เชื้อประจำถิ่น (Normal flora)

Witoon Thirakittiwatthana
2 min readMay 26, 2023

--

Normal flora (Bacteria)

Normal flora คืออะไร?

หลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะเคยได้ยินนักจุลชีววิทยาเรียก ”Normal flora” ว่าเป็น “เชื้อประจำถิ่น” หากเราจะพูดถึง Normal flora ให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ เราก็อาจจะนึกถึง Normal flora ในฐานะเจ้าถิ่น ซึ่งจะมีความคุ้นชินกับสถานที่นั้น ๆ แบคทีเรียก็เช่นกัน Normal flora หรือ เชื้อประจำถิ่นนั้น สามารถพบได้บริเวณอวัยวะนั้น ๆ เป็นประจำซึ่งจะเป็นหลักแหล่งแน่นอน โดยที่เชื้อเหล่านี้จะอาศัยอยู่อย่างเงียบ ๆ ไม่ก่อโรคใด ๆ ให้กับเจ้าบ้าน แต่การที่ Normal flora ของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมีการเปลี่ยน หรือเคลื่อนย้ายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แหล่งของตน โดยการสัมผัสแล้วติดไปยังอวัยวะอื่น ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดโรคที่บริเวณอวัยวะใหม่นั้น ๆ ได้ และบ่อยครั้งที่เรามักจะพบว่า Normal flora มักจะก่อให้เกิดโรคได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (Immunocompromised host) หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressed host)

ความสำคัญของ Normal flora

Normal flora นั้นถือเป็นแบคทีเรียซึ่งมีความสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละอวัยวะ ซึ่งเราจะพบว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น Normal flora ของผิวหนังสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อราซึ่งก่อให้เกิดโรค athlete’s foot หรือฮ่องกงฟุต แต่อาจจะก่อให้เกิดกลิ่น หรือทำให้เกิดสิวได้, Normal flora ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยสร้างวิตามินและสารอาหารบางชนิด และยังช่วยให้แบคทีเรียก่อโรค (Pathogen) ไม่สามารถเคลื่อนที่เข้ามาอาศัยและก่อโรคได้ในผนังลำไส้, Normal flora ในช่องปาก ช่วยให้แบคทีเรียก่อโรค (Pathogen) ไม่สามารถเคลื่อนที่เข้ามาอาศัยและก่อโรคได้ในช่องปาก แต่อาจจะทำให้เกิดโรคของเหงือกและฟันได้ในบางครั้งที่มีบาดแผลในช่องปาก เป็นต้น

Normal flora ในระบบอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ที่พบบ่อย

ระบบผิวหนัง (Integumentary system)

Coagulase-negative Staphylococci,
Viridans group Streptococci,
Coryneform bacteria บางสายพันธุ์,
Micrococcus spp.,
Cutibacterium acnes

ระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract system)

Coagulase-negative Staphylococci,
Viridans group Streptococci,
Coryneform bacteria,
Micrococcus spp.,
Neisseria spp. บางสายพันธุ์,
Lactobacillus spp.

ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract system)

Escherichia coli,
Enterococcus spp.,
Enterobacter spp.,
Proteus spp.,
Lactobacillus spp.,
Bacteroides spp.,
Bifidobacterium spp.,
Clostridium spp.,
Peptostreptococcus spp.

ระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ (Genitourinary tract system)

Escherichia coli,
Lactobacillus spp.,
Viridans group Streptococci,
Coagulase-negative Staphylococci

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เอกสารอ้างอิง

1. ภัทรชัย กีรติสิน. (2549). วิทยาแบคทีเรียการแพทย์ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.วี.เจ. พริ้นติ้ง.

2. Al Hasan, M., Fitzgerald, S. M., Saoudian, M., Krishnaswamy, G. (2004). Dermatology for the practicing allergist: Tinea pedis and its complications. Clinical and Molecular Allergy, 2, 1–11.

3. Hossain, K. S., Amarasena, S., & Mayengbam, S. (2022). B vitamins and their roles in gut health. Microorganisms, 10(6), 1168.

4. Grice, E. A., & Segre, J. A. (2011). The skin microbiome. Nature reviews microbiology, 9(4), 244–253.

5. Gorbach, S. L. (1996). Microbiology of the gastrointestinal tract. Medical Microbiology. 4th edition.

6. Tannock, G. W. (Ed.). (2012). Medical importance of the normal microflora. Springer Science & Business Media.

--

--