การดำเนินคดีอาญาเบื้องต้นง่ายๆ

Praw N.
1 min readFeb 17, 2020

--

เวลาเกิดเรื่องอะไรขึ้น สิ่งที่ผู้เสียหายควรทำคือแจ้งความกับตำรวจหรือฟ้องศาล เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาถูกจับแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะทำการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหา และแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาที่พึงได้รับ โดยระหว่างทำการสอบสวนนั้น ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวไว้ ไม่เกิน 48 ชั่วโมง และเจ้าหน้าที่จะต้องจัดเตรียมสำนวนเพื่อส่งให้กับอัยการ เพื่อพิจารณาว่าคดีที่เกิดขึ้นมีมูลเหตุ หรือหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดกับผู้ต้องหา หรือ ส่งฟ้องต่อศาลหรือไม่ ถ้าอัยการ “สั่งฟ้อง” ย่อมหมายถึง พยานหลักฐานที่มีในชั้นสอบสวนเพียงพอต่อการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหานั่นเอง

เมื่อถึงขั้นตอนที่อัยการส่งฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลจะพิจารณาเพื่อรับฟ้อง และมีการดำเนินกระบวนพิจารณา นัดวันพิจารณาคดี ไต่สวน สืบพยาน และพิพากษาคดี และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ (ผู้เสียหาย) หรือ จำเลย (ผู้ต้องหา) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ หรือ ไม่ยอมรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ก็สามารถส่งฟ้องต่อไปยังศาลอุทธรณ์และฎีกาต่อไปได้ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาแล้ว คำพิพากษาถือว่าเป็นที่สุด และเมื่อคำพิพากษาระบุว่าจำเลยกระทำผิดจริง ศาลจะกำหนดบทลงโทษที่จำเลยควรได้รับ ซึ่งโทษทางอาญาของไทย มีด้วยกัน 5 สถาน ได้แก่ ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก และ ประหารชีวิต หากจำเลยได้รับโทษสถาน “จำคุก” จะต้องถูกส่งตัวไปเรือนจำ ซึ่งตลอดระยะเวลารับโทษนั้น ทางเรือนจำจะมีกิจกรรมเพื่อบำบัด ฟื้นฟู แก้ไขพฤติกรรม และฝึกอาชีพให้แก่นักโทษ นักโทษบางรายมีความประพฤติที่ดีขึ้น ช่วยเหลือกิจการของทางเรือนจำได้ดี ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นนักโทษชั้นดี อาจได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด หรือ พักการลงโทษ หรือ ลดวันต้องโทษนั่นเอง

ที่มา : เพจสำนักงานกิจการยุติธรรม

หาทนาย , จ้างทนาย
Find a lawyer Thailand
Find a lawyer Bangkok

Questions about law firm in Thailand

--

--