Open Source Networking Technologies Part 2

หลังจากที่เราได้ทราบกันบ้างแล้วว่า hardware switch มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ในครั้งนี้ผมจะทำการทดลอง install Network OS ดูว่ามันมันมีขั้นตอนอะไรยังไงกันบ้าง และการใช้งานมันยากง่ายยังไง ส่วนอุปกรณ์สำหรับการทดสอบ ผมขอเลือกใช้ hardware switch ของ Edge-Core รุ่น AS4610–54T และ Network OS จะเป็น Pica8 สาเหตุที่ผมเลือกทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ เนื่องจากผมทราบว่าปัจจุบัน SI หลายเจ้าก็ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายกันอยู่หลายบริษัท รวมทั้งความพิเศษของ Network OS ยี่ห้อ Pica8 นั้น มันสามารถรองรับการทำงานแบบ hybrids ได้ด้วย ถึงตรงนี้ ก็มีคำถามว่า มัน เห้ย มันทำงานแบบ hybrids ยังไงหว่า ผมจึงจะขอแบ่งประเภทของ switch ตามความเข้าใจ ดังนี้

  1. Traditional modeหรือ Legacy Switch คือ switch ที่ติดตั้ง Network OS ที่สามารถทำงานได้เฉพาะ layer 2 หรือ layer 3 เช่น spanning-tree, VLAN, RIP, OSPF ฯลฯ ซึ่งนั้นก็คือ switch ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น Cisco, Juniper, Arista เป็นต้น
  2. SDN mode คือ switch ที่ติดตั้ง Network OS ที่สามารถทำงานได้เฉพาะกับ SDN Controller เท่านั้น โดยปัจจุบันก็หลายยี่ห้อ ก็จะมี SDN solution เป็นของตัวเอง เช่น Ciso ACI, Juniper Contrail, Arista CloudVision เป็นต้น แต่ก็มีบ้างยี่ห้อที่สามารถเปลี่ยน mode จาก SDN switch ไปเป็น Traditional switch รวมถึงจาก mode Traditional switch ไปเป็น SDN switch ได้ แต่จะสังเกตุเห็นว่า บน hardware switch จะสามารถทำงานได้เฉพาะ mode ใด mode หนึ่งเท่านั้น ต้องกำหนดตั้งแต่ตอน boot เสร็จหรือต้องเลือก Network OS ให้ถูก mode ที่ต้องการ
  3. Hybrids mode คือ switch ที่ติดตั้ง Network OS ที่สามารถทำงานได้ทั้ง Traditional mode และ SDN mode พร้อมๆ กัน โดยที่เราสามารถกำหนด interface (port) ที่จะให้ทำงานใน mode ใด mode หนึ่งได้ เช่น interface 1 ถึง 8 ทำงานเป็น Traditional mode ส่วน interface ที่เหลือทำงานเป็น SDN mode

มาถึงตรงนี้หลายคนมีคำถามว่าแล้ว SDN mode มันทำงานอย่างไร ผมจะกล่าวสั้นว่า SDN mode นั้น หมายถึงว่า Network OS ที่สามารถรองรับการทำงานของ OpenFlow ที่เอาไว้เชื่อมต่อกันระหว่าง hardware switch (OpenFlow) กับ SDN Controller ดังรูปข้างล่างนี้

เอาเป็นว่าร่ายยาวมาถึงตรงนี้แล้ว เรามาเริ่มทดลองติดตั้ง Network OS กันเลยดีกว่า จะได้ตรงกับหัวข้อที่ผมได้กล่าวไว้เมื่อ part 1 และขั้นตอนก็มีดังนี้

  1. เตรียม hardware switch

2. เตรียมสาย USB 2.0/3.0 to Serial port สำหรับทำการ console เพื่อติดตั้ง Network OS

3. เตรียม Network OS (Pica8) ที่มีนามสกุลเป็น .bin แล้วนำไปเก็บไว้ใน flash drive

4. ทำการเชื่อมต่อ Notebook เข้ากับ console port ของ switch เพื่อจะทำการ install Network OS โดยทำการตั้งค่า serial port ดังนี้

  • Baud Rate : 115200
  • Data Bits : 8
  • Parity : None
  • Stop Bits : 1
  • Flow Control : None

แล้วทำการเปิด hardware switch โดยผมจะขอ capture เป็นขั้นตอนดังนี้ครับ

  1. หลังจากเราทำการเปิด hardware switch เราก็จะพบ message ที่บอกว่าให้กดอะไรสักอย่างบน keyboard เพื่อทำการหยุด autoboot โดยผมก็จะกด Enter เพื่อหยุด

2. จากนั้นก็จะพบว่า hardware switch จะพยายามส่ง dhcp message และ start service ssh, telnet รวมถึงการส่ง auto discover เพื่อทำการ download image (.bin) จาก TFTP server มาติดตั้ง แต่ Case นี้ผมจะติดตั้ง Network OS แบบ Manual โดยนำเอา image (.bin ) ใส่ไว้ใน flash dive แล้วนำไปติดตั้งเอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องหยุด auto discover ของ hardware switch โดยทำการ enter แล้วใส่ command : ONIE/#onie-discovery-stop

3. หลังจากที่ hardware switch หยุดการทำงานแบบ auto discover แล้ว เราก็เสียบ flash dive ที่มี Network OS image (.bin) เข้าไป USB port บน switch แล้วเราจะเห็น message ที่หน้า terminal ที่แจ้งว่ามีการ detect flash dive เข้ามาบน hardware switch

fdisk -l เพื่อตรวจสอบ flash dive

4. ทำการ mount file จาก flash dive เข้าไปที่ /mnt บน hardware switch และทำการตรวจสอบ file ที่อยู่ใน /mnt ว่าพบ Network OS image (.bin) หรือไม่

5. ทำการ install Network OS โดยใช้ command #onie-nos-install /mnt/onie-installer-arm-acction_as4610-picos-2.10.2-d9ce4ec.bin

6. เมื่อเห็นว่า install เสร็จแล้ว จะเห็น message “System install successfully, exit now” และให้เราถอด flash dive ออก แล้วจะมีการ reboot อีกครั้ง จนเห็นว่า switch ได้เข้าหน้า terminal ของ Pica8 #XorPlus login:

ถึงตรงนี้ก็เป็นการติดตั้ง Network OS เรียบร้อยครับ ส่วนการใช้งานเบื้องต้นดังนี้

Note : ส่วน feature ต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ก็ลองไปดูเพิ่มเติมกันอีกทีนะครับ เจอกันใน blog หน้าครับผม

--

--