Global Brand

Settakarn Tong
2 min readSep 30, 2019

ตราสินค้า(Brand) หรือ ที่เรามักเรียกติดปากว่ายี่ห้อสามารถช่วยสร้างความได้เปรียบ ให้กับผู้ประกอบการเหนือคู่แข่งได้ เพราะนอกจากจะทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าของ คู่แข่งแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้การที่สินค้าเป็นที่ยอมรับและ เป็นที่ต้องการในวงกว้างในระดับโลกยังจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากเกิดความ ประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) จากความต้องการสินค้าจากผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้น การพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีตราสินค้า และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในระดับนานาชาติ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้ได้มาซึ่งคำว่า Global Brand นั่นเอง

ซึ่งถ้าจะให้ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารfast food ก็คงจะไม่พ้นแบรนด์อย่าง McDonald’s ที่ได้รับความนิยมจากทั่วทุกมุมโลก พ่วงตำแหน่งแบรนด์อันดับ 8 ในการจัดลำดับ Best Global Brand 2007 และในปี 2018 ยังคงอยู่ในอันดับที่10 ซึ่งยังคงติด top 10 อยู่ หนทางสู่ความสำเร็จของร้านแมคโดนัลด์มาจากการบริหารทรัพยากรภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการนำเอาระบบปฏิบัติงาน (System for making quality product and speed) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อแบรนด์ (Satisfaction) ผ่านการให้บริการทุกช่องทางทั้งหน้าร้านและบริการส่งถึงบ้าน และเกิดความจงรักภักดี (Loyalty) เพราะเห็นและรับรู้ได้ในคุณค่าที่แบรนด์ต้องการมอบให้ (Perceive Value) อันจะนำมาซึ่งความเข้มแข็งของแบรนด์และผลประกอบการที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยวิเคราะห์มาจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น

  1. McDonald’s มี Outsource ในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ
  2. McDonald’s มีการปรับกระบวนยุทธ์อย่างรวดเร็ว ไม่สวนกระแสของผู้บริโภค
  3. McDonald’s มุ่งเน้นในความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน
  4. McDonald’s สร้าง Brand Corporate Identity คือสีเหลืองและสีแดง เป็นโทนเหมือนกันทั่วโลก
  5. Forever Young เป็นทัศนคติที่ McDonald’s เชื่อว่า โรนัลด์ คือผู้สร้างความสุขและได้สร้างความเชื่อ McDonald’s จึงใช้เขาเป็นตัวแทนส่งสาร และมีบทบาทในการให้ความรู้กับผู้คน

โดยสรุปแล้วเราจะเห็นได้ว่า McDonald’s สามารถประสบความสำเร็จได้ เพราะMcDonald’s ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาจุดแข็งของตนเองในเรื่อง คุณภาพ (Quality) และ ความสม่ำเสมอในสินค้าและบริการ (Consistency) ให้ได้ และพยายามสร้าง Competitive Advantage ให้เป็น Sustainable Competitive Advantage โดย ใช้ความสามารถหลักที่บริษัทได้จากการบริหารจัดการส่วนผสมทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของการผลิต การตลาด การบริการ การค้นคว้าและวิจัยและพัฒนา ประกอบกันเพื่อให้ McDonald’s เป็นผู้นำธุรกิจฟาสต์ฟู้ดต่อไป

Sustainability

Brand Activism: Storytelling = Storydoing *A better world

GREEN DEFINITION by NATIONAL GEOGRAPHIC

โทรทัศน์ทั้งโลกใช้พลังงานไฟฟ้ารวมกันราว 5–8 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ใช้กันทั้งโลก ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมกัน 27 ล้านตันต่อปี ถ้าอยากจะประหยัดพลังงานในส่วนนี้ก็ต้องไปเจรจากับบริษัทผู้ผลิตโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใดอยากลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้มาก่อน ช่อง National Geographic ตั้งคำถามที่น่าสนใจมากว่า จะทำเนื้อหาในช่องของพวกเขาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ยังไง คำตอบก็คือ เขาจะทำให้ NG เป็นช่องที่เปิดมาดูเมื่อไหร่ก็ประหยัดพลังงานเมื่อนั้น

วิธีการก็คือ NG ใช้วิธีปิดพิกเซลในจอโทรทัศน์ลงครึ่งหนึ่ง แบบที่พวกเขาเรียกว่า Green Definition ซึ่งแฟนประจำของช่องนี้เข้าใจ และไม่ติดขัดกับการที่ภาพจะสว่างน้อยลง พวกเขาเปิดตัวเนื้อหาแรกที่ออกอากาศด้วยระบบนี้ในวัน Earth Day จากนั้นก็ออกอากาศระบบนี้ในช่วงกลางคืน เพราะเป็นช่วงที่เหมาะกับการดูโทรทัศน์ที่แสงน้อยๆ อยู่แล้ว

ผลที่ได้ก็คือ ระบบนี้ประหยัดไฟได้ 54 เปอร์เซ็นต์ ผู้ชมจ่ายค่าไฟน้อยลง ถ้าดูช่อง NG 1 ชั่วโมง ก็ประหยัดพลังงานได้เท่ากับปิดไฟหลอด LED 15 ชั่วโมงเลย

โดยสรุปแล้วเราจะเห็นได้ว่าแบรนด์อย่างNational Geoghraphic นั้นเดิมที่เป็นรายการที่ถ่ายทำเกี่ยวกับเรื่องโลก สัตว์ ต่างๆที่อยู่ในโลกแล้ว การได้ทำสิ่งนี้ขึ้นก็จะยิ่งสามารถสร้างภาพลักษณ์และการจดจำของผู้บริโภคเป็นไปในทางที่ดีขึ้นมากอีกด้วย

--

--