BLOCKCHAIN101&FUNNY EP1

Cyber Peach
2 min readDec 2, 2018

--

ทำไมบล็อคเชนถึงเป็นเทรนด์ขึ้นมาในยุคนี้ ?

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน และนี้ก็เป็นกระทู้ให้ความรู้ครั้งที่สองของผมแล้วนะครับ คอนเทนต์นี้เป็นคอนเทนต์ที่อยากให้ทุกคนมารู้จักเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า บล็อคเชน (Blockchain) เอ๊ะๆ หลายท่านคงได้ยินกันมาบ้างแล้ว หรือหลายท่านก็พึ่งเคยได้ยิน วันนี้ผมจะมาสรุปให้เข้าใจกันแบบง่ายๆเลย และเห็นภาพ

ต้องขอเกริ่นก่อนเลยว่าใน EP นี้เพื่อความเข้าใจง่าย ผมจะไม่ลงไปในทางเทคนิคให้น่าปวดหัวมาก ผมอยากให้สนุกกับการอ่านบทความนี้มากกว่า ถ้าอยากถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามมาได้นะครับ

มาเริ่มกันเลย Lets Go !! จริงๆ บล็อคเชนมีมานานแล้วครับ มีมาตั้งแต่ปี 2014 แต่ส่วนใหญ่คนจะรู้จักกันในนามของ บิทคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิตอลนั้นเอง แต่คนส่วนใหญ่ก็จะคิดว่าบิทคอยน์คือบล็อคเชนแต่ไม่ใช่อย่างที่ท่านคิดนะครับ เพราะว่า บล็อคเชนเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของบิทคอยน์ต่างหาก ซึ่งผู้ที่คิดค้นตัวบิทคอยน์และบล็อคเชนขึ้นมาเนี้ยก็คือ ซาโตชิ นากาโมโตะ (นามแฝง)

ความสุดยอดของบล็อคเชน (จากเบื้องหลังสู่เบื้องหน้า)

ตัวเทคโนโลยีนี้ผสมหลายศาสตร์ของด้านเทคโนโลยีมากๆเลยนะ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเข้ารหัส ถอดรหัสของข้อมูล ด้านการจัดเก็บของข้อมูล ซึ่งจะให้สรุปจุดเด่นหลักๆเลยก็คือ

  1. ความปลอดภัยของข้อมูล (Secure) และมันจะปลอดภัยยังไงละ !! คำตอบ คือด้วยตัวบล็อคเชน มาจากคำว่า บล็อคที่แปลว่ากล่องถูกต่อๆกันด้วยเชน หรือโซ่ ต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งถ้าพูดถึงทางเทคนิคคือ แต่ละบล็อคจะมีฟังก์ชั่นแฮช (Hash) ในการเข้ารหัสข้อมูล + ค่าแฮชของบล็อคก่อนหน้า ซึ่งเมื่อแฮคเกอร์ที่ต้องการเข้ามาแฮคระบบ คุณก็ต้องพยายาม แฮคไปเรื่อยๆ จนถึงบล็อคแรก คุณคิดว่ามันเป็นไปได้ยากไหมละ (ฮ่าๆๆ ) นี้แหละความเจ๋งของมันละ คุณ !!

2. ความโปร่งใสของข้อมูล (Transparent) หลายคนอาจสงสัยว่ามันจะดูย้อนแย้งกับข้อบนหรือเปล่านะ แสดงว่าโปร่งใส ข้อมูลของเราก็ต้องมีคนรู้เยอะละสิ แล้วมันจะปลอดภัยจริงๆหรอ ลองมาคิดในอีกมุมหนึ่งดีกว่าครับ สมมติว่า ผมมีเงินอยู่ 10 ล้านบาท ผมไม่อยากเก็บไว้ที่ผม กลัวว่าจะทำหายอะสิ ผมเลยไปเก็บไว้ที่ธนาคาร แสดงว่ามันก็ต้องปลอดภัยแล้วละ วันดีคืนดี ถ้าอยู่ดีดีธนาคารที่ผมเอาไปฝาก เกิดเป็นเพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อเอาหละ แอบแก้ไขตัวเลขผมขึ้นมา ผมจะรู้ได้ไงอะ จบเลยนะ

แต่พอมาเป็นเทคโนโลยีบล็อคเชน คราวนี้ ข้อมูลของเราจะมีคนรับรู้มากขึ้นแล้วมันจะทำให้เรามั่นใจมากขึ้น เอาง่ายๆ เหมือนเรามีสักขีพยาน ทำสัญญาอะไรก็แล้วแต่ เราก็จะรู้สึกอุ่นใจขึ้นใช่ไหม หละ ผมจะลองยกตัวอย่างง่ายๆละกัน

มีหมู่บ้าน หมู่บ้านนึงชื่อหมู่บ้านหลากสี มีเจ้าชมพู เจ้าน้ำเงิน เจ้าส้ม และเจ้าฟ้า

เจ้าชมพูต้องการโอนเงินให้เจ้าน้ำเงิน 10 บาท ด้วยความที่ว่าที่นี่เป็นหมู่บ้าน ทำให้ทุกคนที่อยู่หมู่บ้านหลากสีนี้ รับรู้ถึงกันได้ ซึ่งจะถูกจดไว้ในศิลาจาลึก(public ledger) ของแต่ละคน ว่าเจ้าชมพูมีการโอนเงินให้เจ้าน้ำเงินจริงๆนะ เกิดอะไรขึ้นเกิดความโปร่งใสของข้อมูลแล้วหละ คอนเซปต์ง่ายๆเลย แต่ว่าคนในหมู่บ้านไม่สามารถทราบได้นะว่า แต่ละคนมีจำนวนเงินเท่าไหร่ เรารู้แค่ว่า ใครโอนไปหาใคร (Transaction) จำนวนเท่าไหร่

แล้วถ้าสมมติ อยู่ดีดี เจ้าน้ำเงินอยากเลวขึ้นมาหละ 555 ขอโกงหน่อยละกันเจ้าชมพูแกโอนมาให้ฉัน 50 บาทต่างหาก ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นหละครับ

คนอื่น ก็ไม่ได้รับรู้ว่า เจ้าชมพูโอนเงินให้เจ้าน้ำเงิน 50 บาทจริงๆ เพราะข้อมูลของทุกคนตอนนี้อยู่ที่ 10 บาท คุณเห็นความสามารถพิเศษ ของบล็อคเชนหรือยัง (ฮ่าๆๆ)

3. การกระจายข้อมูล (Distributed System) ถ้าจะให้พูดเชิงเทคนิคสักนิดนึงหละก็ .. การจัดเก็บข้อมูลที่เราคุ้นชินกันไม่มากก็น้อยเนี้ย ก็คือการจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลาง หรือเก็บไว้เพียงอันเดียวนี้แหละ ทุกคนคงรู้จักเว็บไซต์ เวลาเข้าไปดูข้อมูลบนเว็บไซต์นั้นเนี้ย ข้อมูลพวกนั้นก็จะมีที่จัดเก็บของมันอยู่ ที่ภาษาเทคนิคเขาเรียกว่า (Database) นั้นแหละ แต่มันเกิดปัญหาอะไรขึ้นหละ เคยเข้าเว็บลงทะเบียน เว็บจองบัตรคอน แล้วอยู่ดีดี เว็บก็ล่มมั้ย 555 นั้นแหละ ถ้ามีคนเข้ามาใช้เว็บเป็นจำนวนแสนคนในเวลาเดียวกัน คุณคิดว่า ข้อมูลที่เก็บอยู่ในที่เดียวมันจะล่มมั้ย?? ล่มสิครับ !!

มันก็เลยเกิดวิธีที่มาแก้ปัญหานี้ขึ้น ที่เขาเรียกกันว่าระบบการกระจายข้อมูล ที่สามารถลิงค์ไปในหลายๆที่ ได้ แถมเมื่อมีตัวไหนพังไป มันก็ยังสามารถไปเชื่อมกับเครื่องอื่นได้อยู่ โคตรคูล

เดี่ยวจะอ่านแล้วง่วง กันและ เลยขอจบ EP นี้ไปก่อนแล้วกัน EP 2 จะมาดูกันว่าเขาเอาบล็อคเชนมาประยุกต์ใช้กับงานอะไรได้บ้าง ถ้าเขียนข้อมูลอะไรผิดไปก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะจ้ะ ฝาก clap กันหน่อยเด้อออ

by — Cyber Peach —

--

--