Safety culture tips >>> เทคนิควิธีการสร้าง…วัฒนธรรมความปลอดภัย

Nutthajit Onmek
1 min readFeb 25, 2022

--

การสร้างหรือปรับแนวแนวคิดและทัศนคติของคนในองค์กรก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร ดังนั้นการดำเนินการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้สำเร็จได้ จะต้องอาศัยวิธีการหลายๆด้านประกอบกัน ผู้บริหารและผู้รับชอบในการดำเนินงานก็จะต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้สำเร็จให้ได้ จึงขอแนะนำเทคนิควิธีการที่สามารถทำได้ และสามารถทำให้การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรสำเร็จได้

Photo by Pop & Zebra on Unsplash

จากการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุจากการทำงานพบว่า สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือ unsafe condition นั้น มีส่งผลให้เกิดอันตรายได้ประมาณ 25–30% โดยสาเหตุของอุบัติเหตุจากการทำงานส่วนใหญ่นั้นมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย การปรับพฤติกรรมความปลอดภัยจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะสามารถลดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น และการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยนั้นจะทำให้แนวทางการปรับพฤติกรรมความปลอดภัย หรือ behavior base safety สามารถประสบความสำเร็จได้มากขึ้น เนื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยนั้น จะครอบคลุมไปถึงการสร้างแนวคิดและทัศนคติที่ดีของผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่อความปลอดภัยได้มากขึ้น ดังนันในปัจจุบันนี้ เรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัย จึงเป็นแนวทางที่ถูกนำมาใช้ในหลายๆองค์กร เพื่อสร้างค่านิยมให้เกิดความปลอดภัยขึ้น

แต่การสร้างหรือปรับแนวแนวคิดและทัศนคติของคนในองค์กรก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร ดังนั้นการดำเนินการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้สำเร็จได้ จะต้องอาศัยวิธีการหลายๆด้านประกอบกัน ผู้บริหารและผู้รับชอบในการดำเนินงานก็จะต้องมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้สำเร็จให้ได้ จึงขอแนะนำเทคนิควิธีการที่สามารถทำได้ และสามารถทำให้การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรสำเร็จได้ดังต่อไปนี้

1. สื่อสาร

การสื่อสารเป็นวิธีการเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยไปยังทุกคนในองค์กร โดยมีการสื่อให้ทุกคนได้รู้ถึงนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว ความสำคัญในด้านความปลอดภัย ให้เกิดความตระหนักและความสนใจในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความปลอดภัยที่จะจัดขึ้น โดยการสื่อสารควรมีอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนอกจานี้ยังสามารถใช้ช่องทางอื่นๆในการสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มของพนักงานในโรงงานได้เช่นเดียวกัน

2. จัดให้มีการฝึกอบรม

การจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และครอบคลุมประเด็นความปลอดภัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจในความปลอดภัย เกิดความตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาะจากการทำงาน ทำให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น

3. การปฎิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างจากฝ่ายบริหาร

หากฝ่ายบริหารมุ่งมั่นในเรื่องความปลอดภัย มีการนำนโยบาย และแนวทางด้านความปลอดภัยไปปฎิบัติให้พนักงานได้เห็น ก็จะเป็นการสนับสนุนให้พนักงานปฎิบัติตามเช่นเดียวกันด้วยความสมัครใจ

4. มีการส่งเสริมพฤติกรรมในเชิงบวก

ให้รางวัล หรือคำชมเชยแก่พนักงานที่รายงานอันตราย หรือหรือจุดที่เป็นความเสี่ยงในการทำงาน เมื่อพนักงานรู้สึกสบายใจในการรายงานจุดที่เป็นอันตราย และได้รับการดูแลแก้ไขด้วยความใส่ใจ ก็จะให้พนักช่วยในการสอดส่องดูแลสิ่งที่เป็นความเสี่ยงๆต่างจากการทำงาน และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นอันตรายได้

5. ให้พนักงานมีส่วนร่วม

การสร้างและรักษาวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็ง คือกระบวนการที่สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมมีส่วนร่วมในกระบวนการเริ่มตั้งแต่ต้นจนจบ

การดำเนินการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั้น อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหาร ความร่วมมือกันของทุกคนในองค์กร และการวางแผนและการดำเนินงานที่ของผู้ที่รับผิดชอบ ก็จะทำให้การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรนั้นสำเร็จได้ โดยเน้นที่ การสื่อสาร — จัดให้มีการฝึกอบรม — ปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่าง — สร้างพฤติกรรมในเชิงบวก — เน้นการมีส่วนร่วม นั้นเอง

อาจารย์ณัฐจิต อ้นเมฆ

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เอกสารอ้างอิง

Understanding safety culture. Workplace health and safety Queenland. https://www.worksafe.qld.gov.au/

Zhang, H., Wiegmann, D. A., Von Thaden, T. L., Sharma, G., & Mitchell, A. A. (2002, September). Safety culture: a concept in chaos?. In proceedings of the human factors and ergonomics society annual meeting (Vol. 46, №15, pp. 1404–1408). Sage CA: Los Angeles, CA: SAGE Publications.

Pronovost, P., & Sexton, B. (2005). Assessing safety culture: guidelines and recommendations.

--

--