Proactive VS Reactive

Proactive VS Reactive

Kanokwan Meekaew
1 min readAug 2, 2018

--

คุณเป็นคนประเภท Proactive หรือ Reactive ?

แล้วมันต่างกันอย่างไร?

จากหนังสือ The Seven Habits of Highly Effective People ซึ่งเขียนโดย Stephen R. Covey

Proactive (เริ่มทำอะไรสักอย่าง)

คือ คนที่เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ คือคนที่ ตัดสินใจเลือกตอบสนองสิ่งที่ดีที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น คนที่มีนิสัยแบบนี้ จะมีความกระตือรือร้น เป็นคน Active เป็นคนที่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร คนที่ Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ตัวเขาเองจะเป็นคนทำให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น

Reactive (รออะไรสักอย่างแล้วจึงลงมือทำ)

คือ คนที่รอให้สิ่งรอบข้าง อารมณ์ ความรู้สึกเป็นตัวควบคุมการตอบสนองตนเองและผู้อื่น มองว่าชีวิตได้ ‘ถูกกำหนด’ ไว้แล้ว แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากนี้ไม่ได้ เกิดอะไรขึ้นแล้วค่อยแก้ไข สุดท้ายมักจะลงเอยด้วยการโทษคนอื่น โทษสถานการณ์ โทษทุกอย่าง ยกเว้นตัวเอง

The Seven Habits…

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่ทุกๆอย่างที่จะทำก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้

2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind)
การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ “เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ” นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเองและเป็นการที่เราดำเนินชีวิต และตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รู้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา

3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.)
เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำสัญลักษณ์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- สำคัญมากเร่งด่วน
- สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน
- ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน
และทำตามลำดับ สิ่งที่เป็นปัญหา คือ เรื่องที่ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วนมักจะถูกแทรกแซงความสนใจเข้ามา เชื่อว่าหากเราค้นพบว่า สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น และ เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะสามารถจัดการกับเรื่องที่ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วนได้

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)
จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ ชนะ/ชนะ ก็เลื่อนการตัดสิน ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความ proactive ที่มีค่าของผู้อื่น (I’m Ok, You’re Ok.)

5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)
ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้งก่อน เพื่อลดการปะทะกันในด้านของความคิด

6. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)
เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น

7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)
ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่อุปนิสัยที่ 1–6 จะนำไปใช้ในชีวิตจริงให้ได้ประสิทธิผล เราต้องมั่นฝึกฝนอุปนิสัยต่างๆเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอถึงจะเห็นผล

ซึ่งในเรื่องนี้สามารถนำมาปรับและประยุคใช้ได้ในหลายๆเหตุการณ์ในชีวิต เช่น การทำงาน การเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน และการบริหารงานต่างๆ หากเราฝึกฝน และทำอย่างสม่ำเสมอ เราจะมีสติในการใช้ชีวิต และรู้จักตัวเองมากขึ้น

--

--

Kanokwan Meekaew

WU SWE#3 👩‍🎓 Software Engineer at RoboWealth 👩‍💻 Dev. Freelance❣️"I believe I can 💪"