PACT analysis?

Ton Tact
2 min readJun 4, 2020

--

In interaction design, PACT (an acronym for People, Activities, Contexts, Technologies) is a structure used to analyze with whom, what and where a user interacts with a user interface. Interaction is considered, in this framework, as a relationship between people, activities, contexts, and technologies.

To analyze a user experience (UX) design using PACT, a designer must scope out the possible variety of people, activities, contexts, and technologies in a domain through brainstorming or envisionment techniques.PACT also focuses on three categories for mapping people's differences: physical differences, psychological differences, and social differences.

หลังจากที่เกริ่นมาข้างต้นเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นเรามาดูแบบเจาะจงไปที่แต่ละตัวกันดังต่อไปนี้

เริ่มกันด้วยที่ P: PEOPLE

เนื่องจากว่าผู้คนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นเราจึงต้องหาจุดที่เชื่อมโยงของทุกคนในกลุ่มเป้าหมายของเรานั้นมีเหมือนกันออกมาให้ได้

โดยเราอาจแบ่งออกเป็นด้านย่อยๆ คือ เป็นการวิเคราะห์ถึงผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นงาน ทั้งในด้านคุณลักษณะ สมบัติ บุคลิกภาพ ความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น

  • คุณลักษณะแบบ Physical: หรือการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอก เช่น ช่วงอายุ เพศ หรือรวมไปถึง ความสามารถของร่างกายในตัวของแต่ละคน
  • คุณลักษณะแบบ Cognitive: หรือการวิเคราะห์เชิงพฤติกรรม เช่น ระดับการรับรู้และสนใจ การจดจำ ความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละคน
  • คุณลักษณะแบบ Psycological: หรือการวิเคราะห์ด้านจิตใจ เช่น ความแตกต่างด้านจิตใจ เช่น ความสามารถในการเข้าใจความหมายของงานที่ต่างกัน ความรู้สึกที่แตกต่างกัน เป็นต้น
  • คุณลักษณะแบบ Social: หรือการวิเคราะห์ด้านสังคม เช่น ความแตกต่างด้านสังคม เช่น การเติบโตมาในกลุ่มคนที่แตกต่างกัน วัฒนธรรม ค่านิยมที่ต่างกัน เป็นต้น

ต่อมาก็ A: ACTIVITIES

ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับการทำกิจกรรมต่าง ๆที่เกิดขึ้น ของกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถวิเคราะห์ได้จาก เป้าหมายและจุดประสงค์ของกิจกรรม, ระยะเวลาของกิจกรรม และรวมไปถึงความบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดของกิจกรรม หลังจากนั้นเราจึงต้องคิดว่าจากข้อเหล่านั้นจะสามารถทำอยา่งไรถึงจะปรับปรุงหรือพัฒนาในเหมาะสมกับสิ่งที่คาดหวังไว้

ถัดมาก็คือ C: CONTEXT

บริบทนั้นเราสามารถแบ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ: บริบทองค์กร, บริบททางสังคม และสถานการณ์ทางกายภาพภายใต้กิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือก็คือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

  • สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความปลอดภัย ระดับเสียง สถานที่จัดในอาคารหรือนอกอาคาร ถ้านอกอาคารเราก็ควรคำนึงถึง สภาพแวดล้อม หรือภูมิอากาศ
  • สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย แรงจูงใจจากแต่ละสถานที่ หรือแม้กระทั่งข้อจำกัดของแต่ละสถานที่
  • สภาพแวดล้อมขององค์กร เช่น ความต้องการของลูกค้า ความสัมพัมธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความรับผิดชอบ ตำแหน่งหน้าที่ ข้อเสนอแนะจากลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน

สุดท้ายก็คือ T: TECHNOLOGIES

ในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ถึงการนำเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่มาใช้งานควรจะเป็น เทคโนโลยีที่สามารถสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจได้ง่ายนอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองความในของตัวผลงานนั้นที่เราต้องการสื่อไปยังผู้ที่มาเข้าชมได้โดยง่าย โดยไม่เจาะจงว่าจะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพราะเทคโนโลยีที่ดีควรจะเข้าถึงได้ง่ายยกตัวอย่างเช่น Smartphone หรือ Labtop

สุดท้ายนี้คืองานที่เราได้ทำเกี่ยวกับ PACT Analysis โดยอ้างอึงถึงเหตุผลและทำไมถึงทำ พิพิธภัณฑ์การลงทุนขึ้นมา

--

--