Programming
พัฒนาความคิด เพื่อพิชิตงาน 2020
Linkedin โซเชียลเน็ตเวิร์กทางด้านอาชีพการงานที่ใหญ่ที่สุดด้วยสมาชิกกว่า 175 ล้านคนทั่วโลก ได้คาดการณ์อาชีพใหม่มาเเรงในสหรัฐอเมริกาทั้ง 15 อันดับ ได้เเก่ Artificial Intelligence Specialist, Robotics Engineer, Data Scientist, Full Stack Engineer, Site Reliability Engineer, Customer Success Specialist, Sales Development Representitive, Data Engineer, Behavioral Health Technician, Cybersecurity Specialist, Back-End Developer, Chief Revenue Ofiicer, Cloud Engineer, JavaScript Developer เเละ Product Owner
จะเห็นได้ว่าทั้ง 15 อาชีพนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ซอฟต์เเวร์ เเละเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งนั้นเลย ใครที่ทำงานสายนี้อยู่หรือกำลังมองหาตำเเหน่งงานที่ผมกล่าวไว้ ผมว่าเราควรเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนเเปลงนี้นะครับ ทาง Achieve Plus ขอพาคุณไปเช็คทักษะความคิดทั้ง 7 ที่เราควรมีเพื่อความอยู่รอดในปี 2020 ครับ
1. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
คือ กระบวนการคิดในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ
2. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking)
คือ กระบวนการคิดที่พิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างต่างๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้นเพื่อเปิดแนวทางความคิดสู่ทางที่แตกต่าง อันนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผล ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
3. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking)
คือ กระบวนการคิดที่วิเคราะห์เเละประเมินแนวทางการปฏิบัติ โดยเฉพาะสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตัดสินใจให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual thinking)
คือ กระบวนการคิดที่เชื่อมโยงส่วนประกอบหรือความสัมพันธ์ต่างๆ ของข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกัน โดยไม่ขัดแย้ง เป็นการมองภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันจนเป็นภาพที่ชัดเจน กระชับสามารถอธิบายได้ สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจนเเละมีระบบ
5. การคิดเปรียบเทียบ (Comparative thinking)
คือ กระบวนการคิดเพื่อพิจารณาสิ่งหรือเหตุการณ์ต่างๆที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจ หรือเปรียบเทียบเพื่อแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตหรือจุดประกายความคิดใหม่ๆ ให้ต่างจากเดิม
6. การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking)
คือ กระบวนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆและนวัตกรรม จากทักษะและกระบวนการคิดแบบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้คน สังคม โลก ออกมาเป็นรูปธรรมและสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
7. การคิดเชิงระบบ (System thinking)
คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอน การมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ มีขั้นตอน และรายละเอียดแยกย่อยออกมา และเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
sasimasuk
8 บรรทัดครึ่ง