Stop Starting, Start Finishing!!!
The Basic Idea Behind Scrum’s Burndown Chart
“ใครอยู่ใน Scrum Team แล้วไม่รู้จัก Burndown Chart บ้าง?” คงมีน้อยคนที่จะยกมือขึ้นเมื่อเจอคำถามนี้ งั้นเปลี่ยนคำถามใหม่
“ใครอยู่ใน Scrum Team ที่ไม่ใช้ Burndown Chart บ้าง?” อาจจะมีคนยกมือเพิ่มนิดนึงเพราะบางทีมก็ไม่ได้ใช้ อีกหลายทีมก็ใช้แบบไม่จริงจัง มีไว้งั้นๆแหละ ขอคำถามสุดท้าย
“ใครอยู่ใน Scrum Team ที่ใช้ Burndown Chart และไม่เข้าใจแนวคิดเบื้องหลังของมันบ้าง?” คำถามนี้คงทำให้คนในห้องยกมือกันเพียบ ขออนุญาตเล่าให้ฟัง
Burndown Chart เป็นกราฟง่ายๆที่ใช้บอกเราว่า “เราทำงานเสร็จไปแล้วเท่าไรและเราเหลืองานที่ต้องทำอีกเท่าไร” หรืออีกนัยหนึ่งคือ Burndown Chart จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเราเริ่มต้นทำงาน (Task หรือ Sub-Task) ใหม่ แบบนี้
นี่แปลว่าแนวคิดเบื้องหลังของ Burndown Chart คือ
Stop Starting, Start Finishing!!! — หยุดเริ่มต้นทำงานใหม่ จงเริ่มต้นทำงานเก่าให้เสร็จโว้ยยยย
ขอนิยามคำว่างานจะเสร็จนิดนึงนะ … งานเสร็จคือ User Story นั้นเสร็จสมบูรณ์ตาม Definition of Done ที่กำหนดไว้ การที่จะทำได้แบบนี้มันต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนทั้งทีม ย้ำทั้งทีม ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดแค่จะทำ Task หรือ Sub-Task ของตัวเองให้เสร็จ … ในระหว่าง Daily Scrum ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้
คนที่หนึ่ง: “เมื่อวานผมทำ Sub-Task นี้เสร็จแล้วครับ วันนี้จะไปเริ่มทำ Sub-Task นี้ของ User Story-2 ต่อ”
คนที่สอง: “ค่ะ งั้นหนูจะเริ่ม Sub-Task ของ User Story-3 แล้วกันค่ะ”
คนที่สาม: “ผมขอ User Story-4 ครับ”
จงยกมือขึ้นแล้วตะโกนออกไปดังๆว่า “Stop Starting, Start Finishing โว้ยยยย” 555 มันส์
ป.ล. ผมไม่เชื่อในการทำ Burndown Chart ด้วยการคำนวณจากจำนวนชั่วโมงในการทำงาน … มันเป็นการหลอกตัวเองอย่างรุนแรงว่างานเราคืบหน้า … ไม่ๆ ไม่ใช่แบบนั้นเลยสำหรับผม
ผมเขียนบทความนี้เพราะอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตซอฟท์แวร์ให้ดีขึ้นตามความเชื่อและประสบการณ์ของผม ถ้าเพื่อนๆเชื่อในแนวทางเดียวกัน เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้สังคมของเราดีขึ้นครับ จะแชร์บทความนี้ผ่าน Social Network หรือจะแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้คนที่นั่งข้างๆฟังบ้างก็ได้
The Future Has Arrived — It’s Just Not Evenly Distributed Yet, William Gibson
อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว เรามีหน้าที่ต้องถ่ายทอดมันออกไปให้คนอื่นได้สัมผัสสิ่งดีๆร่วมกันครับ