Crucial Conversation แบบคนพูดไม่ค่อยเก่ง (แต่รักหมดใจ) Part 1

Pongpipat Kawlerk
2 min readMay 13, 2019

--

ตอนทำงานเราใหม่ ๆ คือเคยเจอปัญหาคือ ไม่มีความมั่นใจ และ กลัวที่ต้องคุยกับผู้ใหญ่ ในเรื่องที่สำคัญ ๆ เราต้องวางตัวแบบไหน

แล้วท้ายที่สุดคือ เรามีทางเลือกแค่

1. เราพูดไปตรง ๆ เลย (แต่คนฟังจะเกลียดสิ่งที่เราพูดรึเปล่า ?)

2. อยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ แล้วปล่อยมันไป ผลที่ตามมาคือ เรากลายเป็นคนที่ต้องทนกับผลลัพธ์ที่ตามมาซะงั้น แม้เราจะไม่ได้ทำอะไรเลยก็ตาม

ครั้นพอเราลองมา พูดทุกอย่างมันก็น่าอึดอัด บางครั้งก็พูดไม่ออก เพราะเรากลัว

ปัจจัย 3 อย่างที่ทำให้เกิด Crucial Conversation

เราสามารถสังเกตได้ ถ้าการคุยนั้นประกอบไปด้วย

1. ความเห็นสวนทางกัน

2. เรามีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์ หรือ หัวข้อนั้นสูง (พูดง่ายคือ อินเนอร์ เยอะ)

3. ผลลัพธ์ที่ตามมา มันมีผลกับเรามว๊ากกกกกก (ก. ไก่ ประมาณพันตัว)

พอ 3 อย่างมารวมกันก็ ตู้มมมมม !! เกิดเป็น Crucial Conversation ที่กลายการพูดคุยรู้สึกเครียด และยากลำบากในการคุย เพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ออกมา

ถ้าลองมานั่งนึก ๆ ดู เหตุการณ์พวก ประชุมทีมแล้วหาข้อตกลง เขม่นกับเพื่อน ทะเลาะกับที่บ้าน บอกเลิกกับแฟน เหตุการณ์เหล่านี้มันทำให้เกิด Crucial Conversation ทั้งนั้น แล้วก็มีทางเลือกเพียงแค่ไม่กี่อย่าง ที่จะต่อกรกับเหตุการณ์เหล่านี้

- เดินหนี หลีกเลี่ยง ไม่ปะทะ อะไรใด ๆ ทั้งนั้น

- เราเลือกที่จะพูด แต่เรารับมือความอึดอัดเหล่านั้นได้ไม่ดี

- เราเลือกที่จะพูด และเรารับมือความอึดอัดเหล่านั้นได้ดีด้วย

พูดกันตามตรง คือ ใคร ๆ ก็อยากจะทำได้แบบข้อสุดท้าย (คนเขียนก็เช่นกัน)

แต่ทว่า……. มันไม่ง่ายเนี่ยดิ

ก่อนอื่นเลยคือ พอเราโดดเข้าไปอยู่ใน Crucial Conversation เราอึดอัด เราเครียด เราทำตัวไม่ถูก แล้วเมื่อเราอยู่ในสภาพแบบนั้น ถ้าให้ถาม-ตอบกับตัวเองด้วยความสัตย์จริง คิดว่าการกระทำ-แสดงออกจากเราในสภาพนั้น มันออกมาดีที่สุดแล้วไหมอะ (คนเขียนยอมรับเลยว่าไม่ 55) ถ้าอิงจากหนังสือเลยคือ When it matters most, We do our worst

พอเราเข้าใจความอึดอัด แล้วปัญหาต่อมาคือ พอเล่าอยากที่จะพูดแล้ว เราดันไปสร้าง ทางเลือกมัดมือชก (Fool’s choice) ขึ้นมา

ตัวอย่างเช่น เพื่อนยืมเงินเราไปแล้วเราต้องการเงินคืน ทันใดนั้นเราได้สร้าง ทางเลือกมัดมือชก นั่นคือ

1. ถ้าเราไปทวงเงิน เพื่อนตรง ๆ กลายเป็นว่า เราไม่ให้เกิยรติ เราไม่ไว้ใจ เรางก เราเห็นคุณค่าเงินมากกว่าเพื่อน

2. แต่ถ้าไม่ทวง แล้วเมื่อไหร่ จะได้เงินคืน คนก็ต้องกินต้องใช้

กลายเป็นว่าเราต้องมาเลือกหรอ ระหว่าง การเลือกที่จะทวงเงิน เปิดเผยจริงใจ กับ การไม่พูดตรง ๆ เพื่อที่จะรักษาน้ำใจ ซึ่งมันน่าอึดอัดทั้งคู่ แล้วฉันเลือกอะไรได้ไหม (เลือกที่จะไม่ไปได้รึเปล่า ?)

ข่าวดีคือเราสามารถหลีกเลี่ยง การสร้าง ทางเลือกมัดมือชก ได้โดยใช้ Dialouge (ไดอะล็อก)

ความสัมพันธ์ระหว่าง ทางเลือกมัดมือชก, Dialouge และ สร้างความเข้าใจร่วมกัน

Dialouge คือ การที่ความคิด ความเห็นของคน 2 คนหรือมากกว่า ได้ถูกส่งผ่านออกมา อย่างลื่นไหล

ทำไมต้องลื่นไหลด้วยหว่า บางคนอาจจะสงสัย

ก่อนอื่นทุกครั้งที่เราเริ่มเปิดปากพูด แต่ละคนมีความเห็น ความรู้สึก หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นส่วนสำคัญอีกอย่างคือ การ สร้างความเข้าใจร่วมกัน (Pool of shared meaning)

คนที่เก่งในการใช้ Dialouge สิ่งนึงที่เขามักจะทำอยู่เสมอคือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้คนที่อยู่ใน Dialouge นั้นรู้สึกปลอดภัยและสะดวกใจ ที่จะพูด/แสดงความเห็นออกมา แม้ว่าสิ่งที่สื่อออกมามันจะขัดใจ/ไม่เห็นด้วย แต่อย่างน้อยเรามั่นใจได้ว่า ความคิดที่อยู่ในวงได้แสดงออกมา และเราได้รับรู้

การ สร้างความเข้าใจร่วมกัน ≠ การหาข้อสรุปในการตัดสินใจ นะครับ

เมื่อใช้ Dialouge + สร้างความเข้าใจร่วมกัน มากขึ้น เราจะได้ประโยชน์ คือ

- เราได้ข้อมูลที่ชัดเจน และ ตรงจุด ในการตัดสินใจ

- การตัดสินใจมีคุณภาพขึ้น คนเข้าใจและเต็มใจช่วย

แล้วเราจะสร้าง Dialouge ยังไงดี ? (ไว้เขียน Part หน้าละกัน)

To be continue… (Edited มาเพิ่ม link Part 2 ฮะ)

Ref : Crucial Conversations by Al Switzler, Ron McMillan, Joseph Grenny, Kerry Patterson

--

--

Pongpipat Kawlerk

YOLOer, who love playing games,critics things and breaking stuff