักถึงขั้นล้างพอร์ตได้เลยครับ

ข้อแนะนำการใช้ระบบ Martingale สำหรับ Case 1 และ 2 นั้นเป็นตัวอย่างการใช้ที่ไม่ดี เพราะ แต่ละรอบของการเทรดพร้อมกับเพิ่มขนาดของ Position size เข้าไปนั้น ไม่มีเหตุผลโดยที่ Case ที่ 1 และ Case ที่ 2 ที่ผมยกตัวอย่าง แค่อยากจะให้เห็นวิธีการใช้งานเบื้องต้นครับซึ่งเป็นวางเงินตาม Grid หรือแบบ Fixed Distance การใช้ระบบ Martingale ให้ได้ผลดีนั้น ต้องใช้ระบบเทรด,เก็งกำไร ที่เรา Back test หรือ Forward Test มาแล้วพอจะรู้ถึง Win ratio คร่าวๆ รู้โอกาสความน่าจะเป็น ความได้เปรียบของราคา จะช่วยให้เราใช้ระบบบริหารจัดการเงิน แบบ Martingale ได้ดีขึ้นและยืดอายุของพอร์ตการลงทุนได้นานขึ้น ครับ ในโอกาสถัดไปผมจะยกตัวอย่าง Case ที่ 3 ถึงการใช้ Martingale ยังไงให้ปลอดภัยมากขึ้น มีโอกาสที่ดีมากขึ้นกว่าการ Fixed Distance ครับ

Originally published at https://ndinvestor.blogspot.com on October 28, 2019.

--

--

ND investor

ND Investor บริการด้านการลงทุนในตลาด Forex https://ndinvestor.blogspot.com/