Soil Stick ตอนที่ 5.1: เกิดอะไรขึ้นในสายเซ็นเซอร์ยาว?

Ton.AhHa
AgriThaiIoT
Published in
2 min readApr 20, 2020

ในบทความตอนนี้ ผมจะมาทดสอบสายไฟกับการชีลด์สายครับ

สายไฟ 4Core 24AWG ชีลด์แบบ Single+Mylar Foil

มารู้จักสายไฟกันก่อน สายไฟที่ใช้ จะเป็นสาย 4Core 24AWG ส่วนชีลด์เป็นแบบ Single+Mylar Foil ครับ มีส่วนประกอบดังนี้

  • สายไฟ 24AWG 4เส้น
  • สายไฟแบบไม่มีฉนวน 1 เส้น ผมขอเรียกว่ากราวด์ของสายนะครับ
  • ชีลด์ ฟอยล์ ห่อหุ้มสายไฟชั้นใน ฟอยล์ชั้นนี้จะสัมผัสกับกราวด์ของสายตลอดความยาวสายไฟ
  • ปลอกพลาสติก(ไม่ทราบชนิด) ทนความร้อนได้ที่ 80°C

***การชีลด์ในการทดลองนี้ คือการต่อกราวด์ของสายเข้ากับกราวด์ของเครืองมือวัด ซึ่งในที่นี้คือออสซิลโลสโคป (oscilloscope)

การทดลอง

สายไฟด้านที่ต่อเข้ากับออสซิลโลสโคป

ผมต่อสายสีดำเข้ากับกราวด์ของออสซิลโลสโคป และสายสีขาวเข้ากับแชนแนล 1 ของออสซิลโลสโคป ส่วนปลายอีกด้าน นำสายสีดำและสายสีขาวเชื่อมต่อกันไว้

ปลายสายไฟอีกด้าน สายไฟสีดำกับสายไฟสีขาวเชื่อมต่อกัน

ผมทดลองโดยการนำกราวด์ของออสซิลโลสโคปที่ต่ออยู่กับสายสีดำมาต่อกับกราวด์ของสายไฟ (ที่ไม่มีฉนวนหุ้ม) ขณะบันทึกการทดลอง แล้วจะนำไปทดลองกับสายไฟ 2 เส้น ที่ระยะความยาวสายไฟ 1.5 เมตร และ 25 เมตรครับ

ผลการทดลอง

ทดสอบสายไฟเส้นที่ 1 ระยะความยาวสายไฟ 1.5 เมตร

การทดลองต่อกราวด์เข้ากับชีลด์ของสายไฟ (ระยะความยาวสายไฟ1.5เมตร), Volt /Dev = 5mV, Time/Div = 2ms

ทดสอบสายไฟเส้นที่ 2 ระยะความยาวสายไฟ 25 เมตร

การทดลองต่อกราวด์เข้ากับชีลด์ของสายไฟ (ระยะความยาวสายไฟ 25 เมตร), Volt /Dev = 5mV, Time/Div = 2ms

จากการทดลอง

สายไฟสั้นมีสัญญาณรบกวนน้อยกว่าสายไฟยาว และจากทั้งสองการทดลอง สัญญาณรบกวนลดลงเมื่อทำการชีลด์

บทความตอนนี้ยังไม่จบ เราไปต่อกันที่ Soil Stick ตอนที่ 5.2: เมื่อเซ็นเซอร์อนาล็อกต่อกับสายเซนเซอร์ยาว จะมีผลต่อการวัดไหม?

ติดตามผลงานได้ที่

cover

สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ~

--

--