ในชีวิตประจำของพวกเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมามีการตัดสินใจเลือกอะไรบ้าง ? เช่น อาจเลือกที่จะตื่นหรือนอนต่อ เลือกที่จะทำงานหรืออยู่ห้อง เลือกที่จะเรียนออนไลน์หรือจะเรียนที่ห้อง แล้วคิดว่า การตัดสินใจกับการแก้ปัญหามีลักษณะที่คล้ายคลึงหรือต่างกันอย่างไร ? หากมองในความเป็นจริงแล้วการตัดสินใจถือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา เพราะจะเห็นได้ว่าขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการแก้ปัญหา เพียงแต่หลักการเหล่านี้จะไม่นิยมนำไปมาใช้กับการตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทั่วไป เช่น หากเลือกรับประทานอาหารโดยการประเมินแคลอรี่ที่เกิดขึ้นระหว่างข้าวมันไก่กับเย็นตาโฟ

“สอนตัดสินใจ” อย่างไร ให้เป็นขั้นเป็นตอน Teaching decision making in Social Studies
“สอนตัดสินใจ” อย่างไร ให้เป็นขั้นเป็นตอน Teaching decision making in Social Studies

“ในศตวรรษที่ 21 ครู ยังจำเป็นสำหรับห้องเรียนหรือเปล่า ถ้าเรายังเป็นครูแบบเดิม” ในช่วงเวลาแห่งนาวาพลวัฒน์ของสังคมโลกที่ผ่านมาแล้วผ่านไปอย่างรวดเร็ว การจุดประกายทางความคิดแห่งการเรียนรู้ และไฟแห่งปัญญาที่ถูกจุดขึ้นในทุกมุมโลก กำลังมีอิทธิพลต่อความคิดของเยาวชนคนหนุ่มสาววัยเรียน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองในช่องทางที่หลากหลาย ซึ่งนำมาสู่การตั้งคำถามที่ว่า “ครูยังจำเป็นอยู่ไหมในห้องเรียน…” เราเคยตั้งคำถามกันไหม ว่าตอนที่เราเป็นเด็ก “เราเรียนวิชาต่าง ๆ ไปเพื่ออะไร” “บางความรู้เราได้นำไปใช้ในชีวิตจริงของเราหรือเปล่า” หรือ “เราอาจเคยแค่หวังพึ่งพาคุณครูที่ยืนหน้าชั้น” เพื่อบอกให้เราตั้งใจ “จดจำ” เนื้อหาที่จะออกสอบ เพื่อคว้าเกรดเฉลี่ยสูง ๆ มาไว้กับตัวเรา แต่ปัจจุบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการท่องจำ เพื่อไปสอบคงไม่เพียงพออีกต่อไป ความรู้ที่นักเรียนต้องได้รับควรมาจาก “การรู้” ผ่าน “การตั้งคำถาม” และ “ประสบการณ์การลงมือทำจริง” จากเรื่องใกล้ตัวไปไกลตัว จากเรื่องที่ยากทำให้เป็นเรื่องที่ง่าย

“สอนอย่างไร” ให้ผู้เรียนเกิด “ความคิดรวบยอด” Teaching Concept in Social Studies
“สอนอย่างไร” ให้ผู้เรียนเกิด “ความคิดรวบยอด” Teaching Concept in Social Studies