มุมมองของนายจ้าง หรือเจ้านาย ต่อการลาออกของ “คนเก่ง”

ปล.ไม่ใช่ผลจากการวิจัยนะคะ พอดีมีนิสิตถามมา แล้วคิดว่าเป็นประโยชน์ เลยอยากแชร์ให้อ่านกันค่ะ

ประเด็นนี้น่าสนใจนะ แต่ถ้าคำตอบเร็วๆ ก็น่าจะได้ความเห็นประมาณนี้:

  • เก่ง แต่ไม่มีความอดทน หรือไม่มีความเป็นผู้ใหญ่เพียงพอ = ไม่จงรักภักดีกับองค์กร
  • ลาออกไปเติบโตที่อื่น (อันนี้คือคนเก่งไปได้ดีขึ้น)
  • เสียดาย แต่ทำอะไรไม่ได้ (อารมณ์ประมาณ ช่างมันเถอะ)
  • ไม่เป็นไร เดี๋ยวหาคนใหม่มาแทนได้ (เพราะคนเก่งไม่ได้มีคนเดียว เดี๋ยวหาคนเก่งและทำงานได้มาแทนก็ได้)
  • เก่ง แต่ทำไมไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ชอบไปทำงานนอกเหนือหน้าที่ หรือพอไม่ได้ดังใจก็ลาออก เอาแต่ใจตนเองเกินไป และอื่นๆ
  • คิดว่าตัวเองเก่งเหรอ ไม่เก่งเท่าไหร่นะ คนอื่นเก่งกว่ามีมากมาย เดี๋ยวหาคนอื่นมาทำแทนก็ได้

ประมาณนี้ค่ะ แต่สำหรับ “องค์กร” ไม่ว่าเจ้านาย – ลูกน้องจะคิดยังไง Turnover ได้เกิดขึ้นแล้ว เจ้านาย ก็เป็นลูกน้อง ลูกน้องก็เป็นเจ้านายของคนอีกคนหนึ่ง การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ยุติธรรม ไม่ว่าจะในมุมมองของใคร เจ้านาย หรือลูกน้อง

ผลเสียเกิดกับองค์กรทั้งนั้น เพราะองค์กรเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการ Recruit คนใหม่ เอามา Train เอามาสอนงาน เอามาฝึก ตลอดจนความรู้ความชำนาญในการทำงานที่จากไปตามบุคลากรคนนั้น วัฒนธรรมองค์กรที่พยายามสร้างขึ้นมา ซึ่งการลงทุนในการสร้างบุคลากรมีค่าใช้จ่ายต่อหัวค่อนข้างสูง ถึงสูงมาก แต่เมื่อจ่ายไปแล้วรักษาไว้ไม่ได้ ก็ต้องจ่ายใหม่ เพิ่มอีกไปเรื่อย ๆ ค่ะ (การสร้างคนใหม่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าการรักษาคนเก่าไว้ถึง 8 เท่า อาจจะมากกว่าถ้าคนนั้นเก่งจริง ๆ)

ประสบการณ์ทำงานที่พนักงานได้รับ กลายเป็นการบอกต่อไปยังคนรู้จัก advocate ที่เหมือนกับการตลาด เมื่อการบอกต่อเป็นไปในเชิงลบ สิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง คนอื่นๆ ที่ได้ฟังจะเห็นถึงความเสี่ยง ไม่แน่ใจ และส่วผลต่อการตัดสินใจ องค์กรใหม่ก็จะหาพนักงานดี ๆ ได้ยากขึ้น กรณีที่ลูกน้องเก่งจริง และเจ้านายไม่โอเคจริง ๆ Ecosystem ขององค์กรก็จะพังเอาง่าย ๆ เพราะเมื่อคนเก่าลาออก ต้องให้ออกตามระยะเวลา คนใหม่หามาแทนไม่ทัน ไม่มีคนมารับงานต่อ สุดท้ายเมื่อได้คนใหม่มา ไม่มีคนสอนงาน หรือที่แย่กว่านั้นก็เอางานไปให้พนักงานคนอื่นทำเพิ่ม โหลดงานเค้าก็เพิ่ม แล้วคนนั้นก็อาจจะลาออกไปอีกคนค่ะ Turnover rate ก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ คนทำงานได้ก็ลดลงเรื่อย ๆ เหลือแต่กลุ่มคนที่เรียกว่า “Dead woods” ไม่สร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับองค์กร

Photo Credit — Paul Hanaoka on unsplash.

https://unsplash.com/photos/CpH2BusVAgI?utm_source=unsplash&utm_medium=referral&utm_content=creditShareLink

--

--

Knot Suthasinee Susiva
A Cuppa Academy

Knot or Dr. Suthasinee Susiva, is a marketing lecturer & business woman who falls in love with travelling in Thailand and around the World.