กล้าเปราะบางเพื่อสร้างความไว้วางใจ Vulnerability Based Trust

Praweena Sriprayoonsakul
2 min readMar 7, 2020

--

เมื่อปีที่แล้วได้ไปเรียนคลาสอันหนึ่งชื่อว่า Seneca ฟังจากชื่อไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรและจะสอนเรื่องอะไร รู้แต่ว่าเกี่ยวกับ Culture ใหม่และนายๆ ทุกคนไปเรียนจ้า เราในฐานะ Agile Coach ก็เลยสมัครใจไปเรียนดูบ้าง ไม่กล่าวเนื้อหาทั้งหมดของคลาสนะ แต่อยากจะเล่าส่วนหนึ่งที่เราเพิ่งเข้าใจมากขึ้นและจำไม่ลืมเลย นั่นคือ Vulnerability Based Trust

ในคลาสจัดให้เราแบ่งเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละประมาณ 8 คน มี facilitators 2 คน ให้ทุกคนนั่งล้อมวงรวมทั้ง facilitators ด้วย จากนั้นก็ให้ทุกคนจับสลากเบอร์ของตัวเอง เราได้เบอร์ 29 เบอร์แต่ละอันคือคำถามที่แต่ละคนจะต้องแชร์กับกลุ่ม คำถามมาจาก 36 questions — how to fall in love

เมื่อทุกคนได้เบอร์เรียบร้อย facilitator คนแรกจะเริ่มก่อน คนแรกเล่าเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับครอบครัวของเขา ทุกคนเงียบตั้งใจฟัง พอเขาเล่าจบ บางคนในกลุ่มเข้าไปปลอบใจโดยการตบไหล่, Facilitator คนที่สองเล่าเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเอง (ตอนนี้เริ่มจะมีน้ำตา) พอจบหลายคนเข้าไปโอบกอดเขา คราวนี้มาถึงตัวเราที่เป็นคนที่สาม เราได้ทราบคำถาม เบอร์ 29 คือ

ตอนนั้นไม่รู้เพราะอะไร เราเล่าไปได้นิดเดียวก็ร้องไห้เลย พอเราเล่าจบหลายคนก็ร้องไห้ตาม ทุกคนปลอบใจกัน จากนั้นทุกคนก็เล่าเรื่องของตัวเองตามคำถามที่ได้ บางคนเล่าเรื่องที่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังเลย ตัวเราเองฟังเรื่องของคนอื่นก็รู้สึกว่าเข้าใจความรู้สึกตอนนั้นของเขา

หลังจากคลาสจบเราถึงเริ่มเข้าใจว่า เวลาเราฟังเรื่องของคนอื่น เราก็กลับมาคิดถึงตัวเรา – introspection ทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น

จบกิจกรรมทุกคนไปกินข้าวกลางวันด้วยกันช่วงพักเที่ยง เราเองรู้สึกว่าสนิทและไว้ใจคนในกลุ่มเหมือนรู้จักกันมานานเป็นอย่างดี อันนี้เองคือ Vulnerability based trust หรือ Building Trust on Empathy (สร้างความไว้ใจจากการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น) โดยการเล่าเรื่องของตัวเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องที่เราไม่เคยเล่าให้ใครฟัง

การแสดงความเปราะบางออกมา บางทีก็ทำให้พวกเราเข้าใจและเชื่อใจกันมากขึ้น

คราวนี้ถึงเวลาเอามาประยุกต์ใช้กับงานละ เร็วๆ นี้มีทีมที่เรารู้สึกว่าแต่ละคนก็อยากจะเข้าใจกัน อยากจะพูดคุยกันในเรื่องการทำงานด้วยกันเป็นทีม แต่การพูดคุยกันตรงๆ อาจเป็นเรื่องใหม่ของใครหลายคน บวกกับไม่แน่ใจว่าพูดไปแล้วอีกฝ่ายจะตอบรับมายังไง ในฐานะของ Agile Coach เห็นๆ แล้วว่ามีหลายคนอยากจะคุย เลยเปิดโอกาสใน retrospective อันนึงให้ทีมคุยกัน ถามว่าแน่ใจไหมว่าผลจะออกมาเป็นความเข้าใจกัน คำตอบคือไม่แน่ใจนัก ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ว่ามันน่าจะถึงเวลาจากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง

  • Set theme เป็น focus on feeling > logic
  • ให้แต่ละคนเขียนสิ่งที่ตัวเองอยากพูดลงใน PostIT
  • Coaches ถอยออกมา facilitate อยู่รอบนอกให้ทีมล้อมวงแชร์กัน
  • ได้แบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับการเข้าใจกันกับบางคนในทีมก่อนทำ retrospective บ้าง
  • จบด้วยการให้ทุกคนกล่าวคำขอบคุณที่แชร์กัน

พอจบทีมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้าง Trust ผ่านทางการให้ constructive feedback แชร์ความรู้สึก พฤติกรรมที่เห็นและพูดคุยปรับความเข้าใจกัน

Retrospective นี้ได้แรงบันดาลใจมาจากกิจกรรมด้านบนใน Seneca และการไปฟัง podcast 8 1/2 ที่แชร์ว่าคนไม่ได้ตัดสินใจจาก logic เสมอไป เราตัดสินใจจาก feeling ด้วย ชอบ quote ที่กล่าวไว้ว่า When you demand logic, you destroy magic มากๆ เพราะทีมพยายามคุยกันแต่แรกด้วยเหตุผลหลายครั้งแต่ก็ไม่เข้าใจกันซักที สุดท้ายพอเปิดแชร์ความรู้สึกกัน มันดีกว่ามาก

All Sketchnotes in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

Credit:

  • WeAreExxonMobil สำหรับคลาส Seneca
  • คำถามดีๆ จาก http://36questionsinlove.com
  • Podcast 8 บรรทัดครึ่ง สำหรับ quote และ idea ถึงจะมาจากหัวข้อทาง innovation แต่เราก็เอามา innovate ให้เกิดประโยชน์ได้
  • บทความ Super Solar Enlightenment ของแอร์หมี
  • ขอบคุณคุณจั๊ว ODDS ที่แชร์วิธีเขียน Blog และแนะนำให้มาลงบทความ
  • ขอบคุณทีมที่ให้ประสบการณ์เราในครั้งนี้

--

--