ข้อมูล (data) สารสนเทศ (information) ความรู้ (knowledge) และปัญญา (wisdom)
DATA ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออื่น ๆ ถูกเก็บรวบรวมโดยยังไม่ผ่านการประมวลผล
Information ข้ออมูลที่ผ่านกระบวนการอย่างเป็นระบบ ทำ ให้เกิดความหมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์
Knowledge ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการสังเกตและ วิเคราะห์ข้อมูล
Wisdom การพัฒนาองค์ความรู้ให้สามารถนำไปใช้ เกิดการ ปฏิบัติที่เป็นประโยชน์
สาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการข้อมูล
การศึกษาด้านวิทยาการข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยความรู้ในหลายด้าน โดยสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ด้านวิทยาการข้อมูล/เทคโนโลยีสารสนเทศ (2) ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ และ (3) ความรู้เฉพาะด้านในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยความรู้ด้านธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง
จากภาพสามารถพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันได้ ดังนี้
(1) ส่วนที่สัมพันธ์กันระหว่าง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และความรู้เฉพาะด้านในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development) โดยนำความรู้จากวิทยาการคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับสาขาเฉพาะด้าน
(2) ความสัมพันธ์ระหว่าง คณิตศาสตร์ สถิติ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) นำความรู้ทั้ง 2 ส่วนมาผสมผสานเกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้คิดและทำเหมือนกับมนุษย์
(3) ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เฉพาะด้านในสาขาที่เกี่ยวข้อง และ คณิตศาสตร์ สถิติ ทำให้เกิดการวิจัย (traditional research) และพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย
ดังนั้น ความรู้ทั้งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้เรื่องของวิทยาการข้อมูล
+++ ความเป็นมาของวิทยาการข้อมูล
เอกสารอ้างอิง
ปภังกร อิ่นแก้ว. (2564). วิทยาการข้อมูลเบื้องต้น (Introduction to Data Science). งานบริการการศึกษาและ พัฒนาคุณภาพนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Lin Kanokkorn and Zac Chiam. (2565). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565,
จาก https://davoy.tech/what-is-data-analytics/
ไกรศักดิ์ เกษร. (2564). วิทยาศาสตร์ข้อมูล. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.