Digital Transformation Canvas : กรณีศึกษา จากร้านอาหาร สู่บริการ Food Delivery, Cloud Kitchen และ E-Marketplace

Digital Transformation Canvas : From Restaurant to Food Delivery, Cloud Kitchen, and E-Marketplace

ในช่วงที่ผ่านมา หนึ่งในธุรกิจที่มีการปรับตัวและมีการเติบโตสูงมากคือ ธุรกิจร้านอาหาร บทความนี้เรามาดูว่าร้านอาหารมีการปรับกลยุทธ์อย่างไร และจะก้าวสู่ผู้นำในธุรกิจ E-Marketplace ในอนาคตเหมือนที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศจีนได้อย่างไร

9 ช่อง ของ Digital Transformation Canvas

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือ Digital Transformation Canvas สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือ Digital Transformation Canvas เพื่อจะได้เข้าใจโมเดลในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจทั้ง 9 ช่องเพิ่มเติมได้ blog ของผมได้ที่ www.thanapongphan.com/canvas

Digital Transformation Canvas : From Restaurant to Food Delivery, Cloud Kitchen, and E-Marketplace

DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS ของ จากร้านอาหาร สู่บริการ Food Delivery

สิ่งที่เปลี่ยนไปใน DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS (DXC) จากร้านอาหาร สู่บริการ Food Delivery คือ

New Value Proposition นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
: เริ่มต้นด้วยการนำเสนอการบริการจัดส่งถึงบ้าน

New Digital Capabilities ขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
: สามารถสั่งอาหารออนไลน์ผ่านทาง Mobile Application, Facebook, LINE, Instagram ฯลฯ

Organisational Transformation ออกแบบการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
: ปรับบทบาทหน้าที่ของพนักงานในร้านอาหาร เช่น จากพนักงานเสิร์ฟ เปลี่ยนเป็น พนักงานรับออเดอร์ออนไลน์และพนักงานขับรถมอเตอร์ไซต์ส่งอาหาร

Agile Strategy and Planning เปลี่ยนกลยุทธ์และการดำเนินงานด้วยแนวคิด Agile
: ผู้บริหารและพนักงานองค์กรมี Mindset หรือวิธีคิดที่ดี ในการยอมรับและปรับตัวจากการดำเนินการธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบเดิม ๆ มีการปรับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ เช่น จากพนักงานบัญชี มาเป็นผู้ช่วยเตรียมและนับสินค้าเพื่อเตรียมส่งอาหาร เป็นต้น

Building Collaborative Ecosystem สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
: ร่วมมือกับผู้ให้บริการส่งอาหารต่างๆ เช่น Grab Food, LINE MAN, Food Delivery

ไม่ใช่แค่ร้านอาหารหรือบริการ Food Delivery ที่เข้ามาสู่ตลาดที่มีมูลค่าและการเติบโตสูงนี้

ภาพจาก https://www.facebook.com/Locall.bkk/

Locall.bkk บริการเดลิเวอรีช่วยให้ร้านอาหารเล็กๆ ย่านประตูผี-เสาชิงช้า มีรายได้จุนเจือยามโควิด-19 มาเยือน

Locall.bkk เป็นบริการเดลิเวอรีน้องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเพียงไม่กี่วัน โดยเจ้าของ Once Again Hostel โฮสเทลขนาดกลางที่ตั้งอยู่ในซอยสำราญราษฎร์หรือย่านประตูผี ก่อตั้งขึ้นมาหลังจากพบว่าร้านอาหารเล็กๆ หลายแห่งในชุมชนกำลังจะต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีลูกค้า

Locall.bkk จึงเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการอาสาเป็นตัวกลางที่ทำให้ร้านเล็กๆ ในย่านประตูผี-เสาชิงช้าเหล่านี้ยังคงมีรายได้จุนเจือ โดยที่พวกเขาไม่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองขนานใหญ่ให้เข้ากับแพลตฟอร์มใหญ่ยักษ์ แต่ใช้วิธีให้ลูกค้าเลือกเมนูร้าน Local สั่งอาหาร จ่ายเงิน จัดการขั้นตอนทั้งหมดผ่านไลน์ https://lin.ee/mvYtOUt โอนเงินผ่าน QR Code

จากนั้นส่งออร์เดอร์ให้คนขับมอเตอร์ไซค์ในละแวกชุมชนช่วยตระเวนซื้ออาหารร้านต่างๆ ให้แล้วนำไปส่งที่บ้านของลูกค้า ในช่วงนี้เพิ่งเริ่มต้นทดลอง โดยจะจัดส่งในพื้นที่เขตต่างๆ ที่อยู่ในระยะไม่ไกลจาก Once Again Hostel ซอยสำราญราษฎร์ กำหนดค่าอาหารขั้นต่ำที่ 300 บาทต่อเที่ยว เพื่อให้ลูกค้าสั่งหนึ่งครั้งอิ่มได้ทั้งครอบครัว และยังช่วยอุดหนุนร้านค้าเล็กๆ ย่านประตูผี-เสาชิงช้าอีกด้วย

ล่าสุด Locall.bkk ครอบคลุมเขตต่างๆ ดังนี้ ยานนาวา, สาทร, บางรัก, ปทุมวัน, ราชเทวี, พญาไท, สัมพันธวงศ์, ป้อมปราบศัตรูพ่าย, พระนคร, ดุสิต, บางพลัด, บางกอกน้อย, บางกอกใหญ่, ธนบุรี, คลองสาน, บางคอแหลม โดยคิดค่าบริการส่งอาหารเริ่มต้น 30 บาท และบวกเพิ่ม 7 บาทต่อกิโลเมตร โดยสั่งอาหารขั้นต่ำราคา 300 บาทต่อครั้ง สั่งกี่ร้านก็ได้เหมือนเดิม

— — อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Locall.bkk ทั้งหมดได้ที่ https://thestandard.co/locall-bkk/

หลายธุรกิจที่ไม่ใช่ร้านอาหารและ Food Delivery ก็เข้าสู่ตลาดนี้ด้วย เช่น SKOOTAR ไม่เพียงเป็นแอปฯ สำหรับให้บริการแมสเซ็นเจอร์จัดส่งเอกสาร และพัสดุ ปัจจุบันให้มารุกตลาด Food Delivery ด้วยเช่นกัน

เชื่อว่าโมเดลของ Locall.bkk และ SKOOTAR จะเกิดขึ้นอีกมากมายและกระจายในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศได้

DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS ของ จาก Food Delivery สู่บริการ Cloud Kitchen

Cloud Kitchen เป็นรูปแบบธุรกิจรร้านอาหารแบบไม่ต้องมีหน้าร้านในยุค Food Delivery

ช่วงนี้ ไม่ว่าใครต่อใครก็สามารถทานอาหารจากร้านดังได้โดยไม่ต้องไปที่ร้าน ด้วยการสั่งผ่านบริการ Food Delivery ที่มีอยู่มากมาย

ในไทยมีบริการหนึ่งเปิดตัวขึ้นมาคือ “Grab Kitchen” โดยเป็น concept ที่รวมร้านดังที่อาจจะอยู่ไกล มารวมอยู่ในครัวกลางแห่งเดียวที่สามย่าน ทำให้คนในเมืองแถวนั้นได้ทานอาหารร้านดังในราคาที่ถูกลงเพราะส่งใกล้ขึ้นค่าส่งถูกลง

แนวคิดการมีครัวกลางไม่ได้พึ่งจะเริ่ม แต่ในต่างประเทศมีหลาย Start-up จับธุรกิจนี้อย่างจริงจังมาซักพักแล้ว บางคนเรียกว่า Ghost หรือ Dark Kitchen คือเป็นครัวที่มองไม่เห็น บางคนเรียกว่า Cloud Kitchen หรือ Kitchen as a Service ก็ได้ แต่ทั้งหมดความหมายเดียวกันคือเป็น ‘พื้นที่ครัว’ ที่คุณมาเช่าได้เพื่อให้บริการขายอาหารผ่าน Online Delivery โดยเฉพาะ

ในมุมของเจ้าของร้านอาหาร การขยายกิจการคือการเปิดสาขาให้ลูกค้าในบริเวณใหม่เข้าถึงได้มากขึ้น การเปิดครัวโดยเช่าจาก Cloud Kitchen อาจถูกกว่าการเช่าพื้นที่เปิดร้านใหม่และสร้างครัวเองถึง 10 เท่า สามารถเปิดได้เร็ว แถมยังใช้บริการคนส่งกลางร่วมกันได้ด้วย ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ใหม่ ส่งอาหารสดใหม่ได้เร็วกว่า ในราคาที่ถูกกว่า

ไม่เท่านั้น ธุรกิจนี้ยังทำให้เกิดร้านอาหารแบบ ‘ไร้หน้าร้าน’ คือตั้งขึ้นมาเพื่อขนส่งอย่างเดียว โดยเช่า Cloud Kitchen กระจายทั่วเมืองเอา และใช้ Data จากการขายพยากรณ์ยอดขายในแต่ละอาทิตย์ และสั่งวัตถุดิบเข้ามาให้พอดีมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ต้องเก็บ stock มากมายซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลด้วย

สิ่งที่เปลี่ยนไปใน DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS จาก Food Delivery สู่บริการ Cloud Kitchen คือ

New Value Proposition นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
: ‘พื้นที่ครัว’ ที่คุณมาเช่าได้

New Business Model ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
: บริการแบบ Cloud Kitchen หรือ Kitchen as a Service

New Digital Capabilities ขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
: Order Management System, Kitchen Management System, Inventory Management System

Building Collaborative Ecosystem สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
: ร่วมมือกับผู้ที่มีครัวให้เช่าบริการ คนขับมอเตอร์ไซค์ หรือตุ๊กตุ๊ก

DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS ของ จาก Food Delivery สู่ E-Marketplace

จีนก็เริ่มอัปเกรดบริการ Delivery ของตัวเองไปอีกระดับแล้ว โดยผู้เล่นที่ออกตัวรายแรกคือ “Meituan” แอปพลิเคชันด้าน Food Delivery ที่มาพร้อมข้อเสนอใหม่แก่ผู้ใช้งาน นั่นคือ สามารถสั่งซื้อ “สมาร์ทโฟน” ได้จากแอปไม่ต่างจากการสั่งซื้อก๋วยเตี๋ยว หรือเกี๊ยวซ่า

โดยสมาร์ทโฟนที่แอป Meituan เปิดขายตามรายงานของ Financial Times คือ Huawei P40 ซึ่งภายในแอประบุว่า สามารถจัดส่งโทรศัพท์ยี่ห้อดังกล่าวให้ถึงมือผู้สั่งได้ภายใน 30 นาที พร้อมระบุว่า บริการนี้ยังเปิดแค่ในสามเมืองใหญ่ของจีนเท่านั้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากข้อดีของ Meituan จะพบว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่โดดเด่นมาก เนื่องจาก Meituan ทุกวันนี้มีความพร้อมเรื่องจำนวนพนักงานส่งของนับแสนรายอยู่แล้ว แถมการระบุเวลาในการจัดส่งว่าไม่เกิน 30 นาทีก็ยังเป็นระดับที่ “เหนือกว่า” บริการของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ด้วยนั่นเอง

โดยปัจจุบัน นอกจากสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มเข้ามาแล้ว ภายในแอปยังสามารถสั่งซื้อยาหรือเวชภัณฑ์, สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง, สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ขนมขบเคี้ยว ได้ด้วยเช่นกัน

การอัปเกรดบริการของ Meituan ในครั้งนี้จึงทำให้ตัวแอปเริ่มกลายร่างเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไปทีละน้อย และยังเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ด้วยความเร็วระดับ Food Delivery ซึ่งเป็นไปได้ว่า ในอนาคตอาจเป็นคู่แข่งที่ JD.com, Tmall, Taobao หรือบริการจัดส่งสินค้าในจีนอย่าง SF Express, ZTO Express ต้องจับตามองเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ Meituan ที่ลงมาเล่นในตลาดอีคอมเมิร์ซ แต่จะเห็นได้ว่า หลังจาก Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้ประกอบการจีนหลาย ๆ ราย โดยเฉพาะบรรดาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ก็ลงมาแข่งขันบนโลกอีคอมเมิร์ซเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Douyin (TikTok เวอร์ชันจีน) หรือ Weibo ซึ่ง Duane Kuang นักลงทุนจาก Qiming Venture Partners วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะแพลตฟอร์มเหล่านี้จับสัญญาณได้ถึงความต้องการของผู้คนในช่วงไวรัสระบาดนั่นเอง

“การระบาดของไวรัสทำให้ผู้คนใช้เวลาบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น และต้องการบริการ Delivery เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เราจึงได้เห็นแพลตฟอร์มต่าง ๆ เปิดตัวบริการที่ข้ามไปแข่งในตลาดของผู้เล่นรายอื่นตลอดเวลา ซึ่งถือว่าการออกสตาร์ทของตลาดจีนหลังไวรัส Covid-19 จบลง เป็นการแข่งขันที่ดุเดือดมาก”

— — บทความ จาก BRAND BUFFET​ โลกหลัง Covid-19 จีนอัปเกรด Food Delivery ไปขายมือถือ แถมจัดส่งถึงมือใน 30 นาที อ่านทั้งหมดได้ที่ https://www.brandbuffet.in.th/2020/04/meituan-upgrade-to-sell-huawei-via-courier-team/

สิ่งที่เปลี่ยนไปใน DIGITAL TRANSFORMATION CANVAS จาก Food Delivery สู่บริการ E-Marketplace คือ

New Value Proposition นำเสนอข้อเสนอทางคุณค่าใหม่ของธุรกิจ
: สั่งซื้อสินค้า/บริการ อื่นๆ ที่นอกจากอาหารได้ ด้วยบริการจัดส่งแบบ Food Delivery คือแค่ 30 นาที

New Business Model ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่
: ค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมใน E-Marketplace

New Digital Capabilities ขีดความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล
: E-Marketplace Platform

Building Collaborative Ecosystem สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมกันระหว่างในและนอกองค์กร
: ร่วมมือกับร้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร

ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของ Airbnb, AirAsia Digital และ RS Group ด้วย Digital Transformation Canvas

กรณีศึกษาเพิ่มเติมของ Netflix, ADOBE, Amazon, Ping An, Nestle, Stripe, 23andMe, ไปรษณีย์ไทย สามารถอ่านได้ที่หนังสือ Digital Transformation Canvas

ในปี 2021 นี้ โดยผมได้ทำกรณีศึกษาเพิ่มเติมของ Airbnb, AirAsia Digital และ RS Group สามารถเข้าไปดูได้ที่ YouTube ของ Digital Transformation Academy ลิงค์นี้ได้ครับ https://youtu.be/FA3xz-ZOGf0

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

Digital Transformation Canvas : กรณีศึกษา Flash Express ยูนิคอร์นรายแรกของไทย

20 บริษัท ที่ทำ Digital Transformation ดีที่สุดในโลก

Digital Transformation Canvas โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจ Step-by-Step

Digital Transformation Canvas : กรณีศึกษา Netflix

Digital Transformation Canvas : กรณีศึกษา จากร้านอาหาร สู่บริการ Food Delivery, Cloud Kitchen และ E-Marketplace

หนังสือ Digital Transformation Canvas และ Digital Transformation in Action

หนังสือ Digital Transformation Canvas และ Digital Transformation in Action ฉบับภาษาไทย มีจำหน่ายแล้ว ที่ร้านซีเอ็ดทุกสาขา และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สำหรับ Digital Transformation Canvas ฉบับภาษาอังกฤษ สามารถหาซื้อได้ที่ Amazon

ผู้ที่สนในสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ ได้ที่ www.thanapongphan.com/books ครับ

--

--