การทดสอบ Indirect antiglobulin test ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประมูล อรุณจรัส มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU การทดสอบ IAT มีความแตกต่างจากการทดสอบ DAT โดยปฏิกิริยาจาก IAT จะเกิดในหลอดทดลอง ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการตรวจ antibody screening โดยเอา serum หรือ plasma ของ ผู้รับเลือดมาทดสอบกับเซลล์เม็ดเลือดแดง O1 และ O2 ที่ครอบคลุมหลากหลายแอนติเจนสำคัญ ๆ ของหมู่เลือดอื่นที่ไม่ใช่ ABO นอกจากนี้ การทดสอบ IAT ยังใช้ในการตรวจการตรวจความเข้ากันได้ของหมู่โลหิต (crossmatching หรือ compatibility testing) การตรวจชนิดของแอนติเจนบนผิวของเม็ดโลหิตแดง (red cell antigen typing) ตรวจหาสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยาหลังการได้รับเลือด โดยเฉพาะปฏิกิริยาที่เป็นแบบ delayed type transfusion…

การทดสอบ Indirect antiglobulin test
การทดสอบ Indirect antiglobulin test

การตรวจแอนติโกลบูลินในเชิงวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประมูล อรุณจรัส มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU เราเคยสงสัยหรือบางครั้งได้ยินเพื่อนบางคนเคยพูดถึงว่าตนเองป่วยด้วยเม็ดเลือดแดงแตกอันเนื่องมาจากมีภูมิคุ้มกันต่อเม็ดเลือดแดงของตนเอง หรือบางครั้งอาจจดูละครแล้วมีฉากที่หมอกล่าวถึงการรักษาลูกในท้องกรณีที่มีภูมิคุ้มกันของแม่ไปทำให้เม็ดเลือดแดงของลูกแตก ต้องทำการรักษา หรือแม้แต่นักเทคนิคการแพทย์ทำการตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นหมู่เลือด Rh(D) negative หรือตรวจกรองแอนติบอดี (antibody screening) ของคนไข้ที่ต้องรับเลือด เพื่อหาเลือดมาตรวจความเข้ากันได้ (compatibility testing) เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเกิดมาจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันระหว่างแอนติบอดีกับแอนติเจนนั่นเอง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าปฏิกิริยาที่กล่าวมานั้นคือปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันที่แท้จริง…

การตรวจแอนติโกลบูลินในเชิงวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต
การตรวจแอนติโกลบูลินในเชิงวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทนพ. ประมูล อรุณจรัส ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ของร่างกายประกอบด้วยการป้องกัน 3 ด่าน โดย 2 ด่านแรกจัดเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบที่มีมาแต่กำเนิด (innate immunity) ได้แก่ การป้องกันทางกายภาพและสารเคมี และการป้องกันจากเซลล์ โดย 2 ด่านแรกเป็นการตอบสนองแบบไม่จำเพาะ (non-specific immune response) แต่ทันท่วงที ขณะที่ด่านที่ 3 เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะอันเนื่องมาจากการพัฒนาขึ้นภายหลัง (adaptive หรือ acquired immune response) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันโดยเซลล์ (cell-mediated immunity; CMI) และระบบภูมิคุ้มกันสารน้ำ (humoral-mediated immunity; HMI)…

ร่างกายของเราสร้างแอนติบอดีได้อย่างไร
ร่างกายของเราสร้างแอนติบอดีได้อย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทนพ. ประมูล อรุณจรัส ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา #BSRU การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่มักก่อประโยชน์กับร่างกายในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค หรือแม้แต่สารพิษออกจากร่างกาย แต่ในบางเหตุการณ์อาจไม่ตรงไปตรงมาเสมอไป ดังเช่นกรณีที่จะนำเสนอคือ การเกิดเม็ดเลือดแดงแตกของฟีตัสและทารกแรกคลอดหรือ hemolytic disease of fetus and newborn (HDFN) ที่เกิดจากหมู่เลือด Rh (หรือ Rh-HDFN) ซึ่งมักก่อให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรุนแรงในฟีตัสและทารกแรกคลอด จนอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ อัตราการเกิด Rh-HDFN ประมาณ 3–8 รายต่อประชากร 100,000 คน โดยร้อยละ 1 ของ Rh-HDFN เป็นอัตราการเสียชีวิตของทารก[1] อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการเกิด Rh-HDFN พบปริมาณมากกับคนผิวขาว (Caucasians) ซึ่งมีหมู่เลือด Rh(D) negative ประมาณร้อยละ 15 ขณะที่ชาวผิวดำ ชาวเอเชีย…

โรคเม็ดเลือดแดงของฟีตัสและทารกแรกคลอดแตกทำลายจากหมู่เลือด อาร์ เอช
โรคเม็ดเลือดแดงของฟีตัสและทารกแรกคลอดแตกทำลายจากหมู่เลือด อาร์ เอช