Facebook Video ไม่ควรวัดที่ยอดวิวอย่างเดียว

Chanida Phutthiwachananon
2 min readJun 20, 2017

--

จริงอยู่ที่ “Views” สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความน่าสนใจของวีดีโอนั้นๆ ได้ แต่…ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ความจริงแล้วยังมีตัวชี้วัดของ Facebook Video อีกหลายจุดที่อยากให้สังเกต แล้วนำมาวิเคราะห์ว่า “คนดู” เหล่านั้น ให้ความน่าสนใจของวีดีโอ “จริงๆ” หรือเปล่า หรือวีดีโอเหล่านั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่

  1. “Video Views” ดูแล้ว แต่ดูจากไหน ใครตอบได้บ้าง

Video Views แบ่งเป็น 2 แบบคือ Page Owned (ผู้ชมที่กดเล่นจากบนเพจ หรือหน้าที่อัพโหลดไว้โดยตรง) และ Shared (ผู้ชมที่ถูกกดเล่นจากการแชร์ออกไป)

ตัวเลขนี้บอกอะไร?: เมื่อเราอัพโหลดวีดีโอขึ้นเพจ สิ่งหนึ่งที่เราคาดหวังจากการอัพโหลดครั้งนี้คือ “ผู้ชม/ผู้ดู” แต่เมื่อใดที่ให้ผู้ชมเหล่านั้นเกิดความสนใจ และอยากบอกต่อด้วยการแชร์ออกไป ก็จะมีผู้ชมที่เกิดขึ้นจากการแชร์เหล่านั้นเพิ่มขึ้นมา

หากทั้งหมดที่ถูกเล่นบน Page Owned มากเท่าไหร อาจจะตอบได้ว่า บุคคลที่เข้ามาหรือติดตามเพจของเรานั้น เป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่เราคาดหวังไว้ เช่น วีดีโอที่พูดถึงเรื่องกรมธรรม์และขายประกันรถยนต์ หากมีจำนวน Page Owned มากเท่าไหร ก็พอจะตอบได้ว่า กลุ่มคนที่ติดตามเพจเรานั้น เป็นกลุ่มคนที่สนใจด้านประกันรถยนต์เช่นกัน เมื่อกลุ่มคนเหล่านั้นมีความชื่นชอบและแชร์วีดีโอออกไป เราก็สามารถเพิ่มผู้ชม รวมถึงเป็นการสร้าง Brand Awareness ให้กับกลุ่มที่เคยไม่เคยรู้จักแบรนด์เรามาก่อนได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น เราควรให้ความสำคัญกับตัวเลขทั้ง Page Owned และ Shared

2. Sound on/ Sound Off ขณะเล่นเปิดหรือปิดเสียงวีดีโอ

ตัวเลขนี้บอกอะไร?: ต้องดูด้วยว่าแต่ละวีดีโอนั้น เป็นคำพูด/คำพากย์ หรือเสียงเพลง ยกตัวอย่างเช่น เนื้อเรื่องของวีดีโอหนึ่ง มีเสียงพากย์ที่บอกเล่าเรื่องราวของวีดีโอนั้นๆ (ว่าง่ายๆคือ ถ้าไม่ฟังเสียงจะไม่รู้เรื่องนั้นละ) แต่กลับมีจำนวน Sound off มากกว่า Sound on แปลว่าคนที่เข้าดูวีดีโอนั้นๆ ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะอยากรู้อยากเห็นสักเท่าไหรนัก แต่ต้องนำไปประกอบกับค่าอื่นๆ ด้วย

3. Auto-Play or Click-to-Play: เล่นออโต้แล้วยังไง คลิกเล่นเองดีกว่าไหม

ตัวเลขนี้บอกอะไร?: เป็นเรื่องที่หลายคนทราบว่าปัจจุบัน Facebook ได้ปรับปรุงให้วีดีโอที่แสดงผลอยู่หน้า Feed หรือเมนูวีดีโอเล่นเองโดยอัตโนมัติ (แต่ก็ตั้งค่าปิดได้ที่ Settings =>Auto Play => Never Autoplay Videos)

ในทางกลับกัน นั่นก็หมายความว่ายอด Video Views ทั้งหมดที่แสดงผลอยู่นั่น อาจจะไม่ใช่ยอดดูที่ “ตั้งใจเข้า” มาจริงๆก็ได้ เพียงแต่มันดันเล่นแบบอัตโนมัติไปแล้วนั่นเอง

เพราะฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าจำนวนที่สนใจวีดีเราจริงๆ เราอาจจะวัดได้จากยอด “Click-to-Play” ซึ่งเป็นยอด “คลิกจริง/ตั้งใจคลิก” เข้ามาดูวีดีโอของเรา ยิ่งสูงเท่าไหรยิ่งดี

แล้วจะทำยังไงให้ยอด Click-to-Play สูง?
- Video Thumbnail ที่ดึงดูให้คลิกดู
- Description ของวีดีโอนั้นๆ

4. Top Audience/Top Location: เพศ/อายุ/พื้นทีที่ให้ความสนใจในวีดีโอนั้นๆ

ตัวเลขนี้บอกอะไร?: ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในหลายๆ อย่างมาก เช่น เพศ อายุหรือพื้นที่ส่วนใหญ่ที่สนใจวีดีโอนั้นๆ เราอาจจะแยกประเภทของวีดีโอ และแยกกลุ่มเป้าหมายออกมา เช่น วีดีโอที่เกี่ยวข้องกับ Brand หรือขายของโดยตรง จำนวนผู้ที่สนใจคือ เพศชาย/อายุ 25–34/พื้นที่กรุงเทพ หรือวีดีโอที่เกี่ยวกับ CSR จำนวนผู้ที่สนใจคือ เพศหญิง/อายุ 25–34/พื้นที่กรุงเทพ เป็นต้น

และเมื่อเราต้องการเพิ่มยอดด้วยการลงโฆษณา ก็ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายและยิงตรงไปยังกลุ่ม Top เหล่านี้มากกว่ากลุ่มอื่น แล้วลองมาวัดผลอีกครั้ง

— — — — — — — — — — — — — — — — — — — — -

ค่าต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ไม่สามารถใช้ข้อใดข้อหนึ่งในการวัดผลที่แม่นยำได้ทันที อาจจะต้องนำทั้ง 4ข้อ หรืออีกหลายๆ ปัจจัยมาวัดอีกครั้งว่าวีดีโอนั้นตรงกับจุดประสงค์ที่เราตั้งไว้ตั้งแต่ต้นหรือไม่

--

--

Chanida Phutthiwachananon

อดีตเคยเป็น HR ผันตัวมาเป็น Digital & Social Media ตั้งแต่ปี 2013 | ชอบทุกอย่างที่วัดผลได้ | ปัจจุบันทำอยู่ Retail Business