สรุปหนังสือ Thinking Fast and Slow — Part 1: Two Systems
Thinking Fast and Slow เป็นหนังสือโดย Daniel Kahneman เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทฤษฎี coginitive bias ยังไม่ฟอร์มตัวขึ้นอย่างชัดเจนนักแม้ไอเดียเกี่ยวกับสมองสองระบบของ Kahneman และ Amos Tversky เพื่อนนักวิจัยของเขาจะเริ่มได้รับความสนใจบ้างแล้ว
แม้ว่าในปัจจุบันทฤษฎีบางอย่างใน Thinking Fast and Slow จะถูก debunked แล้วว่าเป็นข้อสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือไม่สามารถทำซ้ำได้ผลที่คงที่ แต่โดยภาพรวมก็ยังเป็นหนังสือที่มีไอเดียเกี่ยวกับอคติของสมองที่น่าสนใจอยู่มาก โดยผมจะพยายามหมายเหตุข้อบกพร่องที่พบแล้วไว้เท่าที่ทราบ
Kahneman เสนอว่าเราสามารถทำความเข้าใจอคติทางการคิดของมนุษย์ได้โดยมองมองลักษณะการคิดของสมองว่าเป็น 2 ระบบที่มีคุณสมบัติและแนวโน้มในการคิดที่แตกต่างกัน
สมอง 2 ระบบ
System 1
- ทำงานโดยอัตโนมัติ
- ปิดไม่ได้ ได้แต่ใช้ system 2 กำกับ
- ป้อน suggestion ให้ system 2 ในรูป impression, intuition, intention, feeling
- impulsive, intuitive
System 2
- ทำงานที่ยาก ไม่สามารถให้คำตอบได้ทันทีด้วย system 1
- ต้องใช้ attention ในการคิด จะสะดุดเมื่อหลุดจาก attention
- รับ suggestion จาก system 1 และตัดสินว่าจะเชื่อ สนับสนุนไหม
- cautious, capable of reasoning, but lazy
เราหยุดคิดด้วย system 1 ไม่ได้
เมื่อความรู้ขัดกับ intuition จาก system 1 ทำได้เพียงใช้ system 2 กำกับ override ว่าสิ่งที่ system 1 นั้นไม่ถูกต้อง เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะ recognize สถานการณ์ที่น่าจะทำให้เกิดการคิดตัดสินใจที่ผิดพลาดจาก system 1
intuition คือการ recognize pattern ได้ ดังนั้นสิ่งที่ system 2 ฝึกจนเชี่ยวชาญ ชำนาญ ชิน จึงสลับไปใช้ system 1 แทน
เมื่อเราใช้สมาธิจดจ่อกับอะไร รูม่านตาจะขยายขึ้น
การสลับจาก task หนึ่งไปทำอีกอย่างหนึ่งนั้น effortful การคูณเลขหลายหลักในหัวเลยใช้ความพยายามมาก เพราะต้องแปลงเลขบางตัวพร้อมกับทดหรือจำเลขอีกชุดไว้พร้อมๆ กัน
ถ้ามีเงื่อนไขเวลาจำกัดด้วย effort ที่ต้องใช้ก็ยิ่งมากขึ้น
Self-control ใช้ attention & effort
Self-control กับ deliberate thought/cognitive effort ใช้ effort จากแหล่งเดียวกัน การเดิน/วิ่งเร็วกว่า pace ปกติของตัวเองจึงทำให้คิดอะไรที่ประมวลผลเยอะได้น้อยลง หรือคุยโทรศัพท์ตอนพยายามจอดรถเข้าซองที่แคบๆ ไม่ได้
เมื่อมี cognitive load มากๆ เราเลย self-control ต่ำลง และโดนสิ่งยั่งยวนใจต่างๆ ง่ายขึ้น
*หมายเหตุ ในหนังสือยังยืนพื้นการใช้ effort บนคอนเซปท์ ego depletion และ marshmallow test ซึ่งปัจจุบัน debunked กันไปแล้ว
“Intelligence is not only the ability to reason; it is also the ability to find relevant material in memory and to deploy attention when needed”
Priming Effect
Associative Activation ความคิดหนึ่งทริกเกอร์อีกหลายๆ ความคิดเหมือนน้ำกระเพื่อม โดยมักทริกเกอร์ให้นึกถึง สิ่งที่คล้ายกัน สิ่งที่ตรงข้ามกัน สิ่งที่ใกล้กันในแง่ของเวลาหรือสถานที่ และสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน
priming effect เป็นการที่สิ่งหนึ่งกลายเป็น context ชี้นำให้คิด ความรู้สึกหรือการกระทำอะไรในลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจาก context นั้น
เช่น
- อ่านเมนูอาหารมาก่อน พอเห็น S__P ก็จะนึกถึง SOUP มากกว่า SOAP
- นึกถึงความแก่ชรา หลังจากนั้นก็เดินช้าลง
- เห็นภาพคนจ้องมองมาติดอยู่หน้ากล่องจ่ายเงินที่ไม่มีคนเฝ้าก็มีแนวโน้มจะจ่ายตามราคาจริงมากขึ้น
- นึกถึงเรื่องเงินแล้วช่วยเหลือคนอื่นน้อยลงเพราะคิดถึงกำไรขาดทุนมากขึ้น
Cognitive Ease
สิ่งที่เจอบ่อยๆ / มองเห็นได้ชัดเจน / ถูก priming มาก่อน / ประสบตอนอารมณ์ดีอยู่
มีแนวโน้มที่จะเกิด cognitive ease ไม่เกิด strain และสมองตัดสินใจไม่ใช้ system 2
ทำให้เรามีแนวโน้มที่รับรู้สิ่งนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย / เป็นความจริง / เป็นสิ่งที่ดี /ไม่ต้องใช้ความพยายาม
Illusion of familiarity: cognitive ease ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคยหรือใกล้ชิดแม้จริงๆ แล้วจะไม่ได้รู้จักคนๆ นั้น หรือสิ่งนั้น
Illusion of truth: อะไรที่เรารู้สึกคุ้นๆ หรือเคยผ่านตามาก่อน หรือเห็นบ่อยๆ มักทำให้เราเชื่อว่ามันเป็นความจริงง่ายขึ้น
เมื่อสมองไม่ค่อยแยกความคุ้นเคยกับความจริง propaganda เลยได้ผล
การใช้อักษรตัวใหญ่ ภาพที่คมชัด สีสด คำที่เข้าใจง่าย คำคล้องจอง ทำให้เกิด cognitive ease เราเลยเชื่อว่าคำขวัญหรือสุภาษิตคำคล้องจองต่างๆ เป็นความจริง แม้จะไม่มีข้อมูลอะไรสนับสนุนเลย
“What psychologists do believe is that all of us live much of our life guided by the impression of System 1 — and we often do not know the source of this impression.”
เราใช้ System 2 เพื่อหลุดออกจาก impression นี้ได้ถ้าคิดจะทำ แต่ System 2 ขี้เกียจ และเราไม่ได้ตั้งใจคิดจริงจังกับทุกอย่างที่เรารับรู้ และ cognitive ease ก็ทำให้เรารับรู้ว่านี่เป็นข้อมูลง่ายๆ ไม่ต้องใช้ System 2 หรอก กลับกัน cognitive strain จะทำให้เราจดจ่อใช้ความคิดด้วย System 2
mere exposure effect: แค่พบเห็นบ่อยๆ ก็ทำให้มีอคติในแง่บวกกับมันมากขึ้น
มีข้อเสนอว่า creativity คือ associative memory ที่ทำงานได้ดี
good mood, intuition, creativity, gullibility, สัมพันธ์กับการ relies on System 1 มากขึ้น
ส่วน sadness, vigilance, suspicion, analytic approach, increased effort สัมพันธ์กันกับ System 2
Assessing Normality
System 1 กำหนดการตีความปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคตของเรา
เรามี expectation ต่ออนาคต 2 แบบคือ active และ passive
แบบ active เราจะแปลกใจเมื่อสิ่งที่คาดหวังไว้ไม่เกิดขึ้น
แบบ passive คือเราไม่ได้รอให้มันเกิด แต่เมื่อมันเกิดเราก็ไม่ประหลาดใจ
- เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง พอเกิดครั้งต่อไปจะน่าแปลกใจน้อยลง
- ถ้าเจอซ้ำๆ สัก 2–3 ครั้ง passive expectation อาจเปลี่ยนเป็น active ได้
Illusion of Causality
หากเราแยก physical causality กับ intentional causality จะพบว่า System 1 โฟกัสกับ intentional causality มากกว่า
เราสร้าง agent ที่เป็นผู้กระทำที่มี intention บางอย่างมารองรับเพราะสมองมนุษย์ต้องการ cause ของทุกผลลัพธ์
สมอง System 1 พยายามหา cause ของสิ่งที่เกิดขึ้น และพร้อม identify agent, assign personality traits และ intention ให้ตัวกระทำที่กำหนดขึ้นเสมอ
- ถ้าเราเห็นแอนิเมชันวงกลมชนวงกลมอีกก้อนกระเด็นไป เราก็จะเข้าใจว่าหินก้อนแรกมาชน ทำให้อีกก้อนขยับ ทั้งที่เราก็รู้ว่าจริงๆ แล้วไม่มี แรง ในทางกายภาพเกิดขึ้น
- ถ้าเห็น A หยิบเกลือ เราก็จะไม่โฟกัสว่ากล้ามเนื้อขยับและยกขวดเกลือขึ้น แต่โฟกัสไปที่เจตนาของ A ว่าหยิบขวดเกลือขึ้นทำอะไรทำไม
ปัญหาคือคนเรามีแนวโน้มจะใช้ causal thinking ในเวลาที่ต้องใช้ statistical reasoning ซึ่งเป็นหน้าที่ของ System 2
Bias to Believe and Confirm
System 1 คล้อยตามได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะเชื่อ ส่วน System 2 มีหน้าที่ในการ doubt และ unbelieving
Dan Gilbert เสนอว่าการที่เราจะทำความเข้าใจ statement ใดๆ สมองจะต้องเชื่อก่อน แล้วตัดสินใจว่าจะ unbelieve มันหรือไม่ (เราต้องเข้าใจก่อนว่าไอเดียนั้นหมายถึงอะไรในกรณีที่มันเป็นจริง เราถึงตัดสินได้ว่ามันเป็นจริงหรือเท็จ และจะเชื่อมันต่อไปไหม)
ซึ่งเรามักมี confirmation bias ต่อคำถามตั้งต้น เช่น ถ้าถูกถามว่า “A นิสัยดีไหม” เราก็จะนึกถึงข้อมูลที่สนับสนุนว่า ‘A นิสัยดี’ ว่ามีมากแค่ไหน
แต่ถ้าถูกถามว่า “A นิสัยไม่ดีใช่ไหม” เราก็พยายามนึกถึงหลักฐานว่า A เคยทำอะไรไม่ดีไว้บ้างแทน
Halo Effect
ถ้าภาพรวมเช่นหน้าตา น้ำเสียงของเขาดูดี เราก็มีแนวโน้มจะประเมินพฤติกรรมอื่นๆ ของเขาดีกว่ามาตรฐานด้วย
impression แรก ก็มีแนวโน้มจะไปกำหนดการประเมินสิ่งที่เหลือ
Alan: intelligent, industrious, impulsive, critical, stubborn, envious
Ben: envious, stubborn, critical, impulsive, industrious, intelligent
ในกรณีนี้ทั้ง 2 คนมี trait เหมือนกัน แต่ Alan จะดูเป็นคนดีกว่า
What you see is all there is (WYSIATI)
System 1 เก่งในการสร้าง story จากไอเดียที่มีอยู่ แต่ปัญหาคือมันจะพิจารณาเฉพาะไอเดียที่ active อยู่ขณะนั้น (ทั้งในแง่ที่มีข้อมูลเท่านี้ หรือในแง่ที่รู้มากกว่านี้ แต่นึกออกตอนนี้เท่านี้)
และเมื่อเรามีข้อมูลไม่เพียงพอ System 1 จะด่วนสรุป
ถ้าถุกถามว่า A เป็นผู้นำที่ดีไหม ถ้า A มี trait ตามนี้ intelligent, strong เราก็จะมีคำตอบว่าใช่ขึ้นมาก่อนทันที ก่อนจะได้ยินว่า A ก็ corrupt และ cruel ด้วย
แม้ System 2 จะสามารถ doubt ได้ แต่ก็ได้รับอิทธิพลที่จะสนับสนุน intuition จาก System 1
- ถ้าเราฟังข้อมูลของคดีความคดีหนึ่ง หากเราฟังความข้างเดียว เราจะมั่นใจในคำตัดสินของเรามากกว่าการฟัง 2 ฝั่ง (System 1 ให้คำตอบที่ดีที่สุดที่ให้ได้ในสภาวะข้อมูลจำกัด)
WYSIATI ทำให้เรา overconfidence, framing effect, base-rate neglect
Basic Assessment
System 1 มีความสามารถในการตัดสินสิ่งต่างๆ แทน System 2 ได้ โดยประเมิน
- computations of similarity
- representativeness
- attribution of causality
- evaluations of the availability of associations and exemplars
basic assessment ของ System 1 มีคุณลักษณะ 2 อย่าง
- มีความสามารถในการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ในมาตรอื่น เช่น ถ้าถูกถามว่า Sam มีความสูงพอๆ กับความฉลาดของเขา เขาจะสูงเท่าไร เราก็พอกะๆ ออกมาได้
- mental shotgun: สมองจะให้คำตอบสิ่งใกล้ๆ กันที่ไม่ได้ถามมาด้วย เช่น ถ้าถูกถามว่างบการเงินบริษัทนี้ดีไหม เราก็จะมีคำตอบว่าเราชอบหรือไม่ชอบบริษัทนี้พ่วงมาด้วย แม้ไม่ได้อยู่ในคำถาม / ถ้าให้มองคำ 2 คำ แล้วคิดว่าเสียงสัมผัสกันไหม เราก็จะเทียบตัวสะกดไปด้วย unconsciously
Substituting Questions
“The target question is the assessment you intend to produce.
The heuristic question is the simpler question that you answer instead.”
โดยไม่รู้ตัว เมื่อถูกถามคำถามที่ต้องใช้ความคิด เรามักตอบเวอร์ชั่นที่ง่ายกว่าของคำถามนั้นแทน
เช่น
บริษัทนี้ผลประกอบการดีไหม > เราชอบบริษัทนี้ไหม
เราจะบริจาคเงินช่วยเหลือสัตว์น้ำเท่าไร > ปลาโลมาที่กำลังจะตายน่าสงสารแค่ไหน
ช่วงนี้มีความสุขหรือเปล่า > ‘ตอนนี้’ รู้สึกยังไง
ปีหน้าวงนี้จะยังดังอยู่ไหม > ตอนนี้วงนี้ดังมากไหม
substitution นี้เป็นผลจาก mental shotgun ของ basic assessment ในหัวข้อก่อน
ปัญหาคือ หลายๆ ครั้งเราอาจไม่รู้สึกว่าคำถามที่ถูกถามนั้นยากและซับซ้อน เพราะเราทดแทนมันด้วยคำถามที่ง่ายกว่าโดยไม่รู้ตัว
substitution อาจมาจากการ priming ได้ด้วย เช่น ถ้าถูกถามคำถาม 2 ข้อต่อกัน เช่น
- ช่วงนี้มีความสุขไหม / เดือนนี้ไปออกเดตกี่ครั้ง
- เดือนนี้ไปออกเดตกี่ครั้ง / ช่วงนี้มีความสุขไหม
แบบแรก คำตอบของ 2 คำถามจะไม่เกี่ยวข้องกัน
แบบที่สอง คำตอบของคำถามที่ 2 ซึ่งตอบยากกว่า จะถูกชี้นำโดยคำตอบของคำถามแรกที่ง่ายกว่า เพราะเรามีคำตอบของคำถามว่า “ชีวิตรักช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง” เป็น mental shotgun จากคำถามแรกอยู่แล้ว System 1 จึงนำมันมาตอบได้ง่ายกว่า
แม้ System 2 จะมีความสามารถในการ doubt suggestion ของ System 1 แต่โดยธรรมชาติแล้ว System 2 จะขี้เกียจ และ endorse สิ่งที่ System 1 เสนอมากกว่า