IMF คิดอย่างไรกับเหรียญคริปโต และแบงค์ชาติควรทำอย่างไร (June 2018)
ในหลายๆครั้งเราไม่สามารถเข้าใจบางสิ่งบางอย่างด้วยตัวเราเอง อาจจะเนื่องด้วยแขนงวิชาที่เราศึกษา อาจจะด้วยเวลาที่มีไม่เพียงพอ แล้วเราตัดสินอย่างไรว่าอะไรถูกอะไรผิด เรามักเชื่อคนที่เรานับถือ คนหรือองค์กรที่มีความรู้เฉพาะทาง แล้วเรื่องเหรียญคริปโตหละ คุณอยู่ข้างไหน
ล่าสุด IMF หนึ่งในองค์กรทางด้านการเงินที่สำคัญที่สุดของโลก ได้ตีพิมพ์บทความฉบับหนึ่งในหัวเรื่อง “นโยบายทางการเงินในยุคดิจิตอล- วันนึงเหรียญคริปโตอาจลดความต้องการเงินธนบัตรจากแบงค์ชาติ” โดยทาง IMF ได้แสดงความเห็นในเชิงบวกต่อเหรียญคริปโตในหลายประเด็น วันนี้ผมได้สรุปบทความดังกล่าว และหวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้มากยิ่งขึ้น
ข้อดีของเหรียญคริปโต
- มีความเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆ อันเนื่องมาจากออกธนบัตรโดยแบงค์ชาติ
- เหรียญคริปโตเสนอ anonymity หรือความไม่ระบุตัวตน (ความเห็น** จุดนี้ไม่ค่อยอยากจะเชื่อเท่าไหร่ เพราะคนมักจะโจมตี เงิน crypto ว่าตรวจสอบยาก ทำให้เป็นแหล่งซื้อขายสินค้าผิดกฎหมาย)
- หน่วยเงินสามารถแบ่งย่อยได้เรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเหมาะต่อการซื้อขายเล็กๆน้อยๆ
- settlement เร็วมากแทบจะทันที ไม่เหมือนการโอนเงินผ่านธนาคาร ที่มีตัวกลางหลายตัวมาขั้นกลาง โดยประโยชน์จะเด่นชัดขึ้นเมื่อทำการโอนเงินระหว่างประเทศ เพราะสามารถลดเวลาการทำธุรกรรมจากหลายวันเป็นเหลือไม่กี่วินาที
ข้อเสียของเหรียญคริปโต
- ราคาเหวี่ยงมากเกินไป ในขณะที่เงินธนบัตรที่เราใช้อยู่นั้นราคาถูกควบคุมโดยนโยบายการเงินต่างๆ เช่น ปรับดอกเบี้ย หรือพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม ทำให้เงินค่อนข้างคงที่เปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ
- ความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด(Deflation) ในเหรียญคริปโตบางตัว เช่น บิทคอยน์ เพราะเป็นเหรียญที่มีประมาณจำกัด ไม่สามารถพิมพ์เพิ่มได้ ทำให้อาจจะตอบสนองต่อบางสถานะการณ์ไม่ได้ เช่น ภาวะการขาดแคลนเงิน
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้โจมตีอย่างเดียว แต่บอกว่าก็มีคนพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้อยู่ เช่น มีความพยายามที่จะสร้างเหรียญคริปโตที่ราคาคงที่ (Stable coin) เช่น การไปหนุนหลังเหรียญคริปโตด้วยเงิน dollar เป็นต้น หรือแม้แต่ใช้ AI ในการคำนวณปริมาณเหรียญที่ควรออกเพิ่ม
ผลกระทบต่อแบงค์ชาติ
นโยบายทางการเงินจะมีบทบาทน้อยลง หากในอนาคตธุรกรรมต่างๆเกิดขึ้นบนเหรียญคริปโต เห็นได้จากประเทศที่เงิน Dollar เข้าครอบงำ ทำให้สกุลเงินของตนถูกใช้น้อยลงเรื่อยๆ
แบงค์ชาติควรตอบสนองอย่างไร
- ดำเนินออกนโยบายทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในฐานะเงินที่ไม่เหวี่ยง โดยใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วย เช่น AI, Big data เป็นต้น
- ควรออกมาตรการการป้องกันการฉ้อโกงต่างๆ และเพื่อปกป้องผู้ใช้งาน
- ออกเหรียญคริปโตของตัวเอง เพื่อมาส่งเสริมเหรียญและธนบัตรที่ใช้อยู่
แบงค์ชาติออกเหรียญคริปโตเองดีอย่างไร
- สามารถตอบโต้กับสิ่งที่สิ่งภายนอกจะส่งผลกับภายในประเทศได้
- ช่วยลดค่าทำเนียมในการโอนเงิน เพื่อให้ประชาชนและธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น
- ทำให้ช่วยแบงค์ชาติมีรายได้ จากการออกเหรียญ ทำให้องค์กรสามารถเดินต่อไปได้ และแบ่งกำไรให้กับรัฐบาลได้อีกด้วย
โดยสามารถไปอ่านเอกสารฉบับเต็มจาก IMF ได้จากลิ้งด้านล้างนี้เลยครับ
ติดตามความรู้และข่าวใหม่ๆเกี่ยวกับเหรียญกับผมได้ที่ twitter: @clever_buffalo