สาเหตุที่ทำให้ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยใช้คำผิดความหมาย

สาเหตุที่ทำให้ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยใช้คำผิดความหมาย การใช้คำผิดความหมายเป็นปัญหาหนึ่งที่ครูสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติมักจะพบเจอเมื่อตรวจงานของลูกศิษย์ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากอะไร ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอสาเหตุหลักๆ ซึ่งรวบรวมและวิเคราะห์มาจากประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติของผู้เขียนเอง สาเหตุดังกล่าวมีดังนี้ ภาษาไทยมีคำที่สลับตำแหน่งกันซึ่งมีความหมายต่างกัน เช่น ดีใจ-ใจดี, แน่นหนา-หนาแน่น, นอนหลับ-หลับนอน, คำในลักษณะนี้เวลาชาวต่างชาตินำมาใช้พูดหรือเขียนก็อาจนำคำมาใช้ผิดความหมายได้ ยกตัวอย่าง ผู้เรียนต้องการพูดว่า “เขาเป็นคนใจดี” แต่กลับพูดว่า “เขาเป็นคนดีใจ”

สาเหตุที่ทำให้ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยใช้คำผิดความหมาย
สาเหตุที่ทำให้ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทยใช้คำผิดความหมาย

“เมื่อเริ่มสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติควรเริ่มอย่างไร?”

“เมื่อเริ่มสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติควรเริ่มอย่างไร?” การสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติที่ไม่มีพื้นฐานภาษาไทยมาก่อนเลย ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายของผู้สอนอย่างยิ่งเพราะผู้สอนต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์รวมทั้งประสบการณ์เพื่อสอนให้ผู้เรียนนั้นเข้าใจและสามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยให้ได้ สิ่งหนึ่งที่ผู้สอนต้องเข้าใจก่อนเริ่มการสอนก็คือ ลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้เรียน หลายครั้งที่ผู้สอนใจร้อนแล้วละเลยขั้นตอนบางอย่างซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน บทความนี้ผู้เขียนจึงอยากจะขอแนะนำขั้นตอนขั้นต้นของการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างชาติซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญและผู้สอนควรใช้เวลาในขั้นนี้ให้มาก

“เมื่อเริ่มสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติควรเริ่มอย่างไร?”
“เมื่อเริ่มสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติควรเริ่มอย่างไร?”

ว่าด้วยเรื่อง “ความรัก”

ว่าด้วยเรื่อง “ความรัก” ก่อนจะมอบหัวใจให้ใครนั้น ขอให้มันมั่นใจไร้กังขา ว่าเขามอบความรักภักดีมา ว่าเขาเก็บรักษาไว้อย่างไร หากเขาเฝ้าฟูมฟักทะนุถนอม ขอให้ยอมมอบจงอย่าสงสัย แม้ว่าเกิดเหตุหนักสักปานใด ก็เชื่อได้ใจมิห่างระหว่างกัน หากเขาเก็บเอาไว้ใต้อุ้งเท้า ทุกย่างก้าวย่อมเหยียบย่ำระกำนั่น จงรีบเอาหัวใจกลับคืนพลัน เพราะเขานั้นมิควรค่ารักษาใจ เมื่อกล่าวถึง “ความรัก” ย่อมมีหลากหลายมติ เช่น ความรักระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสัตว์ เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ทุกสรรพสิ่งล้วนต้องการความรักที่ดีงาม เพราะความรักที่ดีงามย่อมส่งผลให้สรรพสิ่งในโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ว่าด้วยเรื่อง “ความรัก”
ว่าด้วยเรื่อง “ความรัก”

ทักษะการฟังที่จำเป็นต่อความเป็นมนุษย์

ความนำ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่เข้าใจกันหรือไม่ก็เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าต้นตอของสาเหตุดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารที่ไม่มีใครฟังใคร ถ้าฟังก็เป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นการฟังเพื่อหาข้อโต้แย้ง เป็นการฟังเพื่อให้เรื่องนั้นผ่านพ้นไป เป็นการฟังเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของตน หรือไม่ก็เป็นการฟังเพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องฟังเท่านั้น โดยหวังผลในเชิงธุรกิจ การเมือง การแข่งขัน อันเป็นผลที่เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนเป็นสำคัญ

ทักษะการฟังที่จำเป็นต่อความเป็นมนุษย์
ทักษะการฟังที่จำเป็นต่อความเป็นมนุษย์

แค่รู้สิ่งนี้ ก็เรียนรู้การพูดได้อย่างมั่นใจ

“หนทางสำหรับการว่ายน้ำเป็น… ไม่มีวิธีอื่น นอกจากลงไปในน้ำ” (เดล คาร์เนกี) การพูดก็เช่นเดียวกัน หนทางของการเป็นนักพูดที่พูดเป็น พูดดี ก็ไม่มีทางอื่นนอกจากการลงสนามการพูด หรือการฝึกฝนการพูดในโอกาสต่าง ๆ นั่นเอง หลายคนหากต้องไปพูดต่อหน้าที่ชุมนุมชนมักจะเกิดอาการ ประหม่า ตื่นเต้น เขินอาย ขาดความมั่นใจ ไม่รู้ว่าจะพูดอะไร หรือลืมในสิ่งที่ตนได้เตรียมการพูดเอาไว้ อาการเหล่านี้เป็นธรรมดาของการพูดต่อหน้าที่ชุมนุมชน อย่างไรก็ตาม หากผู้พูดได้มีการฝึกฝนที่ดี หมั่นหาโอกาสในการพูด อาการอันไม่พึงปรารถนาเหล่านี้จะลดลงไปได้เอง

แค่รู้สิ่งนี้ ก็เรียนรู้การพูดได้อย่างมั่นใจ
แค่รู้สิ่งนี้ ก็เรียนรู้การพูดได้อย่างมั่นใจ