6 แอพฯ สำหรับคุณครูมือใหม่

Theerin Dittachot
3 min readNov 29, 2019

--

ต้องยอมรับเลยว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงเราทุกคน

ดังนั้นจึงเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่เราจะต้องใช้เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของเรา

สำหรับคนเป็นครูชีวิตประจำวันก็คงไม่พ้นเรื่องการสอนหนังสือ

แต่จะทำอย่างไรล่ะ? ให้การสอนของเรามีสีสัน ไม่น่าเบื่อ

วันนี้ผมจะมาแนะนำแอพพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหานี้ และจะมารีวิวการใช้งานจริงทั้งในสถานะนักเรียน และสถานะผู้สอน

สำหรับแอพฯ แรกที่จะกล่าวถึงเป็น Word cloud ยอดนิยมที่มีชื่อว่า “MENTIMETER”

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.mentimeter.com/blog/audience-energizers/live-audience-word-clouds

mentimeter เป็นแอพฯ สำหรับให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ครูตั้งขึ้นเป็นลักษณะของการพิมคำตอบ โดยจุดเด่นของแอพฯ นี้คือจะมีการรวบรวมคำตอบของนักเรียน แสดงผลบนหน้าจอ โดยคำตอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็จะมีตัวอักษรใหญ่ขึ้นและโดดเด่นที่สุด ส่วนคำตอบที่ได้รับความนิยมรองลงมา ก็จะมีขนาดลดหลั่นกันลงมาเป็นลำดับ ๆ วิธีการเข้าใช้งาน mentimeter เพียงแค่เข้า web browser ของคุณ แล้วไปที่ https://www.mentimeter.com/ จากนั้นจะมีให้เลือกว่าคุณจะเข้าไปในฐานะผู้ตอบคำถาม หรือผู้ตั้งคำถาม เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ และที่สำคัญสามารถเข้าไปใช้งานได้ ฟรี !!

มาเปลี่ยนรูปแบบของ Word Cloud ที่น่าสนใจมากขึ้นด้วย “LINO” กันเถอะ!!

ขอบคุณรูปภาพจาก https://blog.ednexio.com/2015/05/lino-sticky-notes-so-many-uses/

Lino เป็นแอพฯ word cloud อีกตัวหนึ่งที่ผมค่อนข้างชอบเป็นพิเศษ ด้วยความที่ปกติเป็นคนชอบใช้ Post-it ในการเขียน To-do-List แปะไว้เพื่อเตือนให้ตัวเองทำงานบางอย่างให้เสร็จเรียบร้อย สำหรับแอพนี้ลักษณะการใช้งานคล้ายกับ mentimeter แต่มีความโดดเด่นตรงที่สามารถให้นักเรียนเข้าไปตอบคำถามเป็น Sticky note ของใครของมันได้ เหมือนกับตอบคำถามโดยนำ Post-it ไปติดไว้บนกระดาน จุดเด่นคือแอพนี้จะแสดงทุก ๆ คำตอบที่นักเรียนทุกคนตอบมา ไม่ว่าจะซ้ำหรือไม่ซ้ำ รูปแบบการตอบก็ทำได้ทั้งแบบที่เป็นข้อ ๆ หรือ bullet point หรือจะตอบสั้นตอบยาวก็ใช้ได้หมด วิธีการเข้าใช้งานเพียงแค่เข้า web browser ไปที่ http://en.linoit.com/ ก็จะสามารถให้คุณครูสร้างกระดานให้นักเรียนเข้าไปตอบได้ง่าย ๆ เลย

มาจัดความรู้ให้เป็นระบบด้วย Mind Mapping เก๋ ๆผ่าน “COGGLE” กันดีกว่า

ขอบคุณภาพจาก https://gsuite.google.com/marketplace/app/coggle/884143833690

สอนจบบททีไรงานยอดฮิตที่ครูจะสั่งนักเรียนก็คงหนีไม่พ้นการทำแผนผังความคิดรวบยอด หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า “Mind Mapping” ซึ่งปกติการทำมายด์แมพฯ ของนักเรียนก็จะมีในธีมเดิม ๆ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม ก้อนเมฆ ลากเส้น โยงเส้น ซึ่งอาจจะสร้างความน่าเบื่อ ซ้ำซากจำเจ ให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน Coggle จึงน่าจะเป็นแอพฯ ที่จะมาตอบโจทย์ในข้อนี้ เพราะ Coggle เป็นเว็บไซต์สำหรับสร้างมายด์แมพฯ ออนไลน์ สามารถครีเอทหัวข้อใหญ่หัวข้อย่อย ได้ตามที่ต้องการ มีสีสันที่สวยงาม และที่สำคัญคือ สามารถจัดความเป็นระเบียบให้แผนผังของเราอ่านง่าย จัดวางหัวข้อได้อย่างเหมาะสม เมื่อทำเสร็จแล้วก็สามารถดาวน์โหลดมาเป็น PDF File หรือ ไฟล์รูปภาพแบบ .PNG ก็ยังได้ สำหรับใครที่อยากลองสร้างแมพปิ้งสวย ๆ ก็สามารถเข้าไปทดลองใช้ได้ที่ https://coggle.it/ ได้เลยครับ

สร้างแบบสอบปรนัยออนไลน์ ผ่านแอพฯ ยอดฮิตตลอดกาลอย่าง “KAHOOT” กันเถอะ !!

ขอบคุณภาพจาก http://www.elteaching.com/?page_id=278

ไม่นานมานี้ได้ฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่ที่ได้ไปฝึกประสบการณ์สอนมาจากโรงเรียนมัธยมชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อพี่คนนี้เข้าไปถึงในห้องเรียน เด็กนักเรียน ม.1 ผู้น่ารักต่างพากันตะโกนราวกับเชียร์ฟุตบอลว่า “ kahoot kahoot kahoot…” อยู่ระยะเวลาหนึ่ง ทำเอารุ่นพี่ของผมคนนี้ประหลาดใจอย่างหนัก ตั้งแต่นั้น kahoot จึงกลายเป็นเหมือนอาวุธลับที่พี่คนนี้ใช้เสมือนเงื่อนไขรางวัลสำหรับนักเรียนห้องนี้ ประมาณว่าถ้าเด็ก ๆ ตั้งใจเรียนคุณครูถึงจะให้เล่น kahoot ก็เป็นแง่มุมที่ฟังแล้วน่ารัก และน่าจะเป็นกลวิธีในการจัดการชั้นเรียนได้ดีทีเดียว :’)

เอาล่ะ มาพูดถึงการใช้งาน Kahoot บ้างดีกว่า เชื่อว่าหลายคนก็คงได้เคยเล่นแอพนี้ ในฐานะผู้เรียนมาแล้ว ซึ่งทุกคนก็คงทราบดีว่านี่คือสุดยอดแห่งแอพฯ ที่เข้าถึงก็ง่าย ใช้งานก็ง่ายไม่ซับซ้อน อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะเข้าใจว่า kahoot สร้างแบบสอบได้แค่แบบ multiple choices แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะ KAHOOT สร้างรูปแบบของคำถามได้มากถึง 6 รูปแบบ !!

ทั้งแบบ Quiz หรือที่เป็น choice อย่างที่เราคุ้นเคย เป็น True-False ถูกผิด หรือแบบที่ต้องเรียงคำตอบในช่องว่างจาก choice ให้ถูกต้อง หรือ puzzle

อีกทั้งยังมีกลุ่มของการแสดงความคิดเห็นอาจเป็นลักษณะของ Poll หรือ word cloud

หรือยังสามารถสร้างเป็น slide presentation ได้อีกด้วย

การเข้าใช้งาน Kahoot สำหรับผู้สอนให้เข้าไปที่ https://kahoot.com/ เพื่อสร้างข้อคำถามต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นผู้เรียนให้เข้าไปที่ https://kahoot.it/ แล้วใส่ Code ตามที่ผู้สอนได้ให้ไว้ ก็เข้าไปตอบคำถามได้เลย หรือเพื่อความปังเราอาจจะดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน KAHOOT ติด Smart phone หรือ Tablet ไว้เลยก็ได้ มีให้โหลดทั้งในระบบ IOS และ Android สำหรับพร้อมใช้ทุกสถานการณ์!

“เหนื่อยจังเลยจารย์ เรียนที่บ้านได้มั้ย?” ครูก็ขอ บอกว่าได้เพราะครูมีเพื่อนสนิทและแสนดีมาก ๆ เขามีชื่อว่า “GOOGLE CLASSROOM”

ปัจจุบันนี้ Google เป็นเสมือนเซเว่นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนบนโลก เพราะเรียกว่าได้ว่าบริการของ Google ในเวลานี้ถือว่าครอบจักรวาลมาก ๆ

สำหรับ Google Classroom นี้ เป็นห้องเรียนจำลองที่เน้นไปที่การประเมินชิ้นงานของนักเรียนรูปแบบต่าง ๆ แม้ไม่ได้ไปโรงเรียนก็ยังสามารถทำงานส่งตามที่ครูมอบหมายได้ รูปแบบของการประเมินก็มีตั้งแต่ Quiz Assignment เป็นการทำข้อสอบผ่านระบบของ Google form สามารถเฉลยและใส่คะแนนให้ในตอนท้ายด้วย และยังสามารถส่งงานเป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ทั้ง .docx .pdf หรือ ไฟล์รูปภาพต่าง ๆ โดยงานที่นักเรียน upload ส่งมา จะถูกบันทึกไว้ใน Google Drive ของครู และครูสามารถให้คะแนนนักเรียนผ่านระบบของ Classroom ได้เลย สำหรับการ Assign ชิ้นงานก็สามารถกำหนดได้ทั้งคะแนนเต็ม และ Dateline ของงานได้

สำหรับการเข้าใช้ Google Classroom อันดับแรกไม่ว่าจะครูหรือนักเรียน จะต้องมี Gmail ของ Google เสียก่อน จากนั้นเข้าไปที่ https://classroom.google.com เมื่อ Login เข้าไปก็จะมีให้เลือกได้ 2 อย่าง อย่างแรกคือ Join Class หรือเข้าร่วมชั้นเรียน โดยให้นักเรียนใส่รหัสห้องเรียนที่ครูสร้างไว้ ก็จะเข้าไปยังห้องเรียนนั้นได้เลย และอย่างที่สอง คือ Create Class สำหรับให้คุณครูเข้าไปสร้างห้องเรียนเสมือนได้

สุดท้ายนี้มาพบกับ All-in-One แพลตฟอร์มออนไลน์ ทำได้สารพัดอย่าง รูปแบบสวยทันสมัย สิ่งนี้มีชื่อว่า “WOOCLAP”

ขอบคุณภาพจาก https://www.wooclap.com/

สไลด์ก็ต้องทำมาสอน คำถามก็ต้องถาม แต่จะตอบก็ต้องตอบทั้งที่เป็นช้อยส์ และเป็นเติมคำ ทั้งหมดนี้ถ้าทำในคาบเดียวครูต้องตาลีตาเหลือกเตรียมมากี่แอพฯ เนี่ย

คำตอบของคำถามด้านบนนี้ก็คือ “แอพฯ เดียวพอ” เพราะ WOOCLAP อันเดียวก็เอาอยู่หมดทุกรูปแบบ ไปดูกันเลยดีกว่าว่าเจ้า wooclap เนี่ย เขาทำอะไรได้บ้าง

multiple choice ก็ทำได้
Rating Scale ก็มี
Poll สำรวจความคิดเห็นก็ทำได้
จะตอบคำถามเป็นเติมคำสั้น ๆ ปลายเปิดก็ทำได้เช่นกัน
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ทำสไลด์สวย ๆ ใส่เข้าไปด้วยเลย จะได้ไม่ต้องเปิดไปเปิดมา

บอกไว้ก่อนเลยว่านี่เป็นแค่ความสามารถบางส่วนเท่านั้น !! หากคุณอยากรู้ว่า wooclap นี้ทำอะไรได้อีกก็สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มได้ที่ https://www.wooclap.com/en/features/votes/

ฉะนั้นมาถึงตรงนี้แล้วผมคงไม่ต้องอธิบายความ All-in-One ของ WOOCLAP อะไรมากแล้ว เพราะทุกคนคงได้เห็นควาทรงพลังของมันแล้วแหละครับ

สำหรับการเข้าไปใช้งาน WOOCLAP ก็เข้าไปที่ https://www.wooclap.com/ จากนั้นก็สร้างสิ่งที่เราจะใช้สอนตามที่ต้องการได้เลย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สามารถส่ง URL ของห้องเรียนของเราไปให้นักเรียนเข้า นักเรียนก็จะสามารถร่วมกิจกรรมของเราผ่านระบบออนไลน์ได้เลย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ 6 แอพฯ สำหรับคุณครูมือใหม่ ถ้าหากว่าใครมีแอพพลิเคชันอะไรเจ๋ง ๆ น่าสนใจ ก็สามารถนำมาแชร์กันได้เลยนะครับ

สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณครู นักการศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปที่เข้ามาอ่านก็สามารถนำแอพฯ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ ก็ได้เช่น

ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านครับ :)

--

--