ทางรอดของสื่อไทยในยุคดิจิทัล

ความก้าวหน้าของยุคดิจิทัลก่อให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะการเข้ามาของสื่อดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, Social Media, Facebook, Youtube, ฯลฯ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เกิดผลกระทบอย่างมากกับสื่อ Traditional ทั้งนิตยสาร, หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์

Supicha Bubpachune
2 min readDec 11, 2016

วิทยากรที่เป็นตัวแทนประกอบด้วย

  • ดร.สิขเรศ ศิริกานต์ : นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสิ่งใหม่
  • คุณอุรศา จิตต์ธรรมวาณิช : บรรณาธิการนิตยสาร Lifestyle+Travel
  • คุณสมัชชา วิราพร : ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นิตยสารบ้านและสวน
  • คุณเดียว วรตั้งตระกูล : รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ช่องวัน 31
  • คุณพนิชา อิ่มสมบูรณ์ : บรรณาธิการนิตสารและเว็บไซต์ในประเทศและต่างประเทศ
  • คุณศิวัตร เชาวรียวงศ์ : อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)
  • คุณธนสรณ์ เจนการกิจ : Creative Director จาก CJ WORX

ดร.สิขเรศ ศิริกานต์ (นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิทัลและสิ่งใหม่) กล่าวไว้ว่า

“ยุคสมัยเปลี่ยน พฤติกรรมคนก็เปลี่ยน เด็กยุคใหม่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล เป็น Digital Native กันหมด โดยเด็กยุคใหม่ใช้ Smart Phone และสื่อดิจิทัล ผู้สูงอายุใช้สื่อผสมทั้งสื่อ Traditional และสื่อดิจิทัล”

  • คนอายุน้อยใช้สื่อ Online และ Social Media เป็นหลัก ส่วนคนมีอายุยังใช้สื่อหลักเป็น TV
  • สื่อ Social Media กลายเป็นสิ่งแรกในการรับข้อมูลข่าวสาร
  • ยุคนี้เป็นยุคของ UGC (User Generated Content) ผ่านทาง Social Media เช่น Facebook, Youtube
  • สื่ออื่นๆ กลายเป็น Ctrl+C Journalists ที่เอาข้อมูลจาก Social Media มาทำข่าว แชร์ซ้ำไปซ้ำมา

ทางรอดของสื่อ Digital

  • เปลี่ยนวิธีการหาข่าว ทำเรื่องในเชิงลึก แต่ย่อยข้อมูลและนำเสนอให้เข้าใจง่าย เช่น Infographic
  • เลิกแชร์ข่าวซ้ำไปซ้ำมา เปลี่ยนมาทำเนื้อหายากๆ ให้เข้าใจง่าย ลงใน Platform ที่เหมาะสม

คุณอุรศา จิตต์ธรรมวาณิช (บรรณาธิการนิตยสาร Lifestyle+Travel) กล่าวไว้ว่า

“สื่อออนไลน์เปรียบเหมือน Fast Food ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์เป็น Fine Dinning ที่ต้องละเมียดในการบริโภค โดยนิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ยังมีทางรอด แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ สร้างเนื้อหาที่ดี ทำให้มีคุณค่าน่าเก็บสะสม”

ทางรอดของสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร)

  • อย่าอยู่แค่บนแผงหนังสือรอให้ผู้อ่านเข้ามาหา ต้องหาช่องทางใหม่ๆ เข้าไปหาผู้อ่าน เช่น นิตยสาร Lifestyle+Travel ไปขอพื้นที่วางตามสนามบิน ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
  • อย่าลดความเป็นตัวเองลง ดำรงคุณค่า และเอกลักษณ์ เมื่อคนต้องการก็จะกลับมาหาเอง
  • เพิ่มช่องทางบน Social Network เช่น Website, Instagram, Facebook

คุณสมัชชา วิราพร (ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นิตยสารบ้านและสวน) กล่าวไว้ว่า

“เมื่อมีแผนธุรกิจใหม่ โครงสร้างใหม่ สิ่งที่จะต้องปรับตัวคือ “คน” ธรรมชาติของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำได้ แต่บางคนไม่ได้ ปกติแล้วธรรมชาติของคนทำนิตยสารจะ “ชิล” เดินช้ากว่าคนอื่น แต่เมื่อต้องปรับตัวเป็นออนไลน์ กลายเป็นต้องวิ่งให้เร็วกว่าคนอื่น”

3 ทางเลือกสำหรับสื่อนิตยสาร

  1. ตาย ปิดตัวลง

2. ลดขนาดลง ลดต้นทุนลง

3. กลายพันธุ์ (ปรับตัว)

ทางรอดของสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร)

  • กล่าวถึงการกลายพันธุ์ โดยการกลายพันธุ์นั้นจะต้องไม่ทิ้ง Brand DNA ของตัวเอง ซึ่งจะไม่มีใครมาแย่งได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิด Brand Benefit และ Brand Value
  • เป็น “Omni Media” ครอบคุลมทุกๆ ที่ที่มี Target
  • งานแปลง Content ที่อยู่บนนิตยสารออกมาให้จับต้องได้

คุณเดียว วรตั้งตระกูล (รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ช่องONE 31) กล่าวไว้ว่า

“ทุกธุรกิจสื่อกำลังถูก Technology Driven Disruption สิ่งที่จะต้องทำคือการปรับนำเทคโนโลยีมาใช้กับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ให้เกิด Outcome”

ทางรอดของสื่อโทรทัศน์

  • ทำ Content ให้ตรงกับกลุ่มผู้ชมและช่องทาง
  • ทำ Content ให้ดี มีรสนิยม ต้องวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคให้ถูก
  • สร้างเรตติ้งให้สูงขึ้น เพื่อให้ขายโฆษณาได้
  • ใช้ Social Media เป็นเครื่องมือโปรโมต สร้าง Awareness เพื่อให้คนกลับมาดูในช่วง Realtime
  • จับมือกับ Partner ขายสิทธิ์ Re-run ให้ เช่น ขายสิทธิ์ละครเรื่องพิษพิศวาสให้กับ Line TV
  • ขายลิขสิทธิ์ Content ให้กับต่างประเทศ

คุณพนิชา อิ่มสมบูรณ์ (บรรณาธิการนิตสารและเว็บไซต์ในประเทศและต่างประเทศ) กล่าวไว้ว่า

“Attention Span ของคนสมัยนี้อยู่ที่ 8 วินาที สั้นกว่าปลาทองซะอีก การทำ Content จะต้องเอาคนอ่านให้อยู่ภายใน 9 วินาที ตั้งแต่หัวเรื่อง ไม่ต้องเกริ่นนำยาว เพื่อดึงให้คนอ่าน อ่าน Content นั้นต่อ”

  • คนทำสื่อจะยึดติดกับนิตยสารอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปรับตัว

ทางรอดของสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร)

  • ทำแค่ Content เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเข้าใจการตลาดด้วย
  • ปรับวิธีการเขียน โดยเอา Nature ของคนอ่าน ปรับให้เข้ากับ Skill ของคนทำสื่อ
  • หาไอเดียใหม่ๆ สร้างความแตกต่าง

คุณศิวัตร เชาวรียวงศ์ (อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)) กล่าวไว้ว่า

“สถิติการใช้เงินแยกตามประเภทเครื่องมือการใช้งาน จะเห็นว่าเม็ดเงินการโฆษณาไปอยู่ที่ Facebook, Youtube, Google หมด เพราะพฤติกรรมของคนใช้สื่อเหล่านี้เป็นหลัก”

  • เงินโฆษณาไปอยู่ที่ Facebook และ Google เยอะ เพราะ Targetability, Shareable และ Searchable

ทางรอดของสื่อโฆษณา (Digital)

  • ทำ Content ให้ดี ให้ค้นหาเจอผ่าน Google สร้างความโดดเด่นในเชิง Content ให้คนค้นหา เช่น ค้นหาร้านอาหาร แล้วต่อท้ายด้วย wongnai หรือค้นหารีวิว ต่อท้ายด้วยคำว่า pantip
  • ปรับฟีเจอร์ในเว็บให้สอดคล้องกับ Google และ Facebook ค้นหาง่าย, แชร์ง่าย
  • สังเกตความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคอยู่เสมอ และปรับตัวเองให้ทัน

คุณธนสรณ์ เจนการกิจ (Creative Director จาก CJ WORX) กล่าวไว้ว่า

“Digital Always CHANGE — ไม่มีอะไรแน่นอนในโลกดิจิทัล”

ทางรอดของสื่อโฆษณา (Digital)

  • Always Change (โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่าช้า ต้องตัดสินใจให้เร็ว)
  • Know Your Value (รู้คุณค่าของตัวเอง)
  • Always use Creativity (สื่อดิจิทัลมีเยอะ และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ใช้ Creativity เพื่อให้เกิดความแตกต่าง)
  • Leave it (บางครั้งต้องลดความเป็นตัวเองลงบ้าง ลดอีโก้ลงตัวเองลงบ้าง)

--

--