การทดสอบถนนรูปแบบต่างๆ จากลักษณะ

Nonzakiz
4 min readJun 27, 2019

--

ถนนมีส่วนสำคัญอย่างมากในระบบขนส่ง โดยทั่วไปในลักษณะถนนที่ดี ต้องให้ความสะดวกสะบาย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ รวมถึงการรองรับจำนวนรถที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลต่อโครงสร้างของถนนในอนาคต ทีนี้การจะรู้ข้อมูลเหล่านี้ได้ ก็ต้องมีการทดสอบเกิดขึ้น โดยการทดสอบของถนนแบบจำแนกตามลักษณะ มีดังนี้

  1. Roughness ค่าความขรุขระ
  2. Texture พื้นผิวทาง
  3. Skid Resistance ความต้านทานการลื่นไถลของผิวทาง
  4. Mechanical/structural properties สมบัติเชิงกล/โครงสร้าง
  5. surface distress การเสียหายของพื้นผิว

1. Roughness (ค่า ความขรุขระ)

Roughness (ค่า ความขรุขระของผิวทาง) คือ ความแปรปรวนของระนาบผิวทางที่ทําให้เกิดความไม่สบายในการขับขี่ อีกทั้งยังมีผลต่อการระบายน้ําบนผิวถนน และการกระจายน้ําหนักบรรทุกของยานยนต์ลง บนผิวทาง โดยการทดสอบค่าความหยาบ จะมีดัชชีชี้วัดหลายตัวเช่น

  1. IRI ดัชนีความหยาบสากล เป็นการวัดค่าความหยาบแบบมาตรฐานที่คำนวณโดยใช้ การจำลองทางคณิตศาสตร์ของรถยนต์สี่ล้อ (เช่นล้อเดียว) ที่เดินทางไป
    บนถนนและวิเคราะห์ออกมา
  2. PSI ดัชนีการบริการปัจจุบัน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้คนที่ใช้ถนน
  3. PSR การจัดอันดับการให้บริการ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้คนที่ใช้ถนน
วิธีการคำนวณ IRI ของรถยนต์

โดยวิธีที่นิยมมากที่สุดและเป็นสากล คือวิธี IRI เพราะมีเครื่องชี้วัดที่แน่นอน โดย World Bank ได้กำหนดวิธีนี้เป็นมาตรฐานอีกด้วย

การวัดดัชชีแบบ IRI จะมีการแบ่งเครื่องมือเป็น 4 ระดับด้วยกันได้แก่

  1. Class I: Precision Profiles คลาสนี้เป็นมาตรฐานความแม่นยำสูงสุดสำหรับอุปกรณ์วัดความหยาบ โปรไฟล์ถูกวัดเป็นชุดของจุดยกระดับความแม่นยำที่ใกล้เคียงที่สุดในถนน ระยะห่างระหว่างจุดต้องสั้นเพื่อบรรลุความแม่นยำสูงสำหรับการอธิบายโปรไฟล์ถนน บางคำแนะนำแนะนำว่าระยะทางนี้ไม่ควรเกิน 0.25 ม. มีอุปกรณ์แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
    - Laser profilers: Non-contact lightweight profiling devices and portable laser profilers Class I Precision profiles
    - Manually operated devices: e.g. TRL beam, Face Dipstick/ROMDAS Z-250, ARRB Walking Profiler
  2. Class II: Other Profilometer Methods พิจารณาวิธีการวัดผลแบบไดนามิกที่กำหนดการยกระดับโปรไฟล์ โดยใช้ข้อมูลระดับความสูงหรือสูตรสถิติที่คำนวณ
    จากข้อมูลระดับความสูง โปรไฟล์ของทางล้อหนึ่งหรือทั้งสอง ความแม่นยำของอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ มีความแม่นยำน้อยกว่า Class I
    อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ APL profilometer, profilographs (e.g., California, Rainhart), optical profilers, and inertial profilers (GMR)
  3. Class III: IRI Estimates from Correlations อุปกรณ์เครื่องกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทางอ้อมเพื่อประเมินโปรไฟล์ของถนน ต้องใช้มาตรการที่ได้มาจากอุปกรณ์เหล่านี้มาทำการสอบเทียบผ่านสหสัมพันธ์กับค่าความหยาบมาตรฐาน
    อุปกรณ์ประเภทนี้ได้แก่ Roadmaster, ROMDAS, Roughometer, TRL Bump Integrator, rolling straightedge.
  4. Class IV: Subjective Ratings การตรวจสอบด้วยภาพหรือการใช้การแสดงความคิดเห็น

โดยในประเทศไทย กรมหลวงชนบท,กรมทางหลวง ได้มีการนำวิธี IRI มาใช้ในการวัดถนนโดยจะมีอุปกรณ์ที่ใช้วัดได้แก่

  1. Laser Profilometer จัดอยู่ใน Class I ตามมาตรฐาน World Bank โดยข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์เลเซอร์ มีลักษณะข้อมูลเป็นค่าต่อเนื่องตลอดระยะทางการสำรวจเมื่อรถสำรวจวิ่งสำรวจข้อมูล ด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยตรวจวัดและคำนวณดัชนีความขรุขระสากลทุกๆ 100 เมตร ทําให้การตรวจสอบสภาพทางเป็นไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ได้จาก การสํารวจเป็นมาตรฐานสากล มีความละเอียดแม่นยํา
  2. walking profiler จัดอยู่ใน Class I ตามมาตรฐาน World Bank มีความสามารถในการหา Relative Profile ระหว่าง ความสูง ความชัน และระยะทาง ความเร็วในการทดสอบอยู่ระหว่าง 0.8–4.8 กม.ต่อ ชม.
รถเลเซอร์ที่มีใช้หน่วยงานประเทศไทย
walking profiler กรมทางหลวง

เกณฑ์แนะนำการประเมินความราบเรียบของถนน
ในประเทศไทย IRI (m/Km) สภาพความเรียบได้แก่
1.0–2.5 ดีมาก
2.5–3.5 ดี
3.5–4.5 พอใช้
> 4.5 ต้องปรับปรุง

Cr. ข้อมูลจากการสำรวจและประเมินความเสียหายของถนนโดยวัดค่าดัชนีความขรุขระของผิวทางสากล (International Roughness Index, IRI), กรมทางหลวง
สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ,กรมทางหลวง

2. Texture (พื้นผิว)

Texture พื้นผิวของถนนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความสะดวกสบายของผู้ใช้ และสภาพแวดล้อมถนนในแง่ของความปลอดภัย พื้นผิวส่งผลโดยตรงต่อยางเพื่อให้ยึดเกาะกับผิวทางในสภาพที่เปียกชื้นและส่งผลต่อความต้านทานการลื่นไถลทางอ้อม พื้นผิวเกี่ยวข้องกับการปล่อยเสียงรบกวนที่เกิดจากการจราจร พื้นผิวของถนนแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. Micro-Texture (λ<0.5 มิลลิเมตร และ A=1 ถึง 500 ไมโครเมตร) คุณภาพความขรุขระของพื้นผิวอยู่ที่ระดับเล็กมาก (Microscopic Level) ซึ่งเป็นฟังก์ชันของคุณสมบัติผิวทางของอนุภาคมวลรวมภายในแอสฟัลต์คอนกรีตและคอนกรีตที่ปู
2. Macro-Texture (λ=0.5 ถึง 50 มิลลิเมตร และ A=0.1 ถึง 20 มิลลิเมตร) คุณภาพความขรุขระของพื้นผิวกำหนดจากคุณสมบัติวัสดุผสม (ขนาด รูปร่าง และขนาดคละของมวลรวม) และวิธีการปูผิวในสนาม
3. Mega-Texture (λ=50 ถึง 500 มิลลิเมตร และ A=0.1 ถึง 50 มิลลิเมตร) พื้นผิวชนิดนี้มีขนาดความยาวคลื่นเท่ากับขนาดของพื้นผิวสัมผัสของยางและผิวถนน

ลักษณะพื้นผิวที่ส่งผลกระทบต่อค่าความเสียดทานของผิวทาง คือ Micro-Texture และ Macro-Texture

Cr. สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ กรมทางหลวง

ภาพแสดงการแบ่งลักษณะของพื้นผิว

3. Skid Resistance ความต้านทานการลื่นไถลของผิวทาง

ความต้านทานการลื่นไถล นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นผิวของถนน (Texture) เป็นหลัก เมื่อ Micro-texture สัมผัสกับยางรถจะสร้างแรงเสียดทาน และในช่วงที่พื้นเปียก Micro-texture แทรกซึมฟิล์มน้ำบาง ๆ ที่ยังคงอยู่ระหว่างยางรถและถนนเพื่อสร้างการสัมผัสโดยตรงกับยางที่เคลื่อนที่

ส่วน Macro-texture อำนวยความสะดวกในการระบายน้ำออกจากบริเวณหน้าสัมผัสยางกับถนน ภายใต้สภาวะเปียกชื้น Micro-texture จะมีความต้านทานการลื่นไถลที่ความเร็วต่ำ (น้อยกว่า 70 กม. / ชม.) อย่างไรก็ตามที่ความเร็วสูง (มากกว่า 70 กม. / ชม.) จำเป็นต้องมี Micro-texture และ Macro-texture ในระดับสูงของการลื่นไถล ความต้านทาน (ค่า PSVหรือค่าความต้านทานลื่นถไลเมื่อถูกขัด ของ Micro-texture ควรมากกว่า > 47, กรมทางหลวง) เพราะด้วยความเร็วที่เร็วขึ้นจึงจำเป็นต้องมี Macro-texture เพื่อระบายน้ำบนผิวถนน

Macro-texture ยิ่งมีระยะห่างมาก ยิ่งระบายน้ำได้ดี

การทดสอบความต้านทานการลื่นไถล มีเครื่องมือวัดค่าความเสียดทานของผิวทางมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีหรือเทคนิคที่ใช้ในการทดสอบ

  1. เครื่องมือทดสอบแบบ Portable Tester หรือเครื่องมือแบบพกพา ได้แก่เครื่องมือ

1.1 British Pendulum Tester (BPT) มาตรฐานการทดสอบ ASTM E 303 เป็นเครื่องมือทดสอบที่ใช้หลักการวัดแรงเสียดทานด้วยการเหวี่ยงแท่นยางสัมผัสพื้นผิวทดสอบ สามารถใช้ได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนาม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กรมทางหลวงใช้งานในปัจจุบัน โดยผลการทดสอบแสดงเป็นค่า BPN (British Pendulum Number)

British Pendulum Tester

1.2 เครื่องมือทดสอบแบบ Dynamic Friction Tester: DFT มาตรฐานการทดสอบ ASTM E 1911 เป็นเครื่องมือทดสอบที่ใช้หลักการวัดแรงเสียดทานด้วยการหมุนแท่นยางเป็นวงกลมบนพื้นผิวทดสอบด้วยระดับความเร็วต่างๆ สามารถในใช้ได้ทั้งในห้องปฏิบัติการและในสนาม

Dynamic Friction Tester: DFT

2. เครื่องมือทดสอบแบบ Locked Wheel Skid Resistance มาตรฐานการทดสอบ ASTM E 274 เป็นเครื่องมือทดสอบที่ถูกติดตั้งบนรถพ่วงลาก ใช้หลักการวัดค่าแรงเสียดทานของผิวทางจากล้อยางทดสอบ โดยล้อยางทดสอบจะถูกกดบนพื้นผิว จากนั้นระบบจะทำการล็อคล้อและลากไปบนพื้นผิว เพื่อวัดแรงต้านจากการลาก

Locked Wheel Skid Resistance

3. เครื่องมือแบบวัดแรงเสียดทานด้านข้าง (Side-Force) เป็นเครื่องมือทดสอบที่ถูกติดตั้งบนรถพ่วงลากหรือรถบรรทุกน้ำ ใช้หลักการวัดแรงเสียดทานด้านข้างของพื้นผิวทางจากล้อยางทดสอบ โดยล้อยางทดสอบจะถูกบิดเป็นมุม 7–20 องศา จากแนวทิศทางการเคลื่อนที่ และถูกลากไปบนพื้นผิว เพื่อวัดแรงเสียดทานด้านข้าง เครื่องมือประเภทนี้ได้แก่

3.1 เครื่องมือ British Mu-Meter ใช้วัดแรงเสียดทานด้านข้าง โดยล้อสามารถบิดได้ทั้งสองล้อที่มุม 7.5 องศา

British Mu-Meter

3.2 เครื่องมือ British Sideway Force Coefficient Routine Investigation Machine (SCRIM) ใช้วัดแรงเสียดทานด้านข้าง โดยล้อสามารถบิดมุมได้ 20 องศา

British Sideway Force Coefficient Routine Investigation Machine

4. เครื่องมือทดสอบแบบ Fixed-Slip เป็นเครื่องมือทดสอบที่ถูกติดตั้งบนรถพ่วงลาก ใช้หลักการวัดความเสียดทานของพื้นผิวทางจากล้อยางทดสอบที่ลื่นไถล เมื่อทำการหน่วงการหมุนของล้อทดสอบลงที่ 13 % ของความเร็วที่รถพ่วงลากเคลื่อนที่ เครื่องมือทดสอบประเภทนี้ได้แก่ เครื่องมือ Airport Surface Friction Tester (ASFT) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กรมทางหลวงใช้งานในปัจจุบัน โดยผลการทดสอบแสดงเป็นค่า µ (Coefficient of friction)

Fixed-Slip

5. เครื่องมือทดสอบแบบ Variable-Slip มาตรฐานการทดสอบ ASTM E 1859 เป็นเครื่องมือทดสอบที่ถูกติดตั้งบนรถพ่วงลาก ใช้หลักการวัดความเสียดทานของพื้นผิวทางจากล้อยางทดสอบที่ลื่นไถล เมื่อทำการหน่วงการหมุนของล้อทดสอบจาก 0–100 % เครื่องมือประเภทนี้ได้แก่เครื่องมือ Norwegian Norse Meter RUNAR

Cr. สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ กรมทางหลวง

4. Mechanical/structural properties

Mechanical/structural properties เป็นการหาความสามารถเชิงโครงสร้างของถนน แสดงถึงความสามารถของโครงสร้างเพื่อรองรับปริมาณของรถยนต์ที่อาจเกิดขึ้นหรือที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นการประเมินควรประเมินความสามารถโดยรวมของถนนในการดำเนินการที่น่าพอใจ ภายใต้ปริมาณจราจรที่มีการเสียรูปและความชำรุดขั้นต่ำ (NCHRP, 1994)

ความสามารถเชิงโครงสร้างของถนน มักจะถูกกำหนดผ่านทาง การประเมินคุณสมบัติทางกลของแต่ละชั้นของโครงสร้างทางเท้า เช่น โมดูลัสยืดหยุ่น, คุณสมบัติความต้านทานความล้า,การโก่งตัว และ ความเค้นแรงดึงตกค้าง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมิน หลักๆ ได้แก่

dynamic cone penetrometer
  1. Dynamic cone penetromete (DCP) โดยใช้การยกและปล่อยตุ้มน้ำหนักให้หัวกรวย (Point Tip) จมสูดิน โดยบันทึกระยะที่จมตามจำนวนของการยกตุ้มน้ำหนัก โดยค่าอัตราการจมสามารถใช้ในการประมาณค่า CBR หรือค่าความหนาแน่นอนชั้นผิวทางได้
  2. Falling-weight deflectometer (FWD) การประเมินการโก่งตัวของผิวทางที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบความยืดหยุ่นที่เกิดจากการโหลดแบบสั่นสะเทือนหรือแบบคงที่ที่ใช้บนพื้นผิวถนน การโก่งตัวส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับประเภทของผิวทาง สภาพของถนน อุณหภูมิและประเภทของโหลดที่ใช้ ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบการโก่งตัวคือการโก่งตัวรีบาวด์สูงสุดภายใต้การประยุกต์โหลดและความโค้งของแอ่งถนน

ข้อมูลการโก่งตัวนำมาใช้ตีความเพื่อกำหนดคุณสมบัติเชิงกลของถนน วิธีการตีความที่ใช้กันทั่วไปคือผ่าน ‘การคำนวณย้อนกลับ’ ของโมดูลัสยืดหยุ่นของโครงสร้างทางเท้า

Falling-weight deflectometer (FWD)

5. Surface distress ความเสียหายของพื้นผิว

ความเสียหายของพื้นผิวสะท้อนให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพที่เกิดจากการจราจรสภาพแวดล้อมและอายุ (AASHTO, 1990) ประเภทความชำรุดมีขอบเขตและความรุนแรงเป็นตัวบ่งชี้ของ ประสิทธิภาพการปูผิวทางเกี่ยวข้องโดยตรงกับกำลังรับแรงของโครงสร้างและทางอ้อมกับเงื่อนไขการทำงาน

โดยทั่วไปการประเมินความชำรุดของพื้นผิวจะดำเนินการด้วยตนเองแม้ว่า การตรวจจับรอยแตกอัตโนมัติกำลังกลายเป็นเรื่องปกติ ความพยายามที่สำคัญถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างมาตรฐานวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและในขณะที่หลาย ๆ ประเทศ มีคู่มือการเก็บข้อมูลในการตรวจสอบความชำรุดแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามยังไม่มี วิธีมาตรฐานสำหรับการรวบรวมข้อมูลความชำรุดที่คล้ายกับ IRI (ค่าดัชนีความหยาบ) ส่วนใหญ่เป็นเพราะความต้องการเฉพาะของการจัดการถนนจำนวนมาก ระบบ (RMS) ตัวชี้วัดที่ประเมินในการประเมินความชำรุดของพื้นผิวคือรอยแตก, รอยร้าว การเปลี่ยนของพื้นผิวถนนตามแนวขวางและตามแนวยาวและอื่น ๆ ข้อบกพร่องของรอยแตกทางถนนและข้อบกพร่องที่พื้นผิวแตกต่างกันไป

ความผิดปกติที่พบมากที่สุดคือ ร่องล้อ ในถนนลาดยางแอสฟัลต์ และ รอยแตกในถนนคอนกรีต ความทุกข์ทั้งสองวัดจาก

การตรวจสอบรอยชำรุดในผิวถนน ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือเช่น กล้องวิดีโอจับรอยแตก,เลเซอร์,GPR และอื่นๆ

ข้อมูลการแสกรน GPR เพื่อหารอยชำรุดที่อาจเกิดขึ้นใต้ผิวถนน
ภาพจากกล้อง ตรวจจับรอยแตกที่เกิดบนถนนเพื่อประเมินความเสียหาย

ในการทดสอบที่กล่าวมาเป็นการกล่าวแบบภาพรวม และเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย การทดสอบจริงยังมีเงื่อนไขอื่นที่แตกต่างกันไป ทั้งในหน้างาน และในห้องปฏิบัติการ ประเภทวัสดุที่ใช ้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ผู้เขียนเพียงรวมรวมข้อมูลบางส่วนเพื่อมานำเสนอ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

ขอบคุณข้อมูลจาก

Data Collection Technologies for Road Management, World Bank, Washington, DC

สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ กรมทางหลวง

--

--

Nonzakiz

Civil Engineer | Technology Road | Technology PIPE | Engineering inspection developer