Soil Stick ตอนที่ 2: การทดสอบเซ็นเซอร์บนบอร์ด Arduino

Ton.AhHa
AgriThaiIoT
Published in
2 min readApr 15, 2020

สวัสดีครับ! ต่อจากตอนที่แล้ว [Soil Stick ตอนที่ 1: Sensor ความชื้นในดินชนิด domain ความถี่ (FDR)] เราได้รู้จักชนิดของเซ็นเซอร์ความชื้นในดินและ Soil Stick กันไปแล้ว ตอนที่ 2 นี้ ผมจะพามาชมการใช้งานร่วมกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller) ยอดนิยม อย่างบอร์ดอาดุยโน่ (Arduino) กันครับ

พอดีว่า เรามีอาดุยโน่ชีลด์ที่ทำไว้ใช้กับโปรเจคอื่นเหลืออยู่ เลยหยิบมาลองเพื่อความสะดวกครับ การเชื่อมต่อมีดังนี้

  • สายสีดำ: ต่อกับ GND
  • สายสีแดง: ต่อกับ 5 V
  • สายสีเหลือง: ต่อกับ A1
  • สายสีขาว: ต่อกับ A0

เรียบร้อยแล้ว มาต่อกันที่โค้ดด้านล่างเลยครับ

คำอธิบายโค้ด

โค้ดจะทำงานโดยอ่านค่าอนาล็อคแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้า จากนั้นแสดงผลบนซีเรียลมอนิเตอร์ทุกๆ 1 วินาที เป็นโค้ดง่ายๆ (คำอธิบายโค้ดดูที่ใต้ภาพด้านบนเลยครับ) เรามาทดสอบและดูค่าที่ออกมากันครับ

ผมทดสอบด้วยการจุ่มเซ็นเซอร์ลงในน้ำเปล่า เพื่อดูการเปลียนแปลงค่า output (โวลต์)

  • ก่อนจุ่มเซ็นเซอร์ลงในน้ำ วัดค่าที่อากาศเปล่า/เซ็นเซอร์แห้ง อ่าน output ได้ที่ 2.49 V
  • จุ่มเซ็นเซอร์ลงไปทั้งตัว อ่าน output ได้ที่ 1.85 V
  • ดึงเซ็นเซอร์ขึ้นจากน้ำ โดยเซ็นเซอร์ยังเปียก อ่าน output ได้ที่ 2.36 V

แปลว่า output ของเซ็นเซอร์ตัวนี้ แปรผกผันกับความชื้นแน่นอน

ทีนี้ ผมอยากให้การอ่านค่านั้นเข้าใจง่ายขึ้น เลยทำให้มันแสดงค่าแปรผันตรงตามความชื้น และเปลี่ยนสเกลโวลต์ เป็นสเกล 0.0–10.0 ครับ เรามาโค้ดกันต่อเลยครับ

โค้ดจะทำงานโดยแปลงค่าจากแรงดันไฟฟ้า output เป็นสเกล 0–10 ด้วยฟังก็ชั่น map( ) ผมจะยึดค่า output ที่ทดสอบไว้ในตอนแรกมาอ้างอิงในการแปลงค่าครั้งนี้ จะอยู่ในตัวแปร

  • DRY_MILLIVOLT
  • WET_MILLIVOLT

ค่าที่ได้จะออกมาเป็นดังนี้ครับ

เซ็นเซอร์แห้ง เราอ่านค่าได้ 0.0 แต่พอค่อยๆ จุ่มลงในน้ำ ค่าที่อ่านได้ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งมากที่สุด อ่านค่าได้ถึง 9.9

เมื่อนำเซ็นเซอร์ขึ้นจากน้ำ อ่านค่าได้ที่ 0.5–0.6 หลังจากเช็ดน้ำออกให้เซ็นเซอร์แห้ง จะอ่านค่าได้ 0.0

แปลว่า เราสามารถวัดความชื้นและอ่านค่าให้อยู่ในสเกลที่เราเข้าใจได้ง่าย ด้วยการให้เซ็นเซอร์ตัวนี้ทำงานร่วมกับโค้ดชุดนี้ครับ

สำหรับตอนที่ 2 นี้ คือ การทดสอบเซ็นเซอร์ Soil Stick อย่างง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพการทำงานของเซ็นเซอร์ได้ดีขึ้น ตอนต่อไปเราจะมาทดสอบกับดินบ้าง แล้วมาติดตามกันครับว่าผลจะเป็นอย่างไร

--

--