ทำไม Data scientist ต้องรู้เรื่องธุรกิจ(จากประสบการณ์จริง)

Chayanis Tuntearapong
Data Teller
Published in
1 min readJan 11, 2020

--

pain point ของ Data scientist ส่วนมากที่มักจะเจอคือ เวลาเอาผลงานไปเสนอจริง มักไม่สามารถบ่งบอกหรืออธิบายว่าสามารถใช้งานจริงในทางธุรกิจได้อย่างไร รวมไปถึงหลายครั้งที่เรานำเสนอไปกับ business unit ที่ทำงานกับเรา เขามักไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำ รวมถึงหลาย ๆ ครั้งที่เรานั้นเจอความจริงอะไรหลาย ๆ อย่างที่สุดท้ายแล้วมักเป็นสิ่ง ที่ business unit รู้อยู่แล้ว

แน่นอนว่างาน data scientist เป็นงานที่มีเสน่ห์และสนุก นอกจากจะต้องรู้สถิติแล้ว โปรแกรมมิ่งเองก็สำคัญสำหรับงานที่มีขอบเขตใหญ่ ตัวอย่าง เช่น ภาพ เสียง หรือ ข้อมูลที่มีขนาดมากกว่า 1 ล้านแถวขึ้นไป

ปกติเรื่องสถิติกับโปรแกรมมิ่งก็ว่าปวดหัวอยู่แล้ว แล้วทำไม data scientist ยังต้องมาเรียนรู้ business อีก วันนี้เราเลยเอาสิ่งที่เราเรียนรู้และเจอมา มาบอกว่า ทำไม data scientist ต้องรู้และเข้าใจธุรกิจ

1. ทำให้เราเข้าใจข้อมูลมากขึ้น

สิ่งนึงที่เราประสบปัญหาเสมอเวลาเริ่มทำแต่ละชิ้นงานคือ เราไม่เข้าใจว่าสถานะบนข้อมูลนั้นหมายความว่าอะไร อะไรคือนิยามและความหมายของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ [ex. แบบง่ายสุด ๆ คือ คำว่า NLP ถ้าถูกใช้ในเชิง Life coach ก็จะหมายความว่า Neuro-linguistic programming แต่ในเชิง IT/Data science มันคือ Natural language processing ] หากเราไม่เข้าใจธุรกิจ และใช้ผิดความหมาย เวลาที่เราทำผลงานเสร็จ มันมีผลถึงขั้นว่า เราต้องกลับไปที่ขั้นตอนของการนิยามข้อมูลทันที เพราะฉะนั้น หากเราเข้าใจธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะลดลงไปทันที

2. ทำให้การเล่าเรื่องง่ายมากขึ้น

เพราะว่าเวลาที่เราเล่าเรื่อง เรามักจะติดภาษาของเรา ยกตัวอย่าง มีครัั้งนึง เรา present ว่า “โมเดลส่วนมากนอกจาก Accuracy แล้ว ควรจะดู Precision/Recall เช่นกัน” ซึ่งในห้องประชุมเราเต็มไปด้วยฝ่ายกฏหมาย ซึ่งไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้เลย และสังเกตมั้ยว่า จากประโยคนั้น เราใช้คำถึงสามคำในที่เกี่ยวข้องกับ data science

ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจภาษาของ data science

เพราะฉะนั้นการรู้และเข้าใจธุรกิจ จะทำให้เราเข้าใจภาษาของแต่ละ Business unit มากขึ้น เวลาเล่าเรื่อง ทางนั้นก็จะอินและเข้าใจมากขึ้น

3. ทำให้คิด Project ใหม่ง่ายขึ้น

ตอนที่เราทำงาน data science ใหม่ ๆ เราไม่เข้าใจเลยว่าทำไมพี่ที่ทีมเราคนนึง ชอบไปนั่งทำทีมที่ทำ Project ด้วย จนกระทั่งที่เราย้ายมาทำงานที่ปัจจุบัน เราค้นพบว่า การมีโอกาสไปเรียนรู้และเข้าใจหน้างานจริง สามารถทำให้เราสร้าง Project ใหม่ ๆ ง่ายขึ้น เพราะเราไปเจอ pain point จริง ๆ ของธุรกิจ ทำให้เราสามารถนำสิ่งนั้นมาแกปัญหาผ่านการสร้าง model ที่สามารถต่อยอดให้เกิดโครงการที่ลงทุนแล้วคุ้มค่า ใช้งานได้จริงและเป็นที่ยอมรับของฝ่ายอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักคือมันมีเหตุผลที่ชัดเจนและแน่นอนผลตอบแทนที่กลับมาก็คุ้มค่าเช่นกัน

4. ลดเวลาการทำงานลง

แน่นอนว่า หากเราเข้าใจธุรกิจมากเท่าไร เราจะเลือกงานที่สามารถสร้างมูลค่าได้ดีกว่า รวมไปถึงสามารถลดเวลาในการทำงานหรือ Project ที่ Fail ออกไปได้บ้างและเราสามารถทำงานได้ไวขึ้นเช่นกัน ทั้งในแง่ของการคลีนข้อมูล วิเคราะห์ และเล่าเรื่อง เพราะเรารู้ว่าต้องทำอะไรที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ อะไรที่ควรใช้และไม่ใช้ อะไรบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำ มันทำให้เราจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อลดงานที่ไม่จำเป็นออกไปได้

5. คุณจะไปได้ไกลกว่างานด้านเทคนิค

สุดท้ายหากคุณเข้าใจธุรกิจ คุณจะสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงโอกาสในการต่อยอดงานต่าง ๆ จะดีขึ้น เพราะคุณเข้าใจ เห็นภาพและเชื่อมโยงมันได้ คุณสามารถข้าม industry ให้การทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะคุณเห็นโลกของธุรกิจมาแล้ว เวลา Restart ใหม่มันจะประติดประต่อได้ง่ายขึ้น เพราะประสบการณ์ด้านธุรกิจ แน่นอน หากในอนาคตคุณเบื่องาน ด้าน data science การรู้ธุรกิจก็สามารถทำให้คุณข้ามสายงานได้ง่ายเช่นกัน

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้และเห็นจากประสบการณ์ของเรา อาจจะมีถูกหรือผิดบ้าง แต่เราหวังว่านี่จะเป็นประสบการณ์ที่ให้ทุกคนให้เห็นและเรียนรู้ไปด้วยกันนะ

Ps. ใครมีประสบการณ์อะไรมาแลกเปลี่ยนกันได้เลย ยินดีมาก ๆ

--

--

Chayanis Tuntearapong
Data Teller

Data Scientist who working in financial industry | Data consulting | Learner | Worshiper | seeking in Life-long Learning |Pet-lover