กระบวนการจำที่มีผลต่อ “ความจำ” ของเด็กปฐมวัย

Piya luck
2 min readMar 9, 2023

--

กระบวนการจำ
กระบวนการจำ

กระบวนการจำ

ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆในห้องเรียนจะให้ประสบความสำเร็จได้ เด็กจะต้องใช้กระบวนการทำงานของการจำ ซึ่งประกอบด้วย การเข้ารหัส (encoding) การจัดเก็บรักษาข้อมูล(Storage) และการเรียกข้อมูล(Retrieval) โดยมีรายละเอียด (Rose M. Spielman, William J. Jenkins, Marilyn D. Lovett. 2020) ดังนี้

การเข้ารหัส (encoding)

เป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบหน่วยความจำ เมื่อเราได้รับข้อมูลทางประสาทสัมผัสจากสิ่งแวดล้อม สมองจะติดป้ายกำกับหรือเข้ารหัสข้อมูลนั้น โดยจัดระเบียบข้อมูลด้วยข้อมูลอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน และเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่มีอยู่ ข้อมูลการเข้ารหัสเกิดขึ้นผ่านการประมวลผลอัตโนมัติ และการประมวลผลที่ง่ายดาย ซึ่งการเข้ารหัสมี 3 ประเภท

การเข้ารหัสภาพ

การเข้ารหัสภาพ คือ การแปลงภาพที่มองเห็นให้เข้าใจว่าเป็นวัตถุ ด้วยวิธีนี้ข้อมูลภาพจะถูกแปลงเป็นหน่วยความจำที่เก็บไว้ในสมอง ข้อมูลภาพจะถูกเก็บไว้ในการรับรู้ระยะ และทิศทาง ซึ่งเชื่อมต่อกับสมองส่วนบริหารกลาง สมองส่วนกลางเป็นพื้นที่สำคัญของหน่วยความจำในการทำงาน ก่อนเข้ารหัสในหน่วยความจำระยะยาว ข้อมูลนี้จะถูกเก็บไว้ชั่วคราวในหน่วยความจำรูปแบบสัญลักษณ์

การเข้ารหัสเสียง

การเข้ารหัสข้อมูลการได้ยินเรียกว่า การเข้ารหัสเสียง คือ กระบวนการที่จะเข้าใจลักษณะการได้ยินจากประสบการณ์ ซึ่งรวมถึงการประมวลผลเสียง คำพูด และการป้อนข้อมูลทางหูอื่น ๆ เพื่อจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล วงจรเสียงซึ่งเป็นส่วนประกอบของการเข้ารหัสเสียงเกี่ยวข้องกับสองกระบวนการที่แตกต่างกัน คือ ประการแรก ข้อมูลเสียงจะเข้าสู่สมองเป็นเวลาหนึ่งถึงสองวินาที ประการที่สอง ต้องมีการซ้อมเพื่อแปลงเป็นความจำระยะยาว ซึ่งในเด็กปฐมวัยการจะเรียนรู้ตัวอักษร หรือคำศัพท์ เหล่านี้ได้ง่าย เมื่อมีการจดจำจากการเข้ารหัสเสียงผ่านการร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง และการฟังเสียงจับจังหวะต่าง ๆ

การเข้ารหัสความหมาย

การเข้ารหัสข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่มีความหมายหรือบริบทเฉพาะเรียกว่าการเข้ารหัสความหมาย ซึ่งอาจรวมถึงการจำแนวคิด แนวคิด คำจำกัดความ และวันที่ เป็นต้น การเข้ารหัสเชิงความหมายจะเรียกคืนได้ง่ายกว่าการเข้ารหัสที่ไม่ได้มีความหมายหรือตื้นๆ ของสิ่งต่างๆ การผูกอารมณ์ไว้กับข้อมูลเป็นความคิดที่ดีที่จะทำให้การเข้ารหัสเชิงความหมายน่าจดจำยิ่งขึ้น

การจัดเก็บรักษาข้อมูล(Storage)

การจัดเก็บรักษาข้อมูลสามารถแบ่งออกตามความจำ 3 ประเภท (พาสนา จุลรัตน์. 2563) ดังนี้

รูปแบบการจัดเก็บรักษาข้อมูล จากประสาทสัมผัส

ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเก็บ ไว้ใน sensory register โดยพื้นฐานแล้วจะถูกบันทึกในรูปแบบที่เราได้รับสัมผัส เช่น ในรูปแบบของการมองเห็น (ภาพ) การได้ยิน (เสียง) การได้กลิ่น (กลิ่นต่าง ๆ) การรับรส (รสชาติต่าง ๆ) และ การสัมผัส (ร้อน เย็น) ณ จุดนี้ บุคคลยังไม่เข้าใจและยังไม่ได้ตีความหรือแปลความหมายของข้อมูล กล่าวคือ sensory register ทำหน้าที่เก็บข้อมูลก่อนข้อมูลจะผ่านไปสู่กระบวนการการรู้คิดอื่น ๆ

รูปแบบการจัดเก็บรักษาข้อมูล ความจำขณะทำงาน

ถ้าไม่คำนึงถึงรูปแบบที่บุคคลรับข้อมูลมา เป็นที่ปรากฏชัดว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่เก็บไว้ในความจำขณะทำงานมักถูกบันทึกอยู่ ในรูปของการได้ยินเสียง (auditory form) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับภาษา ยกตัวอย่างเช่น จาก งานวิจัยของ Conrad (1964: 429–432) ที่ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ โดยให้กลุ่มตัวอย่างดู ภาพตัวอักษร 6 ตัวทีละตัวตามลำดับ ซึ่งการดูภาพตัวอักษรแต่ละภาพมีช่วงเวลาที่ห่างกัน 4 วินาที ทันทีที่กลุ่มตัวอย่างดูอักษรตัวสุดท้ายเสร็จ กลุ่มตัวอย่างก็ต้องเขียนตัวอักษรที่จำได้ลงในกระดาษ ในกรณีที่จำตัวอักษรบางตัวไม่ได้ อาจต้องใช้การเดาว่าตัวอักษรนั้น ๆ คือตัวอะไร จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่จำตัวอักษรผิดบอกว่าเขาจะจำตัวอักษรที่มีเสียงคล้ายคลึงกันมากกว่าการจำภาพหรือ ลักษณะของตัวอักษรที่คล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มตัวอย่างจำตัวอักษร “F” ได้ เพราะมีเสียงใกล้เคียงกับตัวอักษร “S” ได้ถึง 131 ครั้ง แต่จำตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ ตัวอักษร “P” ได้เพียง 14 ครั้ง ในทำนองเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างจำตัวอักษร “V” ที่มีเสียงใกล้เคียงกับตัวอักษร “B” ได้ถึง 56 ครั้ง แต่จำตัวอักษรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ V คือ “X” ได้เพียง 5 ครั้งเท่านั้น นอกจากความจำขณะทำงานจะเก็บข้อมูลในรูปของเสียงได้แล้ว มันยังสามารถเก็บข้อมูลในรูปของภาพ (Visual form) ได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เด็กพิการทางการได้ ยินก็น่าจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในรูปของภาพที่เห็นได้ และเด็กเล็ก ๆ อายุประมาณ 5 ขวบ ก็มีแนวโน้ม ๆ ที่จะใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปของเสียงน้อยกว่าเด็กโต (อายุประมาณ 11 ขวบ) อย่างไรก็ตาม การบันทึกข้อมูลในรูปของเสียงในระบบความจำขณะทำงานให้ประโยชน์ที่เด่นชัดมากกว่าในรูปของภาพ คือ มัน ช่วยให้บุคคลจำข้อมูลได้ดีขึ้น อย่างน้อยก็ในระยะเวลาช่วงสั้น ๆ

การเรียกข้อมูล(Retrieval)

สำหรับการค้นคืนหรือเรียกคืนข้อมูล จาก sensory register และ working memory ออกมาใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ้าข้อมูลได้ถูกเก็บรักษา ไว้แล้วที่นั่น มันก็สามารถเรียกคืนกลับมาใช้ได้ แต่การค้นคืนข้อมูลจากความจำระยะยาวมีความยุ่งยากมากกว่า เพราะในความจำระยะยาวมีข้อมูลมากมายเกินกว่าที่บุคคลจะสามารถค้นคืนได้ หมดอย่างแท้จริงภายในเวลาเพียงครั้งเดียว ดังนั้น ความสำเร็จในการค้นคืนข้อมูลออกมาใช้ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลได้ค้นคืนข้อมูลจากแหล่งที่เก็บรักษาข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ การค้นคืนข้อมูลจากความจำระยะยาวมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับกระบวนการเก็บรักษาข้อมูล กล่าวคือ ยิ่งบุคคลมีความเข้าใจข้อมูลได้ดีมากเท่าไหร่ บุคคลก็จะสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เป็นระบบได้มากเท่านั้น และมันก็จะช่วยให้บุคคลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับข้อมูลเดิมที่ถูกบันทึกอยู่ก่อนหน้านี้ได้ดี มากขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลก็จะสามารถค้นคืนหรือจำข้อมูลที่บันทึกไว้ได้โดยง่าย ซึ่งความสามารถของเราในการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำระยะยาวมีความสำคัญต่อการทำงานประจำวัน โดยต้องสามารถดึงข้อมูลจากหน่วยความจำได้เพื่อที่จะทำทุกอย่าง ตั้งแต่รู้วิธีการแปรงฟัน การหยิบจับดินสอเพื่อขีดเขียน หรือการเก็บของเล่นเข้าที่โดยแยกประเภทได้

การทำกิจกรรมหลายๆอย่างภายในห้องเรียนมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาสมอง ซึ่งพฤติกรรมที่บ่งชี้ความสามารถแสดงการจำเบื้องต้นของเด็กปฐมวัย แบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้

พฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถแสดงการจำเบื้องต้นของเด็กปฐมวัย

เอกสารอ้างอิง

พาสนา จุลรัตน์. (2563). จิตวิทยาการรู้คิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวแนะวิธีการเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะ เพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0–5 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Paris, Ricardo, Raymond, & Johnson. (2021). Information Processing Theory- Memory, Encoding, and Storage. from https://socialsci.libretexts.org/Bookshelves/Early_Childhood_Education/Book%3A_Child_Growth_and_Development_(Paris_Ricardo_Rymond_and_Johnson)/14%3A_Adolescence_-_Cognitive_Development/14.04%3A_Information_Processing_Theory-_Memory_Encoding_and_Storage

Rose M. Spielman, William J. Jenkins, Marilyn D. Lovett. (2020). Psychology 2e. from https://openstax.org/books/psychology-2e/pages/8-1-how-memory-functions.

--

--