ว่าด้วยเรื่องเขียนตามคำบอก

ในวิชาจิตวิทยาการสื่อสารผู้สอนได้ให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง จะพบว่าคำที่เราใช้ในชีวิตประจำวันแบบเคยชิน บางคำก็เขียนผิด ทั้งนี้มีหลายปัจจัย จึงจำเป็นต้องฝึกฝนให้เขียนบ่อย ๆ

เขียนตามคำบอก Photo by RATTANA BUNUAM
Photo by RATTANA BUNUAM

หนึ่งในการฝึกฝนด้านทักษะการเขียน คือการเขียนตามคำบอก เนื่องจากการสื่อสารของมนุษย์มีพัฒนาการมาโดยลำดับ จากการส่งสารด้วยการพูดและรับสารด้วยการฟังมาสู่การส่งสารด้วยการเขียนและรับสารด้วยการอ่าน ซึ่งเกิดเมื่อมนุษย์ได้รังสรรค์ตัวอักษรขึ้นมาใช้แทนเสียงในภาษา ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดนการเขียนยิ่งมีบทบาทและความสำคัญมาแทนที่การพูดมากขึ้น ขณะที่การอ่านก็มีบทบาทและความสำคัญแทนการฟังมากขึ้นเช่นกัน หากแต่การพัฒนาความสามารถทางการใช้ภาษาโดยการเขียนเป็นเรื่องยาก แม้ในระดับอุดมศึกษา นักศึกษาก็ยังคงต้องได้รับการพัฒนาการเขียนอย่างต่อเนื่องไปอีก

ท่านผู้รู้ได้กล่าวว่าการเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ความเป็นศาสตร์ของการเขียนอยู่ที่การมีกฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์ที่ปราชญ์ได้กำหนดขึ้นซึ่งสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ ส่วนด้านความเป็นศิลป์ของการเขียนก็คือความประณีตในการเลือกสรรถ้อยคำมาใช้เพื่อสื่อความหมาย การรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน โวหาร และลีลาต่าง ๆ ล้วนก่อให้เกิดความงามขึ้นในภาษาเขียนและทำให้ภาษาเขียนแตกต่างจากภาษาพูด ทั้งนี้บุคคลย่อมสามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการฝึกฝนการเขียนควรเริ่มต้นจากความเป็นศาสตร์คือรู้กฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์เป็นพื้นฐานเบื้องต้นก่อน ต่อเมื่อมีพื้นฐานหรือหลักการดีแล้วจึงค่อยแต่งเติมเพื่อความเป็นศิลป์เข้าไปในการเขียนซึ่งจะสามารถทาได้โดยไม่ยาก และหากสามารถฝึกฝนไปได้พร้อม ๆ กันทั้งศาสตร์และศิลป์ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุด

เขียนตามคำบอก Photo by RATTANA BUNUAM
Photo by RATTANA BUNUAM

อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการเริ่มต้นการเขียนคำง่าย ๆ ได้ถูกต้อง

ที่มา : http://thaiedu2104.blogspot.com/p/4.html

#สาขาการสื่อสารดิจิทัลคอนเทนต์

#คณะวิทยาการจัดการ

www.bsru.ac.th

--

--