The Penthouse ซีรีส์สะท้อนบทเรียน “ครอบครัว”

Preeyaporn Suebsawat
2 min readAug 16, 2022

--

บทนํา
ครอบครัว หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันซึ่งอาจมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด อันประกอบด้วยบุคคลที่แต่งงานกัน บุตรผู้เป็นทายาท ปู่ย่า ตายายผู้มีอุปการะ และบุคคลอื่นที่มารวมอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ถูกสานสัมพันธ์ด้วยความรัก ความห่วงใย และบทบาทหน้าที่เพื่อการดํารงอยู่ของครอบครัว

ครอบครัวเป็นสถาบันหนึ่งในสังคมที่ประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาอยู่ร่วมกันในครัวเรือนเดียวกันในฐานะสามีภรรยาพ่อแม่พี่น้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยการสมรส การสืบสายโลหิตหรือการยอมรับตามกฎหมาย มีการตัดสินใจร่วมกันมีการรับรู้ความทุกข์สุข มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรมต่างๆเพื่อการดํารงอยู่ในสังคมต่อไป
The Penthouse คือ ซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงปลายปี 2020 เล่าถึงเรื่องราวของ 5 ครอบครัวในตึก “เฮร่าพาเลส” เพนต์เฮาส์ 100 ชั้นในย่านคังนัม สังคมเล็กๆ ที่มีการชิงดีชิงเด่นแก่งแย่งการเป็นที่ 1 ในทุก ๆ ด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตที่สมบูรณ์แบบไร้รอยขีดข่วน และปัญหาเด่นชัดที่สุดในเรื่องคงหนีไม่พ้น “การเลี้ยงดู” ของพ่อแม่ในแต่ละครอบครัว ที่มีทั้งการบังคับควบคุมมากจนเกินไป และการตามใจปกป้องลูกมากจนเกินไป ที่ยังคงพบเห็นได้ในสังคมครอบครัวทั่วไป

ความสําคัญของสถาบันครอบครัว
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สุดและมีความสําคัญยิ่งของสังคม เพราะสถาบันขั้นมูลฐานที่เป็นจุดเริ่มต้น ของสถาบันทั้งหลาย ในสมัยก่อนนั้นสถาบันครอบครัวทําหน้าที่เป็นทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันการ ปกครอง ฯลฯ หรืออธิบายได้ว่า สถาบันครอบครัวทําหน้าที่ให้การศึกษาและความรู้ นอกจากนี้ยังทําหน้าที่ในด้านเศรษฐกิจ และ ปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนสมาชิกของ
ครอบครัวให้เป็นพลเมือง แต่ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาและสถาบันเศรษฐกิจได้ เข้ามามีบทบาทปฏิบัติหน้าที่แทนสถาบันครอบครัวในด้านการให้การศึกษาแก่สมาชิกของสังคม และผลิตเครื่องอุปโภคและบริโภคขึ้นจําหน่ายแก่สมาชิกในสังคมบทบาทในด้านดังกล่าวของสถาบันครอบครัวจึงลดลงไป ดังที่ William F.Ogburn อ้างถึงใน ศิริรัตน์ แอดสกุล กล่าวว่า ครอบครัวต้องมีหน้าที่ ประกอบด้วย การผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม (Reproduction) การดูแลและปกป้องสมาชิก (Protection) การอบรมหรือการขัดเกลาทางสังคมแก่สมาชิก

ในครอบครัว (Socialization) การกําหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ (Regulation of Sexual Behavior) การให้ความรักความเป็นมิตรแก่สมาชิกในครอบครัว (Affection and Companionship) และหน้าที่ในการให้สถานภาพทางสังคมแก่สมาชิก (Provision of Social Status) Burgess กับ Locke อ้างถึงใน สุพัตรา สุภาพ [7] กล่าวถึง ความหมายของครอบครัวว่า ครอบครัวต้องประกอบด้วยลักษณะสําคัญ 4 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ของบุคคลที่มาอาศัยอยู่ด้วยกัน ลักษณะความสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการสมรส เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา และความผูกพันกันทางสายโลหิต รวมทั้งการรับบุคคลเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่กับลูก และ/หรือบุตรบุญธรรม
2. การอยู่อาศัย บุคคลที่เข้ามามีความสัมพันธ์เป็นครอบครัว จะมีทั้งการอยู่อาศัยภายในครัวเรือนเดียวกันหรือการแยกครัวเรือนออกไปอยู่โดยลําพังภายหลังจากการสมรสหรือการประกอบอาชีพ
3. การติดต่อสื่อสารกันภายในครอบครัว การที่บุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกของครอบครัว จะต้องมีการให้ความสําคัญกับระบบการติดต่อสื่อสารที่มีความเฉพาะของแต่ละครอบครัว เช่น ภาษาพูดที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ภาษาท่าทาง สัญลักษณ์ที่สมาชิกในครอบครัวตกลงและรับรู้ร่วมกัน โดยสมาชิกในครอบครัวจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. การถ่ายทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม สมาชิกในครอบครัวจะต้องมีการถ่ายทอด ปลูกฝังแบบอย่างการปฏิบัติตน แนวทางการดําเนินชีวิตที่ดี การถ่ายทอดแบบแผนทางวัฒนธรรม ค่านิยม เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดีของสมาชิกในครอบครัวและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

บทเรียนครอบครัวจาก The Penthouse
The Penthouse คือ ซีรีส์ที่เล่าเรื่องการต่อสู้ และชนชั้นของคนในสังคมยุคใหม่ ผ่านการเดินทางของแม่ 3 คน ที่แข่งขันกันด้วยความโลภและแรงปรารถนาเป็นแรงผลักดัน ในสถานที่หลักของเรื่องคือ “เฮร่าพาเลส” เพนต์เฮาส์สุดหรูสูง 100 ชั้น ตั้งอยู่ในย่านที่มั่งมีที่สุดของโซล มีแต่ผู้อยู่อาศัยที่ร่ํารวยที่สุดเท่านั้น แม้ว่าแม่ทั้งสามจะมีแรงจูงใจต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายเดียวที่ต้องการคือ การได้ยกระดับชีวิตของตัวเองขึ้นไป
และลูกๆ ได้สุขสบายซึ่ง 5 ครอบครัวในซีรีส์นั้น แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสัมพันธ์แต่มีจุดร่วมการถ่ายทอดแบบแผนทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน เช่น ครอบครัวของ “ชอนซอจิน” เป็นตัวอย่างครอบครัวที่ผลิตซ้ําความเลวร้ายในการเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian Parenting Style) ส่งต่อความเลวร้ายแบบรุ่นต่อรุ่นอย่าง
แท้จริง เช่น การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด ลดเวลานอน เพิ่มการพัฒนาเพื่อเอาชนะผู้อื่นๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งน้องสาวในสายเลือด การโดนเปรียบเทียบระหว่างพี่น้อง ฝังความคิดการเป็นที่ 1 ในทุกด้านและการต้องมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบครอบครัวของโรนา เจนนี่ และมินฮยอก เป็นครอบครัวที่เลี้ยงดูมาแบบตามใจ (Permissive Parenting Style) โรนาจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่อย่าง ยุนฮีจึงยึดหลักทุกวิถีทางเพื่ออนาคตที่ดีของลูก
เธอ ยอมและตามใจลูกไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ขวนขวายทุกอย่างเพื่อให้ลูกได้อยู่ในเฮร่าพาเลส ขณะที่โรนายึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในความสัมพันธ์ของเธอกับแม่ เพราะรู้ว่าแม่ตามใจและทําตามที่เธอต้องการ ซึ่งเห็นได้ว่า หากเกิดเรื่องอะไรขึ้น โรนามักเป็นฝ่ายโทษแม่อย่างหนักและทําตัวได้น่าโมโหที่สุดในกลุ่มเด็ก แม้ยุนฮีจะเอาใจ
ใส่โรนาอย่างดีแต่การที่เลี้ยงดูอย่างตามใจ และการไม่เปิดอกคุยอย่างจริงใจทําให้ลูกของเธอยิ่งเตลิดไปใหญ่ เช่นเดียวกับครอบครัวของเจนนี่และมินฮยอก ทั้งคู่ล้วนนิสัยเสีย เอาแต่ใจ ไม่เห็นใจคนอื่นเพราะมีครอบครัวคอยประเคนให้ทุกอย่าง คอยปกป้องราวกับไข่ในหินแม้จะเรียนไม่เก่ง ความสามารถไม่ถึง แต่พวกเขาสามารถไปถึงฝันได้อย่างไม่ต้องลงแรง เพราะรู้ว่าพ่อแม่จะกองเงิน กองทองเป็นสินบนให้เหยียบขึ้นไปคว้าฝันมาได้หนึ่งในปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ คือ การอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง Diana Baumrind (1971) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบิร์คลีย์เป็นผู้หนึ่งที่สนใจศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูอย่างจริงจัง Baumrind ได้เสนอมิติ
สําคัญในการอธิบายพฤติกรรมของบิดามารดาในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่า ประกอบด้วย 2 มิติ คือ
1. มิติควบคุมหรือเรียกร้องจากบิดามารดา
2. มิติการตอบสนองความรู้สึกเด็ก
จากการผสมผสาน 2 มิติ ทําให้Baumrind จัดรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเป็น 3 รูปแบบ คือ 1)
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (ควบคุมและตอบสนองความรู้สึกเด็ก) 2) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (ควบคุมแต่ไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) และ 3) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (ไม่ควบคุมแต่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) ต่อมา Maccoby and Martin (1983) ได้เพิ่มเติมรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบที่ 4
คือ 4) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (ไม่ควบคุมและไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) จากการประมวลงานวิจัยทั้งในและนอกประเทศพบสอดคล้องกันว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีประสิทธิภาพสามารถหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้มีความสามารถในการปรับตัว มีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม มีความสามารถในการกํากับตนเอง และมีความฉลาดทางอารมณ์ คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่

สรุป
แม้ซีรีส์เรื่องนี้จะมีพล็อตน้ําเน่าที่ไม่ต่างจากละครไทย รวมถึงมีการบอกเล่าเรื่องราวของการชิงรักหักสวาท ความลับซับซ้อนของตัวละครแต่ละตัว จนทําให้ซีรีส์The Penthouse ที่ออกอากาศทางช่อง SBS ซีซั่นแรกจบลงในตอนที่ 21 พร้อมสร้างสถิติใหม่ด้วยตัวเลขเรตติ้งสูงสุดนับตั้งแต่ออนแอร์ ในกรุงโซล 30.5 จากผลสํารวจของ Nielsen Korea แต่ความจริงที่ถูกปะปนในความบันเทิงของซีรีส์เรื่องนี้นั้น คือ ปัญหาครอบครัวที่เกิดจากการเลี้ยงดูสามารถสร้างความเลวร้ายให้เกิดขึ้นในสังคมได้ The Penthouse อาจไม่ใช่ซีรีส์ที่ดูเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อประเทืองปัญญาเปี่ยมด้วยวิชาการ แต่เป็นเนื้อหาของเรื่องสามารถสะท้อนบทเรียนที่เกิดขึ้นในครอบครัวเพื่อนํามาปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูกได้เป็นอย่างดี

#BSRUcontent #BansomdejchaoprayaRajabhatUniversity #MediaCreatorsCommunity #BSMbsru #BroadcastingandStreamingMediaBSRU #ชุมชนแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ #เพราะที่นี่คือคอมมูนิตี้คนสร้างสื่อ

เอกสารอ้างอิง
สุพัตรา สุภาพ.(2543).สังคมและวัฒนธรรมไทย : ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี.
กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนพานิช.
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม -
ธันวาคม 2552
สุมัทนา สินสวัสดิ์. (2557). ครอบครัว : การจัดการความขัดแย้งของคู่สมรสเพื่อการครองรักอย่างยั่งยืน.
กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์พัฒนาศึกษา

--

--

Preeyaporn Suebsawat

Instructor Broadcasting and Streaming Media Faculty of Management Science Bansomdejchaopraya Rajabhat University