Sitemap

บันทึก Humanistic Architecture

2 min readFeb 6, 2023

ก่อนที่จะเริ่มเรียน ในหัวพยายามจะไม่คาดหวัง และบอกว่าเรียนจบแล้วตัวเราจะได้อะไร เพียงแค่ปล่อยวางและเปิดรับเพื่อให้เราไม่ได้กำหนดปลายทางของมัน (แต่ลึกๆก็มีบ้างแหละเพราะ โดยส่วนตัวจะไม่ชอบอะไรที่เป็นแนวจิตวิทยาเท่าไหร่ เพราะภาพยังจำกับการตื่นเช้าไปนั่งเช็คชื่อในคาบจิตวิทยาสมัยก่อน ที่บอกว่าฉันเรียน วิดคอม แล้วทำไมต้องเรียนด้วยวะ แต่พอเริ่มทำงานมาเรื้อยๆจนถึงปัจจุบันแม่งมันโคตรจะสำคัญ)

เมื่อเราไม่พอใจกับสิ่งๆหนึ่ง สิ่งๆนั้นจะเป็นจะกลายเป็นปัญหาในอีกบริบทหนึ่งแต่ถ้าเมื่อไหร่ เรามีความพึ่งพอใจกับ สถานะการณ์นั้นๆ มันก็จะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเป็นประโยคที่ชอบมากเมื่อได้มานั่งเรียนหัวข้อ Humanistic Architecture

นิยามของหลักจิตวิทยา โดยคร่าวๆ จะถูกแบ่งออกเป็น

  1. Behaviorism
  2. Psychoanalysis
  3. Humanistic

โดย พี่ชาคริสได้หยิบเอา humanistic มาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ และได้เอามาแบ่งปันความรู้กันในคลาสนี้ เนื้อหาในแต่ละวันมีดังนี้

Day 1#

เราสามารถเรียกได้เลยว่าดำดิ่ง …. ด้วยความที่ไม่ชอบจิตวิทยามาตั้งแต่แรก การเปิดรับอะไรที่มากะแนวทางนี้มักจะมีความไม่ตั้งใจ ปนๆอยู่ กันพอสมควร ซึ่งผู้สอน ได้หยิบเอาหลักการ therapy ที่มีชื่อว่า Satir มาเล่าสู่กันฟัง และพูดอยู่ประโยคนึงว่า “คนเรามีศักยภาพที่หลับซ้อนอยู่ในตัวเรากันทุกคนอยู่แล้ว เพียงแค่มันยังไม่มีใครปลุกมันขึ้นมา” ในใจนึกคิดด้วยตนเองอีกอย่างนึงว่า นี่มันขายตรงหรือเปล่าเนี้ย แต่พอฟังไปเรื้อยๆ ผู้สอนได้พูดเตือนขึ้นมาว่าหลักการที่หยิบยกมานี้ มันขึ้นอยู่กับคนที่นำมาใช้ ถ้าใช้ไปในทางที่ผิดเราก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ผิด … จากตรงนี้ผมเข้าใจว่าสิ่งที่เคยไปนั่งทนฟังพวกที่ขายตรงมาคือ..มันใช่ คนพวกนั้นอาจจะไม่ได้ผิดแต่เค้าเลือกใช้เครื่องมือกระตุ้นความสามารถของคนเรานี่ละ หลังจากนั้นก็เลยเริ่มปล่อยวาง และเปิดใจมากขึ้น

กลับมาที่เนื้อหา.. สิ่งที่คัญของคลาสเรียนนี้คือการที่ทำให้เราได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น และกล้าที่จะสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหาวิธีรับมือกับอารมณ์ของคนได้ดีขึ้น โดยมีกระบวนการ 3 ศูนย์ (ไม่ใช่ที่เป็ดแพ้นะ) หรือมีชื่อภาษาอังกฤษที่เรียกว่า 3 Centre of Intelligence ประกอบไปด้วย

  1. Head Centre: ความคิด, ความกลัว (กลัวกับอนาคตที่ยังไม่เกิด), ความกังวล (เป็นผู้ชนะ แล้วผู้ชนะได้อะไร), เหตุผล
  2. Heart Centre: ความรู้สึก, พลังที่อยู่ในใจ, ความอยาก
  3. Body Centre: การกระทำ, การตอบสนอง (เกิดจากสัญชาตญาณ) หรือยังตัวอย่างเช่นความโกรธต้องระบายหรือทำร้ายกับผู้อื่น

ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวนำพามาสู่ “ความปรารถนา” (yearnings) …. จบตรงนี้ ยังคิดอยู่ว่าขายตรง แล้วมันเกี่ยวกันยังไง (วะ?)

ด้วยความที่ day 1# เต็มไปด้วยการนำพาทฤษฎีต่างๆ และโมเดลของ physicology ใช้เป็นเครื่องมือในการบำบัด เช่น Satir model, Enneagram แถมพาทำกิจกรรม ประกอบการเรียน คลาสเรียนในวันแรก ก็จบลงด้วยความ งงๆ ระหว่างหลังเรียนก็ มาลองทบทวนกับ keyword ที่ได้มา (**นี่ไงคือสิ่งที่คลาสเรียนในวันแรกอยากจะสื่อ “ถ้าเราคิดว่ามันเป็นปัญหา มันจะทำให้เกิดปัญหา และความปรารถนาที่จะแก้ปัญหาในความไม่เข้าใจ​”)

Day 2#

ว่าด้วยเรื่องของ abstraction ที่พูดถึง expectation ในสิ่งที่เราต้องการในด้าน architecture

  1. Conceptual abstraction
  2. Structural abstraction

การตีความ yearning ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน comfort, safe หรือ happiness

“เริ่มลงมือ”

การลงมือในคลาสมีกิจกรรมให้ทำร่วมกันเป็นจำนวนมากเพื่อทำให้เราฝึกการคิด และวิเคราะห์สถานะการณ์ในแต่ละแบบ แก่นของมันคือ การนำเอาหลัก ที่ได้เล่ามาประยุกต์ ในบทความนี้ถ้าเราจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและใกล้เคียงกะความเป็นจริง โดยใช้หลักของ 3 ศูนย์มาช่วยในการวิเคราะห์ ในงานที่เกี่ยวกับ software engineer ได้ดังตัวอย่างประมาณนี้

“เราอยากเปลี่ยนเป็น micro service ดีไหม” ?

จะเห็นว่า ตัวอย่างที่หยิบยกมาเราจะเห็นได้ว่า yearning คือ …

problem solving

แบ่งออกเป็น 3 ศูนย์ได้ประมาณนี้

3 Centre of intelligence

ตัวอย่างที่ลองทำอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด แต่มันคือการที่ทำให้เราได้ถอยหลังออกมาและย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง, ทีม, user, ลูกค้า เพื่อวิเคราะห์ ความปรารถนาของผู้รับ ได้ยอมรับมันได้อย่างดีที่สุด หรือ decision making ประมาณนั้น ซึ่งมันก็ดีกว่าเรา กระโดดลงไปอยู่กับปัญหา แล้วหาทางออกไม่ได้นั่นแหละ

เป็นบทความที่เขียนยาวที่สุดเท่าที่เคยเขียนมาเลยทีเดียว เนื้อหาทั้งหมดอาจจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด แต่พยายามหยิบเอามาให้เห็นถึงวิธีการใช้งานเพื่อเป็น Guideline ให้กับตัวเองเวลากลับมาอ่านใหม่อีกรอบ ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ

ถ้ามีโอกาสอยากไปเข้าร่วมคลาสบ่อยๆ ไปรับพลังจากคนเก่งๆ คนที่พร้อมจะเพิ่มพลังบวก ให้กับเรา และอย่าลืมที่จะรู้คุณค่าของตัวเอง

--

--

No responses yet