Responsibility vs. Accountability

Thiti Pisanpattanakul
2 min readOct 19, 2021

--

ความหมาย ความแตกต่าง ความสำคัญ และการนำ Accountability ไปประยุกต์ใช้กับ Resume

Accountability แตกต่างจาก Responsibility อย่างไร? อันไหนสำคัญกว่ากัน? เนื่องจากเสาร์-อาทิตย์ ที่ผ่านมานี้ผมได้มีโอกาสนำ Resume ที่อัพเดทไปให้คุณพ่อช่วยเช็คให้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเช็คเลย พอคุณพ่อใช้เวลาไม่นานกวาดตามองตรง Work experiences คำถามคำแรกที่คุณพ่อถาม คือ รู้รึป่าว Accountability แตกต่างจาก Responsibility อย่างไร? ผมก็นิ่งไปพักนึงแล้วก็คิด “เอออว่ะไม่เคยคิดแฮะว่าว่าสองคำนี้มีความแตกต่างกัน” เนื่องจากแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้วนั้นทั้งคู่จะมีความหมายคล้ายคลึงกัน นั่นคือ ความรับผิดชอบ ซึ่งคนส่วนใหญ่แยกไม่ออกและสับสนระหว่างสองคำนี่นกัน แต่หารู้ไม่ว่าความจริงนั้นสองคำนี้มีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะ Accountability ที่เป็นตัวบ่งชี้ความสามารถ ตลอดจนเป็นตัวที่ระบุว่าคนคนนั้นจะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานขนาดไหน ดังนั้นการเขียน Resume นั้นจะเน้นไปที่ Accountability แทนที่จะเป็น Responsibility โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง ความหมายของ Responsibility และ Accountability, ความแตกต่างและความสำคัญของ Responsibility และ Accountability , และการเขียน Resume

ความหมายของ Responsibility และ Accountability

อ้างอิงจากเว็บไซต์ Responsibility มีความหมายว่า “ความรับผิดชอบ” ส่วน Accountability “ความหมายว่า ภาระรับผิดชอบ” อย่างไรก็ตามผมขอขยายความสองคำนี้ดังต่อไปนี้

1. Responsibility คือ ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยจะโฟกัสไปที่บทบาท หน้าที่ การกระทำ หรือกระบวนการทำงานเฉพาะตัวงานๆนั้นๆที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงอย่างถูกต้องและตรงเวลา โดย Responsibility นั้นสามารถแชร์กับผู้อื่นได้ ตัวอย่างของ Responsibility: เป็นความรับผิดชอบของพนักงาน ที่จะต้องดูแลสต็อกสินค้าของบริษัท ดังนั้น Responsibility ของพนักงาน คือ จัดเก็บสต็อกสินค้าและสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมเพื่อทำให้สต็อกสินค้าเพียงพออยู่ตลอด

2. Accountability คือ ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น โดย Accountability นั้นจะมุ่งประเด็นไปที่ความรับผิดชอบกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ โดยจะมีความเฉพาะเจาะจงกับคนใดคนหนึ่งขึ้นอยู่กับทักษะและบทบาทของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่มาจากตนเองและจากลูกน้อง ตัวอย่างของ Accountability: เป็นความรับผิดชอบของพนักงาน ที่จะต้องดูแลสต็อกสินค้าของบริษัท ดังนั้น Accountability ของพนักงาน คือ ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นหากสต็อกสินค้าไม่เพียงพอ

ความแตกต่างและความสำคัญของ Responsibility และ Accountability

โดย Accountability มีความแตกต่างกับ Responsibility อย่างมาก ดังที่กล่าวไปว่า Responsibility คือ ความรับผิดชอบที่จะทำงานให้สำเร็จ แต่ Accountability คือ ความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากงานที่สำเร็จนั้นๆ พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต ประกอบด้วย ช่างฝีมือและหัวหน้าสายการผลิต โดย Responsibility ของช่างฝีมือและหัวหน้าสายการผลิต คือ การผลิตสินค้าให้ตรงตามสเปคและส่งมอบสินค้าให้ทันเวลา อย่างไรก็ตามหากสินค้าที่ผลิตได้ไม่ตรงตามสเปคหรือผลิตได้ไม่ทันเวลา จะเป็น Accountability ของหัวหน้าสายการผลิตที่จะต้องรับผิดกับผลที่เกิดขึ้น นั่นคือ ตอบคำถามผู้บริหาร, คอยต่อรองกับลูกค้า, ตลอดจนได้รับโทษหากเป็นข้อผิดพลาดที่รุนแรง ดังนั้น Accountability จึงมีความสำคัญมากในหน้าที่การงาน นอกจากจะเป็นตัวระบุถึงระดับความสามารถและความรับผิดชอบชอบคนใดคนหนึ่งแล้วนั้น ยังเป็นตัวกำหนดผลตอบแทน เงินเดือน ตลอดจนตำแหน่งในหน้าที่การงาน แม้ว่าคน 2 คนมี Responsibility เหมือนกัน แต่หากคนหนึ่งมี Accountability มากกว่าอาจส่งผลให้ตำแหน่งหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำงานมีความแตกต่างกันอย่างมากเลยทีเดียว

การเขียน Resume โดยใช้ Accountability

ดังที่กล่าวไป Accountability เป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถและผลตอบแทนหรือหน้าที่การงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้นการเขียน Resume โดยแสดงถึง Accountability แทนที่ Responsibility จะทำให้ Resume ของเรามีโอกาสโดดเด่นกว่าคนอื่นได้ โดยวิธีการแปลง Responsibility เป็น Accountability มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ระบุการกระทำ: อธิบายว่าสิ่งที่กระทำแล้วสำเร็จคืออะไร

2. ระบุวิธีการกระทำ: อธิบายว่าวิธีการกระทำที่ทำให้ผลลัพธ์สำเร็จคืออะไร

3. แสดงผลลัพธ์ให้เป็นรูปประทำ: แสดงถึงผลกระทบหรือคุณค่าจากการกระทำ พร้อมทั้งอธิบายว่าการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร

ตัวอย่างการแปลง Responsibility เป็น Accountability

ตัวอย่างที่ 1:

  • Responsibility: วางแผนกิจกรรมของบริษัท
  • Accountability: จัดกิจกรรมการกุศลของบริษัทสองกิจกรรม โดยทั้งสองกิจกรรมสามารถขายบัตรได้หมดทั้งสองครั้งสำหรับผู้เข้าร่วมกว่า 250 คนและระดมเงินสำหรับกิจกรรมได้ทั้งหมด 300,000 เหรียญ

ตัวอย่างที่ 2:

  • Responsibility: อบรมพนักงานใหม่
  • Accountability: ดำเนินการฝึกอบรมการปฏิบัติตามข้อกำหนดของงานให้กับพนักงานใหม่กว่า 40 คน ผลลัพธ์ทำให้ลดอัตราการลาออกของพนักงานใหม่ได้มากถึง 75%

ตัวอย่างที่ 3:

  • Responsibility: Experience in Application Credit Scoring Model validation for financial institutions
  • Accountability: To validate the Application Credit Scoring Model in terms of both qualitative and quantitative validation, the financial institution (client) has been confirmed that the model is ensured to be operated as intended and is developed consistent with regulatory requirements and market practice.

“ควรแยกความแตกต่างระหว่าง Responsibility และ Accountability ให้ออก โดยเฉพาะ Accountability ที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวระบุว่าความสามารถและความรับผิดชอบของอีกคนนั้นแตกต่างจากอีกคน”

--

--