5 Basic key trading metrics

Pawarison Tanyu
Algo Alchemist
Published in
3 min readJun 18, 2024

การเก็งกำไรหรือการลงทุนต่างๆในตลาดการเงินให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์อะไรก็ตาม ต้องอาศัยการตัดสินใจที่รอบคอบและมีพื้นฐานที่มั่นคง การวิเคราะห์ Performance ในด้านต่างๆอย่างครอบคลุม ทั้งในด้านการทำกำไรของระบบไปจนถึงการควบคุมความเสี่ยง ซึ่งทั้งหมดจะช่วยให้ตัวนักลงทุนเอง ตัดสินใจลงทุนอย่างมีข้อมูลและปรับปรุงกลยุทธ์ของตัวเองได้ โดยปราศจากอัคติหรือ Bias ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในบทความนี้ เราจะพิจารณา key metrics หลักๆที่ขาดไม่ได้เลย 5 ตัว ในการประเมินประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการซื้อขาย

  1. Sharpe Ratio

Sharpe Ratio คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ:

ทุกคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า high risk, high return เเล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ความเสี่ยงที่เราเเบกรับ คุ้มค่าหรือปล่าวกับผลตอบเเทนที่ทำได้

Sharpe Ratio = (Rate of Return – Risk-Free Rate) / Standard Deviation

จากสูตร

ตัวเศษ : อัตราส่วนผลตอบแทนส่วนเกิน คือ Return — Risk free rate หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ลบ อัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (ซึ่งก็คือการฝากเงิน พันธบัตร)

ตัวส่วน : ความผันผวนของกำไรของ Portfolio หรือก็คือ Standard Deviation นั่นเอง

สรุปก็คือ Sharpe Ratio เป็น Metric ที่ใช้วัดการทำกำไรของกลยุทธ์เมื่อเทียบกับความเสี่ยง หรือ Risk Adjusted Performance “ค่าที่สูงหมายถึงกลยุทธ์มีประสิทธิภาพในการทำกำไรด้วยความเสี่ยงต่ำ”

  • Sharpe Ratio < 0 Poor. กลยุทธ์ไม่สามารถทำกำไรได้.
  • Sharpe Ratio < 1.0 Undefined. กลยุทธ์นี้ผลตอบเเทนที่ทำได้ ไม่คุ้มกับความเสี่ยง
  • Sharpe Ratio ≥ 1.0 Good. กลยุทธ์นี้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง
  • Sharpe Ratio ≥ 3.0 Excellent.

อย่างไรก็ตาม Sharpe Ratio ไม่จำเป็นต้องเป็นค่าคงที่เสมอไป สามารถคำนวณเเบบ Rolling ไปได้ เพื่อให้เห็นความเป็นไปในเเต่ละช่วงเวลา ได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

Rolling 6 Months Sharpe

ข้อจำกัดของ Sharpe Ratio

เนื่องจาก ค่า Standard Deviation ที่เราใช้เป็นตัวหารหรือเป็นตัวเเทนของความเสี่ยง ได้นับความผันผวน ในฝั่งกำไรหรือ upside เข้าไปด้วย ทำให้กลยุทธ์ประเภทที่ winrate ต่ำ เเต่กินกำไรคำใหญ่อย่างประเภท Trend Following มักจะมีค่า Sharpe Ratio ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ

ในส่วนนี้ อาจจะเลือกใช้ Metric อื่นๆเข้ามาช่วย อย่างเช่น Sortino Ratio ซึ่งจะใช้ Standard Deviation ของฝั่ง negative downside เข้ามาเป็นตัวหารเเทนครับ

2. Maximum Drawdown and Average Drawdown

Drawdown คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ:

Drawdown คือการลดลงของมูลค่าการลงทุนจากจุดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุด ก่อนที่จะกลับมาฟื้นตัวสู่ระดับเดิมหรือสูงกว่าเดิม มักใช้เป็นเครื่องมือวัดความเสี่ยงของการลงทุน โดยมีการคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากการเปรียบเทียบระหว่างจุดสูงสุด (peak) กับจุดต่ำสุด (trough) ของมูลค่าการลงทุนในช่วงเวลาหนึ่ง

  • ตัวอย่างการคำนวณ Drawdown

หากนักลงทุนมีพอร์ตการลงทุนที่มีมูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 1,000,000 บาท แล้วมูลค่าลดลงไปจนถึงจุดต่ำสุดที่ 800,000 บาท ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นมา การคำนวณ Drawdown จะเป็นดังนี้ :

ดังนั้นในกรณีนี้ พอร์ตการลงทุนมี Drawdown เท่ากับ 20%

เเต่เรื่องของ Drawdown ยังไม่หมดเเค่นั้น ยังมี Drawdown Period ที่จำเป็นจะต้องคำนึงอีกด้วย หรือก็คือการวัดความเสี่ยงเชิงเวลา (Temporal Risk Measurement) ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลโดยตรงกับสภาพจิตใจของตัวนักลงทุนเอง เเละเเน่นอนทุกคนคงไม่อยากเห็นเงินตัวเองนอนนิ่งเฉยๆเป็นระยะเวลาหลายปีใช่มั้ยครับ

ตัวอย่าง Underwater Plot เเละ Average Drawdown

3. Recovery Factor

หลังจากรู้จัก เราก็จะมาที่ Recovery Factor กันต่อครับ เพราะมีการใช้ค่า Max Drawdown เข้ามาคำนวณร่วมด้วย

Recovery Factor คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ:

Recovery Factor = Net Profit / Max Drawdown

โดยที่:

  • กำไรสุทธิ คือ ผลกำไรสุทธิที่กลยุทธ์การลงทุนสามารถสร้างขึ้นได้
  • การร่วงลงสูงสุด (Maximum Drawdown) คือ ค่าการลดลงของมูลค่าพอร์ตสูงสุดนับจากจุดสูงสุด จนถึงจุดต่ำสุดของพอร์ตในช่วงเวลานั้น

Recovery Factor แสดงถึงความสามารถของกลยุทธ์ในการฟื้นตัวจากการขาดทุนและรักษาระดับกำไรให้อยู่ในเกณฑ์ดี ยิ่ง Recovery Factor มีค่าสูงเท่าไร ก็ยิ่งแสดงถึงศักยภาพในการชดเชยการขาดทุนจากการร่วงลงสูงสุดได้เร็วขึ้น

โดยทั่วไปถือว่า Recovery Factor ที่ดีควรมีค่ามากกว่า 3 เพราะแสดงถึงความสามารถที่จะสร้างกำไรชดเชยการขาดทุนจากการร่วงลงสูงสุดได้อย่างน้อย 3 เท่า

4. Profit Factor

Profit Factor คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ:

Profit Factor คือ อัตราส่วนของกำไรรวมต่อขาดทุนรวม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนหรือการเทรด

สูตรคำนวณ Profit Factor:

Profit Factor = Gross Profit / Gross Loss

โดยที่:

  • กำไรรวม คือ ผลรวมของกำไรทั้งหมดในช่วงเวลาที่พิจารณา
  • ขาดทุนรวม คือ ผลรวมของขาดทุนทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน

การแปลความหมาย Profit Factor:

  • Profit Factor > 1 หมายความว่ากลยุทธ์มีกำไรมากกว่าขาดทุน ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดี
  • Profit Factor = 1 หมายถึงคืนทุน ไม่ได้กำไรหรือขาดทุน
  • Profit Factor < 1 หมายความว่ากลยุทธ์ขาดทุนมากกว่ากำไร

Profit Factor เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์ โดยกลยุทธ์ที่ดีควรมี Profit Factor มากกว่า 1.5 หรือสูงกว่า แสดงถึงความสามารถในการสร้างกำไรสูงกว่าการขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ

5. Max. Deposit Load

Max. Deposit Load หรือ ค่าสูงสุดของเงินฝากที่ใช้ในการเปิดสถานะ หรือก็คือ อัตราส่วนสูงสุดของเงินในบัญชีที่ถูกนำไปใช้สำหรับการเปิดสถานะซื้อขายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ทำไมมันจึงมีความสำคัญ:

การใช้เงินฝากในสัดส่วนสูงนั้นมีความเสี่ยงสูงสำหรับบัญชีการซื้อขาย หากตลาดเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่เอื้ออำนวย โอกาสในการสูญเสียเงินทั้งหมดจะสูงขึ้นถ้าค่า Deposit Load สูงมาก

วิธีการตีความ :

ค่า Max. Deposit Load ที่ต่ำลงแสดงถึงการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น เเต่อย่างไรก็ตามไม่มีค่า Deposit Load ที่เหมาะสมกับทุกกลยุทธ์ ค่านี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการซื้อขายและระยะเวลาในการถือสถานะ อย่างเช่นกลยุทธ์ประเภท Scalping สามารถใช้สัดส่วนเงินฝากสูงได้ เนื่องจากมุ่งหวังกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาเพียงเล็กน้อย และมักเปิดสถานะปริมาณมาก

ซึ่ง Max. Deposit Load ก็เป็น metric ที่ค่อนข้างสำคัญเเละนักพัฒนาหลายคนก็มักจะมองข้ามครับ

Summary

ทุกๆ Metrics ที่นำมาพิจารณามีความสำคัญต่อการวิเคราะห์และประเมินกลยุทธ์การซื้อขาย เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ Metrics หลาย ๆ ตัวประกอบกัน โดยคำนึงถึงรูปแบบกลยุทธ์การซื้อขายและสภาวะตลาด

การใช้และทำความเข้าใจสถิติเหล่านี้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงและปรับปรุงผลการซื้อขายให้ดีขึ้น โดยปราศจาก Bias ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงระบบการลงทุนของเราให้ดีขึ้น ก็ต้องระวังเรื่อง Curve Fitting อีกทั้งจะมีเรื่องของการ Trade off บางอย่างเกิดขึ้นเสมอๆ อย่างเช่น เมื่อปรับเรื่อง Drawdown Period ก็อาจจะต้องเเลกกับกำไรที่ลดลง เป็นต้นครับ

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับ Systematic Trader ในการทำ Backtest ของทุกท่านนะครับ ไว้เจอกันใหม่ในบทความหน้าครับ

“Never Stop Learning”

Algo Alchemist

--

--