เล่าให้ฟัง NVC การสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์ : ตอน 2 ความรู้สึก ไม่ใช่ ความคิด (รู้เค้า รู้เรา คุย 100 ครั้ง เข้าใจ 100 ครั้ง)
ต่อจากคอนแรกที่เราพูดถึง NVC เและ องค์ประกอบแรก “การสังเกต” ไม่ใช่ “การตีความ” ไปแล้ว ซึ่งแนะนำให้ย้อนไปดูได้ใน Link ด้านล่าง
ก่อนอื่นมีเรื่องที่ผมอยากเล่าในครั้งนี้คือ ต้นไม้แห่งการสื่อสาร แบบรูปด่านล่างนี้ครับ
ต้นไม้แห่งการสื่อสาร 3 ทางเลือกเพื่อการสื่อสารสานสัมพันธ์
ถ้าเปรียบการสื่อสารเหมือนต้นไม้ใหญ่ แก่นของต้นไม้ก็คือจิตใจของเรา เพราะฉะนั้นรากที่จะพยุงการสื่อสารนั้นได้มาจาก “การเข้าใจตัวเอง” เข้าใจว่าเรารู้สึกอะไรอย่างไร เราต้องการอะไร และจะเลือกอะไรต่อไป คือเจ้าต้นไม้แห่งการสื่อสารนี่มันเป็นตัวไว้บอกเรานะว่า ให้เริ่มจากฐานใจ เริ่มจากตัวเอง เข้าใจตัวเอง เข้าใจว่าฉันกำลังรู้สึกอย่างไร เพราะฉันต้องการอะไร และฉันจะเลือกอะไรต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารที่เราเป็นผู้สื่อสาร หรือ เราเป็นผู้รับสาร ผมอยากแนะนำให้เริ่มจาก รากของต้นไม้นั่นคือ “เข้าใจตัวเอง” หลังจากนั้นเราค่อยมาต่อที่ว่าหลังจากเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราอยากทำอะไรต่อนะ เราอยาก “เข้าใจผู้อื่น” หรือเราอยาก “สื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้”
ซึ่งเราจะใช้องค์ประกอบทั้งสี่มาช่วย
ก่อนที่จะไปที่องค์ประกอบที่สอง เรามาดูกันหน่อยว่าองค์ประกอบทั้งสี่มีอะไรบ้าง
- การสังเกตุ ไม่ใช่ การตีความ (ดูในตอน 1)
- ความรู้สึก ไม่ใช่ ความคิด
- ความต้องการ ไม่ใช่ วิธีการ
- การร้องขอ ไม่ใช่ การเรียนร้อง
ความรู้สึก ไม่ใช่ ความคิด
คนเรามันใช้ความรู้สึกเป็นตัวตั้ง ปัญหาคือ เรามันแยกความรู้สึกกับความคิดไม่ออก
มาดูตัวอย่างกันนะ ในตัวอย่างจะพูดคำออกมา แล้วให้นักเรียนพูดออกมาว่ารู้สึกอะไรบ้าง
- ทะเล
- โบนัส
- รถติด
- ญาญ่า
ลองดูตัวอย่างที่ทำใน Class นะครับ ที่ขีดเส้นคือ ความคิด ไม่ใช่ความรู้สึก
ดูตัวอย่างเพิ่มเติมนะ ที่วงกลมไว้ คือความรู้สึก
พอจะเห็นข้อแตกต่างไหมครับ ซึ่งเจ้าความรู้สึกเนี้ยจะสื่อตรงไปถึงจิตใจเลย เป็นความรู้สึกที่แท้จริง พูดแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าคำนี้คือ “ความรู้สึก”
แต่เจ้าความคิด หรือ ความรู้สึกปลอมเนี้ย เวลาเราพูดนะ มันจะประกอบไปด้วย
และนี่คือตัวช่วยให้คุณรู้ว่ามันคือความรู้สึกนะ ไม่ใช่ความคิด
ดูจากตัวอย่างด้านล่างนะครับ
“ผมรู้สึกว่าหมอพูดเข้าใจยาก” แบบนี้คนรับสาร ปิดหัวใจแน่ๆ ฮะ และสารที่เค้าได้รับจะกลายเป็นการต่อว่า
แต่ถ้าพูดความรู้สึกจริงๆ “ผมไม่เข้าใจครับ เวลาหมอพูดผมงงตรงนี้” หมอก็จะเข้าใจสารได้ว่า อ๋อคนเข้าน่าจะงง ที่เราพูด
อีกตัวอย่างนะ
ภรรยากำลังพูดกับสามี
- ภรรยา แม่รู้สึกว่าพ่อกลับบ้านดึกนะ
- สามี คิดในใจได้เลยว่า ซวยแลว เราทำอะไรไม่ดีนะ เขากำลังว่าเรา
แต่ถ้าพูดความรู้สึกที่แท้จริง
- ภรรยา เวลาพ่อกลับบ้านหลังตีสองแม่เป็นห่วงพ่อนะ
- สามี อ๋อออ เมียเราเป็นห่วงเราจริงๆ
โดยชีวิตประจำวันแล้วคุณลองสังเกตุได้เลยครัวว่า เราจะพูดความารู้สึกปลอมกันมาก แทนที่จะบอกความรู้สึกจริงๆ ออกไป