Wimluk Sankapong
2 min readMar 1, 2023

นิทานกับเด็กปฐมวัย

นิทานเป็นเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ผู้ใหญ่มักจะใช้เวลาในการเล่าเรื่องราวต่างๆให้กับ เด็กๆฟัง พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ สอดแทรกสิ่งที่ต้องการจะปลูกฝังทั้งด้านคุณธรรม คำสอนต่างๆ นอกจากนี้การเล่านิทานยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ความผูกพัน และความอบอุ่นให้กับเด็กๆได้เป็น อย่างดี นิทานมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยเพราะ นิทานสามารถสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก ซึ่ง เด็กวัยนี้มีความต้องการความรัก ความสนุกสนาน ความแปลกมหัศจรรย์ และจินตนาการ ทั้งนี้ขณะที่ฟังนิทาน เขาจะใช้จินตนาการในการฟังอย่างมาก สังเกตจากความสนใจในการฟังนิทานซึ่งเด็กจะมีความสนใจและจดจ่อ ที่จะฟังนิทานอย่างมาก ซึ่งการที่เด็กตั้งใจฟังนิทานนี้ จะเป็นการฝึกสมาธิ และขยายช่วงเวลาความสนใจในการ ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิได้ยาวนานขึ้น นอกจากนี้นิทานยังช่วยให้เด็กผ่อนคลายความเครียด เพราะเนื้อเรื่อง นิทานส่วนใหญ่มักจะจบลงด้วยความสุขนั่นเอง ในการฟังนิทานยังช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ ซึ่งเด็กปฐมวัย เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ดังนั้นขณะฟังนิทานเด็กๆอาจจะถามคำถาม หรือแสดงความคิดเห็น อีกด้วย จะเห็นได้ว่านิทานมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยหลายประการ จากความสำคัญของนิทานที่มีต่อเด็กปฐมวัย ครูหรือผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรให้ความสำคัญ กับการเล่านิทานให้เด็กๆฟัง ซึ่งการเล่านิทานควรมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่การเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับเด็ก แต่ละช่วงวัย และการเลือกวิธีการเล่านิทาน ทั้งนี้เพื่อให้การเล่านิทานประสบความสำเร็จ และเด็กๆจะได้ฟัง นิทานอย่างมีความสุขนั่นเอง เกริก ยุ้นพันธ์ (2547) ได้กล่าวถึงนิทานที่เหมาะสมกับเด็ก โดยแบ่งได้ตามความต้องการและ พัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ ไว้ดังนี้

  1. เด็กวัยแรกเกิดถึง 2 ขวบ เด็กวัยนี้สนใจนิทานที่มีเรื่องสั้นๆ หรือนิทานที่กล่าวถึงถ้อยคําเป็นคําๆ พร้อมภาพประกอบที่มีสีสดใส
  2. เด็กวัย ระหว่าง 2 ถึง 4 ปี เด็กวัยนี้ จะสนใจคําพูดที่มีถ้อยคําคล้องจองชอบซักถามเด็กจะจําคําลง ท้ายของแต่ละประโยคของคําคล้องจองโดยออกเสียงตามหรือเปล่งเสียงร้องตามด้วยเป็นคําๆ นิทานเรื่องยาย กับตา เด็กจะชอบมากและชอบเรื่องเล่าที่มีคําคล้องจองสัมพันธ์กัน นิทานสําหรับเด็กวัยนี้ก่อนนอนก็มี ความสําคัญมาก นิทานที่ใช้เล่าจะเป็นเรื่องเดิมซ้ําแล้วซ้ําอีกของทุกๆ คืนและคืนละหลายๆ ครั้งในเรื่องเดียวกัน โดยเนื้อหาจะต้องคงเดิมเพียงแต่เพิ่มราบละเอียดเล็กๆ น้อยๆให้เรื่องสนุกตามสถานการณ์แต่ละวันเท่านั้น
  3. เด็กอายุระหว่าง 4–6 ปี เด็กวัยนี้จะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวเองน้อยลง นิทานที่เป็น คําประพันธ์ สัมผัสคล้องจองเด็กๆ จะชอบมาก นิทานที่มีตัวเดินเรื่องหรือตัวเอกของเรื่องเป็นสัตว์ พูดได้เด็กจะชอบมาก
  4. เด็กอายุระหว่าง 6–8 ปี เด็กในวัยนี่จะชอบนิทานที่ตื่นเต้นผจญภัยลึกลับ เร้าความสนใจหรือ เรื่องราวที่เกิดจากการจินตนาการที่เกินความเป็นจริง ตัวอย่างของนิทานต่างๆที่เด็กในวัยนี้ชื่นชอบ ได้แก่ เงือก น้อย เจ้าชายกบ ซินเดอเรลล่า เจ้าหญิงนิทรา หนูน้อยหมวกเด็ก 2
  5. เด็กอายุระหว่าง 8–10 ปี เด็กในวัยนี้เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากขึ้น และเริ่มสนใจการอ่านมาก ขึ้นด้วย เด็กๆ จะชอบอ่านนิยายสั้นๆ และนิทานทุกประเภท
  6. เด็กอายุระหว่าง 10–12 ปี เด็กในวัยนี้เริ่มสนใจเรื่องราวที่มีระบบการคิดและการสร้างสรรค์ที่ ซับซ้อนมากขึ้นการอ่านของเด็กเริ่มอ่านออกแตกฉานและคล่องมากขึ้น แล้วเรื่องที่พวกเขาสนใจจึงกว้างมาก ขึ้น เด็กในวัยนี้อ่านหนังสือหลากหลายเช่น นิทาน นิยาย สารคดี นิตยสารหนังสือ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เป็นต้น

นอกจากนี้ บวร งามศิริอุดม (2547) ได้กล่าวถึงนิทานที่เหมาะสมสําหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้

  1. เด็กอายุ 0 -1 ปี นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือ รูปสัตว์ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจําวันและเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงามขนาดใหญ่ ชัดเจนเป็นภาพเดี่ยวๆที่มี ชีวิตชีวาไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจ ทําด้วยผ้าหรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็ก หยิบเล่นได้
  2. เด็กอายุ 2–3 ปี นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เด็กสนใจ เป็นภาพเกี่ยวกับ ชีวิตประจําวัน สัตว์ สิ่งของ
  3. เด็กอายุ 4–5 ปี นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้นแต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการและอิงความจริงอยู่บ้างเนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตามมีภาพประกอบที่มีสีสันสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ จะเห็นได้ว่า นิทานที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน โดยเด็กเล็กๆจะชอบหนังสือ ภาพ ที่มีภาษาเขียนน้อยๆ เรื่องราวไม่สลับซับซ้อน และเมื่อโตขึ้นหนังสือนิทานที่เด็กชอบก็มักจะมีเนื้อเรื่อง สนุกสนาน ผจญภัย และจบลงด้วยความสุข เมื่อเลือกหนังสือนิทานให้เหมาะสมกับเด็กในช่วงวัยต่างๆ แล้ว การเลือกวิธีการเล่านิทานให้เหมาะสม และมีความน่าสนใจก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้การเล่านิทานมีความสนุกสนานยิ่งขึ้น

ซึ่งวิธีการ เล่านิทานมีมากมายหลายวิธี ดังนี้

  1. การเล่านิทานแบบปากเปล่า เป็นนิทานที่ผู้เล่าเรื่องจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ตั้งแต่การเลือกเรื่องให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังนิทานปากเปล่าเป็นนิทานที่ดึงดูดและเร้าความสนใจของผู้ฟังด้วยน้ำเสียง แววตา และท่าทางประกอบการเล่าของผู้เล่าที่สง่างามและพอเหมาะพอดี
  2. นิทานที่เล่าโดยใช้สื่ออุปกรณ์ในขณะที่เล่า เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะต้องใช้สื่อที่เตรียมหรือหามาเพื่อใช้ ประกอบการเล่า เช่น เล่าโดยใช้หนังสือ นิทานหุ่นนิ้วมือ นิทานเชิด นิทานเชือก เป็นต้น หรือขณะเล่าอาจมี ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อทำให้การเล่าสนุกสนานยิ่งขึ้น
  3. การเล่านิทานประกอบท่าทาง การเล่านิทานแบบนี้เป็นการเล่านิทานที่มีชีวิตชีวามากกว่าการเล่า นิทานปากเปล่า เพราะเด็กสามารถติดตามเรื่องที่เล่าได้ และจินตนาการเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามท่าทางของผู้ เล่า สนุกสนานมากขึ้นเพราะเห็นภาพพจน์ของเรื่องที่เล่า ท่าทางที่ใช้ประกอบการเล่านิทานอาจเป็นท่าทาง ของผู้เล่าท่าทางแสดงร่วมของเด็ก ได้แก่ การทำหน้าตา การแสดงท่าทางกาย หรือการเล่นนิ้วมือประกอบการ เล่า
  4. การเล่านิทานประกอบภาพ ภาพที่ใช้ในการเล่ามีหลายชนิด มีทั้งภาพถ่าย ภาพโปสเตอร์ ภาพจาก หนังสือ ภาพวาด ภาพสไลด์ ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพฉาย การที่มีภาพสวยๆ มาประกอบการเล่าเป็นการจูงใจ 3 ให้เด็กติดตามเรื่องราวด้วยความอยากรู้ เด็กจะสนุกสนานมากขึ้นถ้าในขณะฟังเรื่องและดูภาพ ผู้เล่าจะต้อง กระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นและร่วมสร้างจินตนาการให้กับนิทานที่เล่า
  5. นิทานวาดไปเล่าไป เป็นการเล่านิทานที่ผู้เล่าจะต้องมีประสบการณ์การเล่านิทานแบบปากเปล่าอยู่ มากพอสมควร แต่ต้องเพิ่มการวาดรูปในขณะเล่าเรื่องราว รูปหรือภาพที่เล่าออกมาอาจสอดคล้องกับเรื่องที่ เล่าหรือบางครั้งเมื่อเล่าจบรูปที่วาดจะไม่สอดคล้องกับเรื่องที่เล่าเลยก็ได้คือจะได้ภาพใหม่เกิดขึ้น
  6. นิทานพับกระดาษและฉีกกระดาษ เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะต้องเล่านิทานพร้อมๆกับการพับกระดาษ และฉีกกระดาษจะต้องพอดี กับเหตุการณ์ๆหรือสัมพันธ์กันอย่างพอดีพอเหมาะตลอดเรื่องการเล่านิทาน ทั้งหมดนั้นจะน่าสนใจหรือไม่ อยู่ที่วิธีการเล่า น้ำเสียง การเว้นจังหวะและระยะเวลาในการนำเสนอนิทาน
  7. การเล่านิทานประกอบเส้นเชือก เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะเล่าแบบปากเปล่า ประกอบกับการสร้างสรรค์ เชือกให้มีความสัมพันธ์กับการเล่าอย่างต่อเนื่อง ผู้ดูหรือผู้ฟังจะตื่นเต้นกับการสร้างสรรค์เชือกจากผู้เล่าเป็น รูปร่างต่างๆ ประกอบกับการเล่าเรื่อง ในด้านเทคนิคการเล่านิทาน เป็นสิ่งที่จะช่วยให้การเล่านิทานประสบกับความสำเร็จ

เทคนิคที่ นำมาใช้ในการเล่านิทานสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  1. ก่อนเล่านิทานควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อน โดยจินตนาการออกมาเป็น ภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความและทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่อง
  2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
  3. หากเนื้อเรื่องมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับตัวละครสนทนากัน ผู้เล่านิทานควรใช้บทสนทนาประกอบการเล่า นิทาน เพราะจะเป็นการใช้น้ำเสียงประกอบการสนทนา ซึ่งจะทำให้เด็กสนุกสนานและตื่นเต้นกว่า
  4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและการอธิบายที่ไม่จำเป็น หากเป็นการเล่านิทานโดยใช้หนังสือ ควรแนะนำหนังสือนิทานโดยให้เด็กสังเกตหน้าปก ตัวละคร แล้วจึง แนะนำชื่อเรื่องนิทาน และชื่อผู้แต่งก่อนการเล่านิทาน
  5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมีคำซ้ำๆที่ผู้เล่าเอ่ย บ่อยๆ เช่น เอ้อ เอิ่ม แบบว่า เป็นต้น
  6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องมีสิ่งเร้าใจก็พูด ให้เร็วขึ้นโดยอาจใส่ท่าทางประกอบการเล่า ขยับ หรือโยกหนังสือนิทานตามเนื้อเรื่อง
  7. นิทานที่นำมาเล่าให้ยาวพอๆกับระยะความสนใจของเด็ก โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 20 นาที
  8. เวลาเล่าต้องพยายามเป็นกันเองให้มากที่สุด ให้ความรักความสนิทสนมกับเด็กอย่างจริงจัง
  9. เวลาเล่าควรมีรูปภาพ ประกอบ อาจเป็นหนังสือภาพ หุ่นสื่อการสอนอื่นๆ จะช่วยให้เด็กสนใจ ยิ่งขึ้น
  10. ไม่ควรย่อเนื้อเรื่อง ให้สั้นมากจนเกินไปจนขาดความน่าสนใจไป และจะทำให้เด็กไม่รู้เรื่อง
  11. จัดบรรยากาศของห้องให้เหมาะ เช่น อาจนั่งเล่ากับพื้น หรือเชิดหุน่ ประกอบการเล่าหรืออาจจะ ไปเล่าใต้ต้นไม้ นอกห้องเรียนก็ได้
  12. อย่าแสดงท่าทางประกอบการเล่ามากเกินไปจะทำให้นิทานหมดสนุกพยายามเล่าให้เป็นไปตาม ธรรมชาติง่ายๆ และมีชีวิตชีวา
  13. ขณะที่เล่าอาจให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทานด้วยก็ได้ เช่น แสดงท่าตามเนื้อเรื่องแต่ไม่ควร จะให้บ่อยนัก
  14. ขณะที่เล่านิทานสายตาของครูจะต้องมองดู นักเรียนได้ทุกคน อาจจะนั่งเป็นครึ่งวงกลม หรือนั่ง กับพื้นก็ได้
  15. ขณะที่กำลังเล่านิทานถ้าหากมีเด็กพูด หรือถามขัดจังหวะ ครูควรบอกให้รอจนกว่าจะจบเรื่อง
  16. หลังจากการเล่านิทานจบ ควรเปิดโอกาสให้เด็กถามและวิพากษ์ วิจารณ์แต่ไม่ควรบังคับเด็กให้พูด ให้ถาม เพราะจะทำให้เด็กเสียความเพลิดเพลิน
  17. หลังจากการเล่านิทานแล้วอาจจะให้เด็กได้แข่งขันกันตั้งชื่อเรื่องก็ได้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้ ติดตามและเพื่อความเข้าใจในเรื่องที่ครูได้เล่ามาแล้ว
  18. เมื่อเล่านิทานจบครูควรใช้คำถามเพื่อให้เด็กตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง นิทาน
  19. ควรฝึกซ้อมเล่านิทานหน้ากระจก เพื่อสังเกตสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของตนเอง ก่อนที่จะเล่า นิทานให้เด็กฟัง

จะเห็นได้ว่าการเล่านิทานให้เด็กปฐมวัยฟัง เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ครูหรือผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ควรศึกษาเกี่ยวกับการเลือกนิทานที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย ศึกษาวิธีการเล่านิทานแบบต่างๆ รวมทั้ง ศึกษากระบวนการและเทคนิคในการเล่านิทาน แล้วจึงทำการฝึกฝนเล่านิทาน ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถจัด กิจกรรมการเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กชอบฟังนิทาน และเป็นการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยในที่สุด

รายการอ้างอิง

เกริก ยุ้นพันธ์.( 2547). การเล่านิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บวร งามศิริอุดม (2547) . http://www.sk-hospital.com สืบค้นเมื่อวันที่20/02/2565

วรัญญา ศรีบัว (2560)

http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18DLW8W88778W5l282uW.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 20/02/2565

https://kru17rungtiwa.wordpress.com/เกร็ดความรู้เล็ก-ๆ/เทคนิคการเล่านิทาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20/02/2565