“People will forget what you said. People will forget what you did, but people will never forget how you made them feel.” — Maya Angelou . “คนจะลืมว่าคุณพูดอะไร คนจะลืมว่าคุณทำอะไร แต่คนจะไม่มีทางลืมว่าคุณทำให้เขารู้สึกอย่างไร” . วันแรกที่นิเข้าไปเรียนที่ Harvard Business School อาจารย์นำ Quote นี้มาเล่าให้ฟัง เพราะการที่เราเอาคน 90 คนมานั่งอยู่ในห้องเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ต้องมีครั้งที่ความคิดเห็นเหล่านั้นมากระทบจิตใจของพวกเราแน่นอน . ได้ยิน Quote นี้เข้าไป ก็รู้สึกว่า จริงนะ บางทีเราจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าคนนี้พูดอะไร แต่เค้าทำให้เราอารมณ์ดี หรือทำให้เรารู้สึกแย่ ฟังแล้วทำให้เราฉุกคิดเรื่องคำพูดของเราอยู่เหมือนกัน เราควรระวังคำพูดของเราให้มากๆ ก่อนจะพูดอะไรควรที่จะคิดถึงจิตใจคนฟัง . ในมุมของคนฟังเราก็ต้องมีสติเหมือนกัน ควรใช้สติมากกว่าใช้อารมณ์ บางครั้งเพื่อนในห้องแสดงความคิดเห็นมา เหมือนจะต่อต้านความคิดเห็นของเรา หรือเหยียดกัน เราอาจจะรู้สึกไม่ดี อาจจะโกรธ แต่จริงๆแล้วหลายๆครั้ง เราโกรธโดยที่ไม่รู้เลยว่าคนพูดเขาไม่ได้เจตนาจะทำร้ายเราเลย เขาไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ . เจอแบบนี้บ่อยๆ ก็คิดว่าเราคนฟังก็ควรใช้สติเหมือนกันว่าคนพูดมีเจตนาอะไร ถ้าเขาแค่แสดงความคิดเห็นแต่ไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกไม่ดีก็ไม่ควรไปแค้นฝังใจ โกรธได้ รู้สึกได้ แต่ไม่ได้ต้องจำฝังลึก และถ้าเป็นไปได้เราก็ควรจะให้ Feedback เขา เตือนเขาว่าสิ่งที่เขาพูดมันกระทบจิตใจคนอื่นยังไง เขาควรพูดยังไงให้ดีขึ้นในอนาคต ช่วยกันพัฒนาดีกว่าเนอะ .

People will forget what you said.
People will forget what you said.

Happiness = Reality / expectation . ความสุข = สิ่งที่เกิดขึ้น / ความคาดหวัง . เคยไหม? รอดูหนังเรื่องนึงมานาน อ่านรีวิวมาแล้วบอกว่าดีมากๆ พอไปดูเอง หนังกลับออกมาไม่สนุกอย่างที่หวัง ก็เซ็งไปเป็นแถบ . เคยไหม? เดินเล่นอยู่แล้วหิว เจอร้านอาหารร้านนึง ไม่รู้เลยว่าจะเป็นยังไง แต่เดินเข้าไปลองหาอะไรกิน ไม่ได้คาดหวังอะไร ปรากฏว่าอาหารอร่อย ยิ้มออกเลย . ความรู้สึกเซ็ง หรือความรู้สึกมีความสุขนั้น จริงๆแล้วมีพื้นฐานมาจากความคาดหวัง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของเราซะเป็นส่วนใหญ่ มีนักจิตวิทยาหลายท่านได้อธิบายสมการของความสุขนี้ไว้ ถ้าเราคาดหวังมาก แต่ผลที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่คาด เราก็จะไม่มีความสุข หรือถ้าผลออกมาดีกว่าที่เราคาดไว้ เราก็จะมีความสุข เพราะฉะนั้นเราสามารถจัดการอารมณ์ และความสุขของเราได้ ด้วยการคอยปรับความคาดหวัง ให้ตรงกับสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นได้นั่นเอง…

ความสุข = สิ่งที่เกิดขึ้น / ความคาดหวัง
ความสุข = สิ่งที่เกิดขึ้น / ความคาดหวัง

อีกคำถามยอดฮิตที่คนมักจะสงสัยว่า MBA ไปเรียนทำไม ได้พัฒนาเรื่องอะไรบ้าง วันนี้มาสรุปให้ฟังแล้ว . 1 เพื่อพัฒนาความรู้ทางธุรกิจ — หลักสูตร MBA ไม่ว่าจะเป็นของมหาวิทยาลัยไหนก็ตามจะสอนวิชาพื้นฐานทางธุรกิจต่างๆ เช่น บัญชี (Accounting) เศรษฐศาสตร์ (Economics) การตลาด (Marketing) กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategy) การเงิน (Finance) การเป็นผู้ประกอบการ (Entreprenuership) เพราะฉะนั้นจะมั่นใจได้ว่านักเรียนที่จบไปจะเข้าใจว่าธุรกิจ หรือบริษัทต่างๆทำงานยังไงมากขึ้นแน่นอน พอเป็นแบบนี้ หลังจากที่เรียนจบไปแล้วไปทำงาน นักเรียนที่เรียนจบก็จะสามารถเข้าใจภาพใหญ่ขององค์กรได้ง่ายมากขึ้น แก้ปัญหาได้ครอบคลุมมากขึ้น เพราะเข้าใจกลไกธุรกิจนั่นเอง . 2 พัฒนาความเป็นผู้นำ — อีกสิ่งหนึ่งที่โปรแกรม MBA เน้นมากๆคือเรื่องของความเป็นผู้นำ แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป บางโรงเรียนจะเน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ได้เห็นรูปแบบการทำงานของคนที่หลากหลาย ก็จะช่วยทำให้พอต้องไปนำใคร จะเข้าใจกันได้มากขึ้น และก็เป็นการฝึกทักษะด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและการฟังซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากๆของผู้นำด้วย บางโรงเรียนก็จะเน้นเรื่องสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจด้วยการเรียนเป็น Case Method โดยเมื่อนักเรียนได้ลองอ่านกรณีศึกษาของบริษัทแล้วลองตัดสินใจ มาถกประเด็นกันในห้อง จะทำให้ได้ฝึกกระบวนความคิดแบบผู้นำ และหลายๆโรงเรียนก็จะเน้นมากๆในเรื่องของ Self-Reflection และ Self-evaluation คือให้นักเรียนทุกคนสะท้อนตัวตนของตัวเองออกมา รู้ข้อดี รู้ข้อเสียของตัวเอง และหาสไตล์การเป็นผู้นำของตัวเองให้เจอนั่นเอง . 3 Network — นักเรียน MBA ทั้งหลาย คือคนที่มีความสนใจที่จะรู้กว้างในเรื่องธุรกิจ และออกไปเป็นผู้บริหารในบริษัทต่างๆ เพราะฉะนั้นข้อดีหลักๆของ MBA อีกอย่างก็คือการได้รู้จักคนมากมายทั้งเพื่อนที่นั่งเรียนด้วยกัน และต่อยอดไปถึงศิษย์เก่าของแต่ละโรงเรียน แต่ละมหาลัยมักจะมีสมาคมศิษย์เก่าที่แข็งแรงมากๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อนักเรียนทั้งในเรื่องการหางาน เรื่องความช่วยเหลือกันทางธุรกิจ หรือเรื่องส่วนตัวอื่นๆ นั่นเอง . 4 ได้ประสบการณ์ชีวิต และโอกาสในการลองผิด ลองถูก — การมาเรียน MBA โดยเฉพาะในต่างประเทศ คือการเปิดโลก เจอกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เจอกับคนที่แปลกใหม่ ได้แรงบันดาลใจ และได้เก็บประสบการณ์ชีวิต ที่จะช่วยให้เราเติบโตขึ้นในหลายๆด้าน และ MBA ก็เป็นช่วงเวลาที่สามารถสร้างโอกาสในการลองผิดลองถูกได้ บางคนก็ใช้เวลาช่วงนี้ในการตั้งบริษัทของตัวเอง ทดสอบไอเดียธุรกิจ หรือทดสอบความสนใจการเป็นผู้ประกอบการ หรือใช้เวลาช่วงนี้ในการลองไปฝึกงานเพื่อค้นหาตัวเอง เพราะท้ายที่สุดแล้วถ้าทำธุรกิจแล้วไม่ชอบ หรือฝึกงานแล้วไม่ชอบ ก็ยังมีโอกาสในการหางานประจำหลังจบ 2 ปีได้อีก นอกจากนี้ส่วนมากมหาวิทยาลัยก็ยังจะมี ที่ปรึกษาในเรื่องการทำธุรกิจ หรือที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการหางาน ให้บริการได้ฟรีกับนักเรียนอีกด้วย . สำหรับคนที่อ่านแล้วอยากรู้เพิ่มว่า เรียนจบ MBA ทำอะไรได้บ้าง อันนี้เคยเขียนไว้แล้วก็ไปอ่านกันได้ที่ Link นี้เลยค่ะ: https://bit.ly/3dXz91y . #เรียนต่อ #เรียนต่อนอก #nichawong #Q&AFriday

เรียน MBA มีข้อดีอะไรบ้าง
เรียน MBA มีข้อดีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า สำหรับเราแล้วอะไรสำคัญ ความเด่นด้านการศึกษา วิธีการสอน Culture ของมหาลัย หรือตัวเมือง มีหลายปัจจัยมากที่ควรทำมาคิดในการเลือกมหาลัยค่ะ 1) ชื่อเสียงของมหาลัยในด้านที่เราสนใจ มหาลัยที่ชื่อเสียงโด่งดัง อาจจะไม่ได้ดังที่สุดในด้านที่เราสนใจ วิธีเช็คคือ Google ranking ในด้านนั้นๆเลยค่ะ เช่น Marketing ก็ Search “Best marketing MBA schools” ก็จะได้ List มา หรือถ้าเราเป็นคนชอบอ่าน Article หรือ Research Paperต่างๆ บางทีคนเขียน Article เหล่านี้ อาจจะเป็นอาจารย์ของมหาลัย ซึ่งเราอาจจะเลือกไปเรียน เพราะอยากไปเรียนกับอาจารย์คนนี้ก็ได้เหมือนกัน 2) รูปแบบการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ แต่ละที่จะมีวิธีการสอนแตกต่างกันออกไป ให้ดูว่าแบบไหนเข้ากับตัวเราที่สุด เช่น การเรียนแบบ Case method การเรียนแบบเน้นทำงานกลุ่ม หรือสนใจกิจกรรมพิเศษของมหาลัย เช่น บาง Exchange program ให้ไปเรียนแลกเปลี่ยนอีกมหาลัยได้ 1 เทอม หรือมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ 3) อาชีพการงาน ถ้าการมาเรียนต่อ คือการเปลี่ยนสายงาน หรือหางาน แนะนำให้เช็คเลยว่าแต่ละมหาลัย มีผู้จ้างงานหลังเรียนจบเป็นใครบ้าง Search หา Career Report ของแต่ละโรงเรียน เพื่อดูว่าคนจบจากโรงเรียนนั้นไปทำบริษัท หรือ Industry ที่เราสนใจเยอะรึเปล่า แต่ละมหาลัยจะไม่เหมือนกันนะ . 4) เพื่อนร่วมชั้น Connection จากแต่ละมหาลัยจะแตกต่างกันตามความหลากหลายของคนในคลาส แนะนำให้ดูเรื่อง %international Student บางมหาลัยคือ แทบจะ100% แต่บางมหาลัยแค่ 40% อีกมุมหนึ่งคือเรื่องของ Class size ถ้าคนเยอะมากก็จะได้ Network กว้างแต่ไม่สนิทมาก แต่ถ้าคนน้อยก็สนิทมากแต่ไม่กว้าง และในเรื่องของ Culture แต่ละโรงเรียนจะมีคนสไตล์ต่างกัน วิธีหาข้อมูลที่ดีที่สุดคือไปร่วม Info. session ของมหาลัยต่างๆ คุยกับศิษย์เก่าเยอะๆ หรือบินไปดูที่มหาลัยเลยก็ได้ จะได้เห็นภาพที่ชัดขึ้นถ้ามีเวลา . 5) ตัวเมือง การไปเรียนครั้งนึงคือลงทุนเวลาไปอย่างน้อย 1 ปี เพราะฉะนั้นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ก็สำคัญมาก บางมหาลัยอยู่ในเมืองใหญ่ก็จะสะดวกหน่อย แต่บางมหาลัยอาจจะอยู่ในเมืองที่ไม่เจริญมาก ซึ่งก็ต้องถามตัวเองว่าเราจะโอเคมั้ยกับรูปแบบเมืองที่เราต้องไปใช้ชีวิตอยู่นานเป็นปี

เลือกมหาลัยให้เข้ากับตัวเรายังไง?
เลือกมหาลัยให้เข้ากับตัวเรายังไง?

เล่าไปเรื่อย: Section Experience . จุดเด่นอีกอย่างของ Harvard Business School คือสิ่งที่เรียกว่า Section Experience . ปี 1 ทุกคนเข้ามา 930 คน จะถูกแบ่งเป็น 10 Section(A-J) ห้องละ 93 คน (เหมือน ม.1/1 — ม.1/10 ที่ไทย) และเราจะนั่งเรียนกับเพื่อน 93 คนนี้ไปตลอด 1 ปี แต่ละห้องจะถูกจัดมาให้มีความหลากหลายทางสายอาชีพ วัฒนธรรม และเพศ เพื่อให้เวลามาแชร์ประสบการณ์ในห้องจะได้มีหลายมุมมอง . มหาลัยจะจัดที่นั่งมาให้เรานั่งที่เดิมไปตลอดเทอม พอเทอม 2 ก็จะเปลี่ยนที่นั่งให้ ประสบการณ์เรียนจะคล้ายๆเรียนม.ปลายที่ไทยเลย คือเพื่อนที่นั่งข้างๆ คนเดิมคนเดียวไม่เปลี่ยนแปลง เหตุผลที่ต้องนั่งที่เดิมนี้ เพราะ ที่นี่เน้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น อาจารย์ต้องเรียกชื่อให้นักเรียนตอบคำถาม การนั่งที่เดิมจะทำให้อาจารย์จำนักเรียนได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

Section Experiences
Section Experiences
Nicha Wongsuphasawat

เล่าประสบการณ์และคำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศ สายอาชีพต่างๆ และการพัฒนาตัวเอง