ไตร่ตรองถึงตัวเองในปีที่ผ่านมา
1
เป็นปีที่ได้ทำงาน as a serious software engineer แบบเต็มตัวจริงๆ ถ้าเทียบต้นปีกับปลายปีก็เห็นความแตกต่างในตัวเองชัดเจนอยู่ รู้สึกว่าเก่งขื้นในบางด้าน แต่ก็ยังขาดความมั่นใจอีกเยอะ ไม่รู้ว่าเริ่มเป็นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Dunning–Kruger effect ซึ่งอาการไม่มั่นใจนี้ส่งผลต่อการทำงานเยอะเหมือนกัน รู้สึกว่าต้องรีบปรับปรุง
2
By the way, ยังเอ็นจอยกับการทำงานอยู่ ถึงจะมีบางช่วงเหนื่อยๆ แต่สังคมการทำงาน เพื่อนๆ ที่ออฟฟิศ ก็ส่งผลทางบวกกับเรามากเหมือนกัน และคิดว่าถ้ายังรู้สึกแบบนี้กับการทำงานที่นี่อยู่ก็คงไม่จำเป็นต้องรีบผลีผลามไปไหน
3
นอกจากการทำงานที่ออฟฟิศแล้ว ปีนี้เป็นเวลาที่ให้เวลากับ side project น้อยเกินไปมากๆ ทำให้ไม่ค่อยได้ฝึกสกิลที่นอกเหนือจากที่ใช้ทำงานเท่าไหร่ ความรู้ที่มีก็จะวนๆ อยู่กับที่ใช้ในที่ทำงาน ไม่ค่อยได้เปิดโลก รู้สึกว่าความรู้น้อยจริงๆ ตอนนี้
4
ไม่ค่อยได้ไปจอยงานพวก technical meetup หรือ conference เท่าไหร่เลย ทั้งปีมีไปประมาณ 2 งาน ถือว่าน้อยมาก ปีหน้าจะให้ความสำคัญกับตรงนี้มากขื้น
5 ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนตามเงินเดือนคือเรื่องจริง แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองก็ยังใช้ชีวิตแบบตัวเอง แค่สามารถทำ Activity ต่างๆ ได้บ่อยขื้น หรือซื้อของต่างๆ ตามเทสต์ของตัวเองได้บ่อยขื้น ปีนี้ได้ไปคอนเสิร์ตบ่อยมากๆ เกิน 10 คอนฯ โคตรดีเลย…
เป็นคนกลัวผี แต่บางครั้งก็อยากดูหนังผีเพราะอยากรู้ว่าข้างในมันมีอะไร
กับบ้านผีสิง หรือเครื่องเล่นน่ากลัวๆ ก็เช่นกัน
เมื่อโดนยิง Facebook Ads ว่าประเทศใกล้ๆ กำลังจะมีงานฮัลโลวีน มีบ้านผีสิง ราคาตั๋วสมเหตุสมผล ใช้เวลาเดินทางเหมือนไปพัทยา แถมเดือนตุลาวันหยุดเยอะแยะ
มีหรือจะพลาด!
Halloween Horror Nights เป็นอีเวนท์ที่จัดขื้นทุกปีในหลายๆ พาร์คของ Universal Studio ซึ่งถ้าเอาใกล้ๆ บ้านเรา ก็จะมีที่ Universal Studio Singapore นี่แหละ
โดยส่วนตัวเพิ่งมาอยากลองไปงานนี้เมื่อปีที่แล้ว (2018) นี่เอง เพราะตอนนั้นเพิ่งดู Stranger Things ทั้งสองซีซั่นไป ซึ่งบ้านผีสิง Flagship ของปีที่แล้วก็มาในธีมเดียวกัน แต่น่าเสียดายที่หาเพื่อนไปไม่ได้ก็เลยอดไปตามระเบียบ
พอมาปีนี้ บ้าน Flagship ตัวหลักที่โปรโมต มาในธีมผีไทยซึ่งออกแบบโดยผู้กำกับ GTH ทำให้รู้สึกอยากไปพอๆ กับของปีที่แล้วเลย เพราะธีมมันรีเลทกับเราชาวไทย
อีกอย่างคือไม่ได้เล่นบ้านผีสิงแบบที่มี Scare Actors มานานแล้ว เล่นล่าสุดคือสมัย Mansion 7 เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้วนู่นเลย
โชคดีมากๆ ที่ปีนี้ เพื่อนพร้อม เงินพร้อม ในที่สุดก็ได้ไปเสียที 🙂
เชื่อว่าแทบทุกคนคงจะเคยใช้งานโปรแกรมอะไรสักอย่างที่มีระบบแบนคำหยาบหรือคำต้องห้าม เช่น เกมออนไลน์ หรือแชทสาธารณะตามเว็บต่างๆ, อย่างล่าสุด Custom Stickers สติกเกอร์ไลน์ตัวใหม่ที่อนุญาตให้ใส่ข้อความอะไรก็ได้ลงไปบนตัวสติกเกอร์ ก็มีระบบป้องกันการใช้คำที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน
แต่แน่นอน ไม่ว่าจะยุคไหน จะใช้วิธีแบนคำที่ strict แค่ไหน ผู้ใช้อย่างเราๆ ก็หาวิธีหลีกเลี่ยงอัลกอริทึมตรวจคำหยาบนี่ได้ทุกที (คำว่า สัส และ คุวย จึงถือกำเนิดขื้นมาด้วยประการฉะนี้)
จะเป็นไปได้รึเปล่า ที่ระบบพวกนี้จะสามารถป้องกันการใช้คำที่ไม่เหมาะสมได้อย่างที่ต้องการจริงๆ
ถ้าเราลองมาคิดๆ ดูแล้ว มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้การพัฒนาระบบนี้ค่อนข้างชาเลนจ์ทีเดียว
วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการเตรียมลิสท์คำหยาบเอาไว้ และทำการเช็คว่าข้อมูลที่เราได้มา ตรงกับคำใดในลิสท์บ้างรึเปล่า ซึ่งพวกลิสท์คำหยาบก็มีคนรวบรวมไว้ด้วยนะ เช่น Offensive/Profane Word List หรือภาษาไทยก็จะมี PyThaiNLP Swear Words
อย่างไรก็ตาม เราไม่มีทางรวบรวมทุกความเป็นไปได้ของการพิมพ์คำหยาบไว้ในลิสท์ของเราได้ ดังนั้นการแมทช์คำโต้งๆ ยังมีช่องโหว่อยู่มากมายนัก…
กว่าจะมาเป็นโปรเจคจบแชทบอทที่คว้ารางวัลที่ 1 NSC หมวด AI
ในวาระครบรอบ 1 ปีกว่าๆ นับตั้งแต่เริ่มทำโปรเจค ก็ขอบันทึกอะไรหลายๆ อย่างของโปรเจคนี้ไว้ตรงนี้ละกัน 🙂
ไอเดียของโปรเจคจบอันนี้เนี่ยเริ่มมาจากที่ตอนปีสามเลย จากที่ได้ทำ Seminar เรื่องแชทบอท พอ Seminar จบ อาจารย์ก็เลยเสนอหัวข้อนี้มาให้
แต่การตัดสินใจนี้ก็ใช้เวลาคิดอยู่นานพอสมควร เพราะจริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้อินกับ Chatbot ขนาดนั้น แต่สนใจเรื่อง Machine Learning และ Natural Language Processing เพราะมันดูล้ำล้ำไปเลยดี ทำให้ท้ายที่สุดแล้วก็ตกลงรับหัวข้อนี้เป็นโปรเจคจบ
สโคปหลักๆ ของโปรเจคนี้คือ เราจะทำแชทบอทที่จะมาตอบคำถามแทน Receptionist ในโรงพยาบาล โดยต้องตอบคำถามภาษาไทยได้ และใช้ AI เพื่อให้แชทบอทฉลาด วู้ว ทำไงวะครับ 555 NLP ภาษาไทยไปถึงไหนละหนอ / แต่เดี๋ยวก็ทำได้แหละ เอาเป็นว่ากดๆมาก่อนละกัน
ขั้นแรกของโปรเจคนี้ก็เริ่มต้นจากการเลือก Framework ก่อนเลย ตัวแมสๆ ในตลาดก็เช่น DialogFlow, Chatfuel หรือ Microsoft Bot Framework
ทีมเราค่อนข้างมีความตั้งใจที่จะลงแข่ง Microsoft Imagine Cup ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว เราก็เลยอยากจะใช้ Framework ที่เป็นของ Microsoft และจากการหาข้อมูลก็พบว่า ตัว Bot Framework ก็มี Dev Community ประมาณนึง มีคำถามคำตอบใน Stackoverflow (เวลาเลือกใช้อะไรอย่าลืมดูสิ่งนี้!) แล้วก็มีความสามารถในการ Deploy ลงแพลตฟอร์มที่เราต้องการได้ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วเราก็ได้ Microsoft Bot Framework มาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนา HPChat ขี้นมา 👏…
Software engineer at agoda — Tech, Games, Entertainment, Life ;)