ความสำคัญของการทำ Market Filter

Pawarison Tanyu
Algo Alchemist
Published in
2 min readSep 13, 2023
Photo by Ishan @seefromthesky on Unsplash

ในการจะสร้างกลยุทธ์การลงทุนสักหนึ่งกลยุทธ์ หลายๆคนอาจจะให้ความสำคัญกับเงื่อนไขการเข้าซื้อหรือการขายมากจนเกินไปเลยอาจมองข้ามสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ สภาวะตลาดโดยรวม

เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น จะซื้อหุ้นตัวใหนก็ขึ้น เมื่อตลาดเป็นขาลงจะซื้อหุ้นตัวใหนก็ขาดทุน ดังคำกล่าวที่ว่า “A Rising tide lifts all boats”

โดยเราสามารถจำแนกสภาวะตลาดในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดขาขึ้น ตลาดขาลง ตลาดไซด์เวย์ หรือจะจำแนกให้ละเอียดขึ้นมาหน่อยก็เพิ่มความผันผวนเข้ามาด้วย เช่นตลาดขาขึ้นและผันผวนสูงหรือผันผวนต่ำ เป็นต้น

และแน่นอน จะสามารถทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่ากลยุทธ์ของเราเหมาะสมกับตลาดแบบใหนอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้ อีกทั้งยังสามารถนำกลยุทธ์การบริหารเงินเข้ามาประกอบได้อีกด้วยเช่น เมื่อตลาดไม่เอื้ออำนวยเราอาจลด Position Size ลงมาครึ่งหนึ่ง หรือ ปิด Positions ทั้งหมดเมื่อตลาดเป็นขาลงโดยสมบูรณ์ ก็ได้เช่นกันครับ

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นการวิเคราะห์จากบนลงล่าง เป็นวิธีการโดยทั่วไปที่ใช้หาจังหวะในการเข้าลงทุน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ตั้งแต่ภาพใหญ่หรือตลาดโดยรวม ก่อนที่จะไปวิเคราะห์ระดับกลุ่มอุตสาหกรรม และไปที่การคัดเลือกเพื่อซื้อหุ้นเข้าพอร์ทของเราครับ

ซึ่งเป้าหมายหลักๆของการทำ Market Filter คือ

- เพื่อหาสภาวะตลาดที่เหมาะสมสำหรับการทำกำไรในกลยุทธ์ของเรา (Favorable Market Conditions)

- เพื่อลดความเสี่ยงหรือความผันผวนโดยรวมของพอร์ทโฟลิโอ

โดยในบทความนี้จะนำเสนอรายละเอียดและผลลัพธ์การทำ Market Filter ในแบบที่เรียบง่าย ว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนและลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยยะหรือไม่ ไปดูกันครับ

การทำ Market Filter ดีจริงหรือ?

ในส่วนของการจำแนกสภาวะตลาด เพื่อให้ง่ายต่อการทดสอบเราจะแบ่งเเค่ 2 สภาวะคือตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

ตัวอย่างการกรองตลาดด้วยเส้นค่าเฉลี่ย

ซึ่งในการทดสอบนี้เราจะไม่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยของ Index เเต่จะใช้ Customize Index หรือ Market Breadth เป็นตัวเเทนของตลาดกันครับ โดยตัวที่เราจะใช้ทดสอบคือ New Highs-Lows Cumulative ซึ่งถ้าค่ามากกว่า EMA40 จะทยอยเข้าซื้อหุ้น และจะขายหุ้นทั้งหมดเมื่อมีค่าน้อยกว่า EMA40

การทดสอบนี้เราจะใช้กลยุทธ์การลงทุนประเภท Long Only Sector Rotation แบบอย่างง่าย โดยมีรายละเอียดของการทดสอบดังนี้

Backtesting Window : 1/1/1995 — Recent

Backtesting Restriction :

- เงินทุนเริ่มต้น 1แสน ดอลล่าร์

- อัตราค่า Commission 0.005 ดอลล่าร์ต่อหุ้น อิงตาม Interactive Broker

- Slippage สุ่มค่าระหว่าง 0–1% ในแต่ละออเดอร์

Universe :

- หุ้นทุกตัวในตลาด S&P500 ซึ่งรวมถึงหุ้นที่ถูกเพิกถอนออกจากตลาด (Delisted Stock)

- กรณีถือหุ้นที่กำลังจะถูกเพิกถอน จะขายก่อนถูกเพิกถอนออกจากตลาด 1 วัน

Buy Condition :

- Relative Strength ของ Sector ของหุ้นนั้นๆ ต่อ S&P500 มีค่ามากกว่า 0

- Relative Strength ของหุ้น ต่อ Sector มีค่ามากกว่า 0

- EMA 200 มีค่ามากกว่าเมื่อ 40 วันก่อน

- Volume เฉลี่ย 10 วัน มากกว่า 1เเสน

Sell Condition :

- Relative Strength ของ Sector ของหุ้นนั้นๆ ต่อ S&P500 มีค่าน้อยกว่า 0

- Relative Strength ของหุ้น ต่อ Sector มีค่าน้อยกว่า 0

Data : ใช้ราคา Adjust Dividend, Reconstructions และ Special Distribution เรียบร้อยแล้ว

Position Size : 5% ของEquity และเปิดสถานะได้สูงสุด 20 หลักทรัพย์

Position Score : Relative Strength ของหุ้นต่อ Sector

Order Management : ทำการซื้อขายราคาเปิด (Open) ของวันถัดไปของวันที่เกิดสัญญาณ

ผลลัพธ์ของการทดสอบกรณีไม่มี Market Filter

จากผลลัพธ์ด้านบนจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ประเภท Sector Rotation ค่อนข้างมีผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด มี CAGR 14.43% ในขณะที่ตลาดทำได้ 10.25% แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยความที่กลยุทธ์ประเภทนี้ค่อนข้างมีการลงทุนที่กระจุกตัว ก็ต้องแลกมาด้วยการที่มีความผันผวนที่สูงถึง 23.42% ซึ่งสูงกว่าตลาดแน่นอนครับ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงขาลงของวัฏจักรเศรษฐกิจเราอาจเจ็บตัวหนักอย่างเช่นช่วงปี 2007–2009 ที่เกิด Financial Crisis ครับ

เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว เรามาทำ Market Filter เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อตลาดไม่เอื้ออำนวยด้วย New Highs-Lows Cumulative กันครับ

ผลลัพธ์ของการทดสอบเมื่อเพิ่ม Market Filter เข้ามาเป็นเงื่อนไข

เมื่อดูที่ equity curve จะเห็นได้ชัดเลยว่า ช่วงที่เกิด drawdown หนักๆ ได้หายไปพอสมควร ส่วน max drawdown ได้ลดลงจาก -54.9% เหลือ -34.9% เเละ CAGR ได้เพิ่มเป็น 19.83% อีกด้วย

— สรุป —

ถึงเเม้ว่า Market Breadth จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่ใช้ระบุสภาวะตลาดหรือ market condition ดังคำกล่าวที่ว่า

“ตลาดจะเเข็งเเกร่งเมื่อหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดเเข็งเเกร่งเเละจะอ่อนเเอเมื่อมีหุ้นในตลาดเพียงหยิบมือคอยดันตลาด”

วัฎจักรของตลาดโดยปกติเเล้ว เมื่อเป็นขาขึ้น หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดจะเป็นขาขึ้น เเละตลาดจะค่อยๆเสีย momentum จนไม่สามารถขึ้นไปต่อได้เมื่อเหลือเเต่หุ้นใหญ่(Large Cap) คอยพยุงในขาขึ้นนั้นๆ ด้วยเหตุนี้หุ้นขนาดกลางเเละเล็ก(Small ,mid-caps ) จึงบ่งบอกถึงคุณภาพเเละความเเข็งเเกร่งของเเนวโน้ม Market Breadth ถึงถูกนำมาใช้กันอย่างเเพร่หลายเพราะ standard index ส่วนใหญ่คำนวณเเบบ Marketcap Weight ไม่ว่าจะเป็น SET, NASDAQ หรือ S&P ก็ตาม

การทำ Market Filter มีวิธีการอื่นๆอีกมากมาย อย่างเช่นการใช้ indicator มาคำนวณ index หรือการใช้ market breadth มาเป็นตัวเเทนของตลาดโดยรวมหรือ Customize index

ซึ่งจากที่กล่าวมายังไม่รวมการใช้พวก Economic data เข้ามาเป็นปัจจัยในการจะเเนกสภาวะตลาด เเละทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับเป้าหมายเเละสมมุติฐานของตัวนักลงทุนเอง อีกทั้งยังเรื่องของความเหมาะสมกับระบบการลงทุนอีกด้วยครับ

--

--