วิธีการเล่นหมากรุกไทย(เบื้องต้น)

Dewwy
1 min readJan 18, 2017

--

อย่างที่บอกไปแล้วเมื่อวาน วันนี้จะมาอธิบายกฎกติกาการเล่นพื้นฐานของหมากรุกไทยกัน เริ่มด้วยอย่างแรกเลย สิ่งที่เราจะขาดไม่ได้เลยในการเล่นหมากรุก นั่นก็คือ กระดานหมากรุก นั่นเอง

ที่มา : https://www.toytorich.com/product/29/

กระดานหมากรุก อาจทำจากไม้หรือไม่ก็ใช้กระดาษหรือวัสดุอื่นๆแล้วตีตารางเอา(ในกรณีที่ไม่มีกระดานไม้เล่น) เป็นกระดานขนาด 8X8 ช่อง หรือทั้งหมด 64 ช่อง สลับสี หรือที่เรียกว่า ลายหมากรุกนั่นแหละ

ต่อไปจะเป็นการแนะนำพระเอกของเกมหรือก็คือ ตัวหมาก นั่นเอง โดยผู้เล่นทั้งสองฝั่งจะวางหมากของตัวเองคนละด้านของกระดาน โดยแบ่งเป็นฝ่ายขาวและดำ ซึ่งแต่ละฝั่งจะมีตัวหมากฝั่งละ 16 ตัว ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวหมากดังนี้

  1. ขุน 1 ตัว เป็นหมากตัวที่สำคัญที่สุดในเกม สามารถเดินรอบทิศทางได้อย่างละ 1 ช่อง ไม่สามารถเดินไปในช่องเดินของหมากฝ่ายตรงข้ามได้
  2. เม็ด 1 ตัว เดินเป็นแนวแทยงอย่างละ 1 ช่อง
  3. โคน 2 ตัว เดินแถวหน้าได้ 3 ช่อง แถวหลังเฉียง 2 ช่อง
  4. ม้า 2 ตัว เดินเป็นรูปตัว L ขนาด 2x3 เดินได้8 ทิศทาง สามารถเดินข้ามหมากตัวอื่นได้
  5. เรือ 2 ตัว เดินทางตรงได้จนสุดกระดานถ้าไม่ติดหมากตัวอื่น
  6. เบี้ย 8 ตัว เดินตรง 1 ช่อง แต่เวลากินหมากฝ่ายตรงข้าม จะกินแนวเฉียง และเมื่อเบี้ยฝ่ายเราเดินไปจนถึงช่องเดินขอเบี้ยฝ่ายตรงข้าม จะสามารถหงายเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเดินเป็นแบบเม็ดได้ จะเรียกเบี้ยพวกนี้ว่า เบี้ยหงาย

ซึ่งจะมีตำแหน่งการวางดังนี้

ที่มา : http://blackmoa.blogspot.com/

ตำแหน่งการวางหมาก เรียงจากซ้ายไปขวา เรือ-ม้า-โคน-ขุน-เม็ด-โคน-ม้า-เรือ แถวที่ 3 ทั้งหมดคือเบี้ย

หลังจากเรามีทั้งกระดานและเรียงตัวหมากเสร็จแล้วก็มาเริ่มเล่นเกมกันเล้ย

  1. ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้เริ่มก่อน
  2. จากนั้นให้ผู้เล่นคนแรกเลือกเดินหมากของตนเมื่อเดินเสร็จ ก็ให้ผู้เล่นคนที่ 2 ได้เดินต่อ ผลัดกันเดินคนละตาไปเรื่อยๆ
  3. เมื่อเราทำการวางตัวหมากของเราทับช่องของตัวหมากของฝ่ายตรงข้าม ตัวหมากตัวน้ันจะต้องถูกนำออกจากเกมแล้วจะถือว่าเรากินหมากตัวนั้นแล้ว
  4. เมื่อเราวางหมากในตำแหน่งที่ตาเดินต่อไปของเราจะกินขุนได้นั้นจะเรียกว่าการรุก ซึ่งฝ่ายตรงข้ามนั้นต้องขยับขุนหนีไม่ก็กินหมากของเราที่กำลังรุกอยู่ซะ
  5. เมื่อเรารุกขุนของฝ่ายตรงข้ามไปจนถึงช่องที่ขุนไม่สามารถหนีได้หรือเอาหมากตัวอื่นมาบังได้จะเรียกกรณีนี้ว่ารุกฆาต แล้วเกมก็จะจบลง
  6. ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามเหลือขุนเพียงตัวเดียวแล้วเราไม่สามารถรุกฆาตขุนได้ในจำนวนตาที่จำกัด ในเกมนั้นจะถือว่าเสมอกัน
  7. หากเราและผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเหลือขุนเพียงตัวเดียวทั้งคู่ เกมนั้นก็จะนับว่าเสมอเช่นกัน

เป็นไงกันบ้างสำหรับวิธีการเล่นหมากรุกไทย บางส่วนอาจจะดูยุ่งยากไปนิดแต่ถ้าได้เล่นแล้วรับรองเลยว่าจะต้องติดใจ ไว้คราวหน้าจะมาพูดเกี่ยวกับกติกาในเบื้องลึกกันบ้าง สำหรับวันนี้คงจะต้องจบบล็อกไว้เท่านี้แล้ว บรัยยยย

ข้อมูลจาก:ประสบการณ์+วิกิพีเดีย

--

--