ความแตกต่างของ LeSS กับ Scrum

TopToppy
odds.team
Published in
2 min readFeb 22, 2023
Photo by Mark Fletcher-Brown on Unsplash

Large-Scale Scrum (LeSS)

เป็นการนำ Scrum มาปรับใช้กับหลายๆ ทีม
ทุกๆ ทีมทำงานร่วมกันภายใต้ product backlog เดียวกัน

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในทีมที่กำลังมีการปรับวิธีการทำงานจากเดิมที่เป็น Scrum team มาใช้ LeSS หลังจากทำ LeSS มาได้ระยะหนึ่งผมเริ่มเห็นความแตกต่างหลายๆ อย่างที่พบโดยจะแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

Product Backlog Refinement

Backlog Refinement is not an activity but an event

ผมเลือกหยิบเรื่องนี้มาพูดเป็นเรื่องแรกเพราะผมมองว่าเป็นอะไรที่ผมเห็นได้ชัดเจนของความแตกต่างระหว่าง LeSS กับ Scrum เพราะความสำคัญของ refinement นั้น
เหมือนการจัด event ใหญ่ขึ้นใน sprint และมีคนจำนวนมากเข้ามาร่วม

ในการทำ LeSS คือการทำ Refinement ที่จะมีคนเยอะมากอาจมากถึง 20–30 คนทำให้ต้องมีการทำ multi-team product backlog refinement เพื่อให้เกิด mixed group ที่มีสามาชิกของหลายๆทีมมาผสมกัน การทำแบบนี้จะทำให้เกิดแบ่งปันความรู้และความเข้าใจที่แต่ละทีมมีเพื่อให้เกิด knowledge sharing ระหว่างทีมโดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้ทุกทีมภายใต้ LeSS มีความรู้และความเข้าใจไปพร้อมๆ การทำแบบนี้ยังทำให้ในตอนที่ทำ sprint planning ทุกทีมมีความเข้าใจใน item และสามารถหยิบ Item ที่ PO ได้เรียง priority ไปทำได้

Sprint Planning

ความแตกต่างของการ planning ก็คือปกติของการ planning เป็นช่วงเวลาที่เราต้องสอบถามและขอความช่วยเหลือจากทีมอื่น แต่การทำงานภายใต้โดเมนที่ใหญ่ขึ้นทำให้มีโอกาสได้ทำงานที่หลากหลายและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ หรืออาจมีโอกาสที่จะได้ทำงานไปพร้อมกับทีมอื่นๆ ไปด้วย

* Commitment ใน LeSS เราจะทำการ Commit ในช่วงหลังจากทำ Planing part 1

Sprint Review

การ review แทบจะเหมือนเดิมแต่เป็นการ review ที่มีหลายๆทีมเข้ามา review ร่วมกัน ส่วนตัวมองว่าความสนุกของการ review คือการ integrate ของก่อนนำมา review ซึ่งในบาง sprint งานที่เราทำจะต้อง integrate กับอีกทีมทำให้เราต้องคอยช่วยเหลือกันและกันอยู่เสมอ

Sprint Retrospective

Retrospective 2 รอบ ( team retrospective & overall retrospective) ที่ทำการจากเดิมที่มีแค่รอบเดียวกลับเพิ่มเป็นสองครั้ง

team retrospective คล้ายกับใน scrum เพื่อเพิ่ม collaboration ภายในทีม

overall retrospective นั้นเป็นเหมือน event ใหม่ที่เน้นไปเรื่องของการทำ organization change เช่น การนำปัญหาที่แต่ละทีมเจอหรือปัญหาที่แต่ละทีมต้องการจะแชร์ให้กับทีมอื่นๆ หรือ PO ได้รับรู้ร่วมกันและร่วมกันแก้ปัญหาหรือเสนอวิธีแก้ปัญหาเพื่อที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปด้วยกัน

Product Owner

มี PO แค่ 1 คนดูแล Requirement ในภาพรวมสำหรับหลายๆทีม และมี Area Product Owner(APO) ซึ่งเป็นเหมือนผู้ช่วย PO ทำให้ทุกๆ Activity ราบลื่นขึ้น

แล้วทำไมต้อง LeSS?

  • Maximize dependency ยิ่งมีปัญหามากเท่าไหร่ ยิ่งเกิดการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้นและตามมาด้วยความเข้าใจที่มากขึ้นทำให้ทีมได้เติบโตขึ้น
  • Cross-functional team ทำให้เราควรมี skill ที่หลากหลาย เพื่อการทำงานภายใน LeSS ง่ายขึ้น
  • Organization change ทำให้ทั้งองค์กรเติบโตไปด้วยกัน

--

--