ชวนครูวิทยาศาสตร์มาใช้สื่อ Interactive ของไทย ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียน
ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิตการศึกษาไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ สื่อ Interactive ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสอน โดยเฉพาะในวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องใช้การมีส่วนร่วมและความเข้าใจเชิงลึกจากนักเรียน สื่อ Interactive หมายถึงเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตอบสนองต่อคำถาม การเลือกคำตอบ การใช้เครื่องมือจำลอง หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ได้ตามการกระทำของผู้ใช้ การใช้สื่อ Interactive ในการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
บทความนี้ได้ยกตัวอย่างสื่อการเรียนรู้แบบ interactive ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานการศึกษาในประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้ครูวิทยาศาสตร์ได้นำไปใช้ เป็นสื่อแบบออนไลน์ มีการเผยแพร่ให้ใช้ได้ฟรีเวปไซต์ https://www.scimath.org/apps ครูผู้ใช้สามารถเลือกค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช้สื่อได้ว่าเป็น ครู นักเรียน หรือคนทั่วไป เลือกระดับชั้น รายวิชาได้ ดังภาพที่ 1
เมื่อเลือกหัวข้อที่สนใจ เช่น หัวข้อ ล้อกับเพลา ตัวสื่อการเรียนรู้จะแสดงปุ่มกดให้ครูผู้ใช้สามารถศึกษาวัตถุประสงค์ และวีดีโอแนะนำการใช้งานสื่อ ก่อนเริ่มใช้การงานสื่อ
หน้าใช้งานสื่อ ครูผู้ใช้สามารถเปลี่ยนตัวแปรในการศึกษาได้ และมีการแสดงค่าจากการจำลองสถานการณ์ จะเห็นได้ว่าครูสามารถนำสื่อ Interactive ไปใช้การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและทดลองด้วยตนเอง และนักเรียนสามารถใช้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมหรือทบทวนเนื้อหาที่เรียนในห้องเรียนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชามากขึ้น
บรรณานุกรม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567). https://www.scimath.org/apps
Big Data-based Data Visualization Techniques for E-learning Interactive Data Exploration. (2023). Semantic Scholar.
Design of Interactive Learning System under the Background of Artificial Intelligence and Big Data. (2023). Semantic Scholar.