Non-IT HR พาเที่ยวงาน Agile Thailand 2023 At True Digital Park

Thirapat Jiravorapat
4 min readJun 18, 2023

Business people and developers must work
together daily throughout the project.

ประโยคที่กล่าวไว้ด้านบน คือ 1 ใน 12 ของ Agile principle ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นธีมของงาน community agile ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กับงาน Agile Thailand 2023 ที่จัดขึ้น ณ. True Digital Park เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566

บรรยากาศของงานโดยรวม จะเป็นงานลักษณะ Unconference ซึ่งก็คือการสัมนาแบบไม่มีการกำหนดหัวข้อไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มงาน เพื่อให้ทุกคนใน community ที่เดินทางมาเข้าร่วมงาน สามารถเลือกพูดในสิ่งที่อยากแบ่งปันให้เพื่อนๆท่านอื่นทราบ ด้วยการเปิด session ของตัวเอง หรือ ใครไม่รู้จะพูดเรื่องอะไร (แบบผม) ก็เลือกที่จะเป็นผู้เข้าฟังในหัวข้อที่ตนสนใจได้เช่นกัน โดยยึดหลักการง่ายๆตามรูปด้านล่างนี้ครับ

Open Space Principles
Law of Two Feet กฎของเท้าสองข้าง

สำหรับงาน Agile Thailand 2023 นี้ ทางบริษัท Axons เป็นผู้สนับสนุนงานดีๆแบบนี้ให้เกิดขึ้น โดยก่อนเริ่มงาน คุณ​สรรเสริญ สมัยสุต Managing Director of AXONS ได้กล่าวเปิดงาน ก่อนที่จะเข้าช่วงของการ pitching หัวข้อในแต่ละ session โดยมีเวลาจำกัดเพียง 30 วินาที (คนหลังๆโดนลดเหลือ 20 วินาที 555)

สรุปประเด็น Session ที่ผมเลือกเข้า

S1: Dojo Coaching Journey by K. Na

ผมเลือกเข้า session นี้เพราะส่วนตัวทำงาน HR ด้าน Training & Development จึงสนใจหัวข้อนี้เป็นพิเศษฮะ ซึ่งคุณนา ได้อธิบายถึงความหมายของ Dojo (道場) หรือ โรงฝึกในภาษาไทย ซึ่งเป็นรูปแบบของการเรียนรู้แบบ Immersive Learning Program ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะหล่อหลอมให้ผู้ฝึก ได้เรียนรู้ผ่านการทำซ้ำๆ ภายใต้สถานการณ์จริง ที่ไม่เหมือน Inhouse Training ทั่วไปที่เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง หรือ ใน sandbox environment.

Definition of DOJO

การ Training แบบปกติที่เราทำกัน VS DOJO ต่างกันอย่างไร? อะไรดีกว่า?

จากภาพด้านบน นี่คือการแสดง Head to Head เปรียบเทียบกันระหว่าง Traditional Training กับ DOJO ครับ ซึ่งหากต้องเลือกว่ากระบวนการใดดีกว่ากัน อาจจะตอบยาก (ในมุมมองของผม) เพราะคงต้องดูที่วัตถุประสงค์ ว่าสุดท้ายแล้วเราอยากจะพัฒนาในส่วนไหน Knowledge Skill หรือ Attribute ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าถ้าพัฒนาในเรื่อง Skill และ Attribute, Dojo คงจะเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจในการนำมาใช้เลยทีเดียว :)

สภาพแวดล้อมของ Dojo ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  1. Dojo Space พื้นที่โรงฝึก
  2. Transparency การทำให้งาน และ ปัญหาทุกอย่างสามารถ visualize ได้ (เขียนบอร์ดซะ)
  3. Hyper Sprint เร่งการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เน้นผลลัพธ์
  4. Dojo Coach โค้ชที่มีความรู้และทักษะในเนื้อหาของงานที่จะทำฝึก และสกิลในการฟา และโค้ชชิ่ง เพื่อสร้าง trust ให้กับทีม

การทำ Dojo coaching คืออะไร?

พาดู Dojo coaching Journey ของคุณนา

ในสัปดาห์แรก โค้ชจะทำหน้าที่ในการ ice breaking ทีม เพื่อให้คุ้นชินกับบรรยากาศของ Dojo และสร้าง Trust ให้เกิดขึ้น อธิบาย Ground rule ในการอยู่ร่วมฝึกด้วยกัน แปะ Kanban board และเติมรายละเอียดสิ่งที่ต้องทำเป็นต้น

ในสัปดาห์ที่ 2–3 คุณนาได้เล่าให้ฟังถึงการ Visualize ปัญหาที่ซ่อนเร้น หมกอยู่ใต้พรมในการทำงานของทีมที่เข้ารับการฝึก (ชื่อทีม EXODIA) โดยรูปบ้านที่เราเห็นในบอร์ดนั้น จะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทั้งทีม มีงานที่ถืออยู่เท่าไหร่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และงานนั้นเข้ามาด้วยวิธีไหน ไปๆมาๆ ทีมนี้มีช่องประตูที่เปิดอ้าให้งานเข้ามาในบ้านถึง 22 ประตู ส่งผลให้เกิด overload งานคอขวดเป็นต้น

นอกจากนี้ ตัวบอร์ดอื่นๆก็ถูกละเลงเต็มไปด้วย sticky note เพื่อให้ทีมเห็นว่ามี WIP คงค้างเท่าไหร่ สิ่งไหนเป็น Blocker ในการทำงาน รวมถึงผลการวัด Productivity ของทีมเป็นต้น

สัปดาห์ที่ 4–5 เป็นการเรียนรู้เครื่องมือ และ เทคนิคต่างๆ ที่จะช่วยเสริมการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และให้ทีมได้วัดผลเพื่อดู gap และหลังจากนี้ Dojo coach จะลดบทบาทการทำหน้าที่ฟาของตัวเอง และให้ Scrum Master ที่ร่วมเรียนรู้ฝึกฝนกับทีมมาตลอด 3 สัปดาห์ ได้กลับมาทำหน้าที่ ฟา ให้กับทีม (โดย Dojo coach จะเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ)

สัปดาห์สุดท้าย “เตรียมส่งออก” นำงานที่ได้ร่วมทำและเรียนรู้ด้วยกันใน dojo เตรียมเอากลับไปทำต่อนอกโรงฝึก และให้สมาชิกในทีมร่วม Retrospective ร่วมกัน

สรุปคือ 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมได้ทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน ได้มองเห็น และเข้าใจปัญหา โดยมี Dojo coach เป็นผู้กำกับ และ แนะนำการทำงานเป็นทีมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเราสามารถนำวิธินี้ไปปรับใช้ เพื่อสร้าง Learning environment ในที่ทำงานได้ครับ หากเรามีทักษะในการ ฟา | สอน |โค้ช เราอาจจะลองเปิด Dojo เล็กๆในเรื่องที่เราถนัด และให้คนที่สนใจมาลองฝึกเรียนรู้ไปกับเราได้ครับ

Continuous Learning :D

S2: Healthy Conflict by K. Ohm, Dojo SPIRIT

ความขัดแย้งในการทำงาน จะเป็นเรื่องธรรมดามากๆ หากเราขัดแย้งกันเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ร่วมกัน

Session ที่สองที่ผมเข้าร่วมก็จะยังวนเวียนอยู่ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับอะไรที่เป็น IT Technical เหมือนเดิมครับ

ในหัวข้อนี้พูดถึงเรื่องการทำ Healthy Conflict ซึ่งต้องบอกว่า วัฒนธรรมของคนไทย อาจจะไม่คุ้นชิ้นกับเรื่องนี้มากนัก แต่ส่วนตัวผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดี และ ใครที่สามารถทำได้ จะดูเป็นคนทำงานที่มืออาชีพมากๆครับ

4 ขั้นตอนของความขัดแย้ง (ที่ดี)

ขั้นตอนที่ 1 ทุกๆครั้งที่เกิด conflict สิ่งแรกที่เราต้องปล่อยให้เกิดขึ้นก็คือการเข้าสู่โหมดปกป้องตนเอง ให้คนที่ขัดแย้ง ได้พูด defend ในแนวคิดของตัวเองออกมาก่อน แทนที่จะเดินหนีปัญหา และซุกมันเอาไว้ใต้พรม

ขั้นตอนที่ 2 เราเรียนรู้จากแนวคิด และ เหตุผลที่มาของ สิ่งที่คนในขั้วตรงข้ามของเราแสดงออกมา และ พยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาคิด

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเราเป็นผู้รับฟังมากขึ้น ความตึงเครียดก็ย่อมลดลง ส่งผลให้สามารถทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมกันทำ ขั้นตอนที่ 4 ในการเปลี่ยนความขัดแย้ง สู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก

เทคนิคของการทำ Healthy Conflict ซึ่งเราอาจจะนำไปลองปรับใช้กันครับ

S3: Lean coffee talk

ปิดท้าย Blog นี้ด้วย session ที่ 3 ครับ เป็นการร่วมกันทำ Lean talk ง่ายๆ ผ่าน platform Lean Coffee Table

Lean coffee talk คืออะไร สามารถอ่านได้ที่ >> What is Lean Coffee? — an introduction to agenda-less meetings (agilecoffee.com)

บรรยากาศในห้อง

โดยหัวข้อที่เราร่วมกันพูดคุยใน session นี้ที่ผมพอจำได้ก็มีประมาณนี้ครับ (น่าจะลืมไป 2 ข้อ)

  • Personality ของ Team Leader มีผลกับการทำงานของทีมหรือไม่
  • PO บอก Dev ว่าทุก Features ใน release นี้สำคัญเท่ากันหมด ทำอย่างไรดี
  • Management / Business ให้เปลี่ยน Feature ที่ต้องส่งกระทันหัน แต่ให้ใช้เวลาต่อจาก sprint เดิมที่ทำอยู่ในอีก Feature นึง

สรุปว่า session นี้ enjoy ครับ เพราะไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้คุยเรื่องอะไรบ้าง ยิ่งพอได้คุยกันแบบ Lean coffee talk แบบนี้ทำให้มันกระชับ และ ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ขอบคุณทีมงานผู้จัดงานในครั้งนี้มากๆครับ ที่จัดงานออกมาได้ยังเรียบร้อย และอลังการมาก ทั้งของแจก อาหาร และสถานที่ รวมถึง speakers ทุกท่านที่ได้มาแบ่งปันความรู้ดีๆครับ

คนนอกวงการ IT อย่างผมรู้สึกสนุก และคุ้มค่าที่ได้มีส่วนร่วมในงานนี้มากครับ

--

--