Time-based Strategy in FX Markets

Pawarison Tanyu
Algo Alchemist
Published in
3 min readJul 15, 2024

Source paper: Breedon, Francis and Ranaldo, Angelo, Intraday Patterns in FX Returns and Order Flow (April 3, 2012). Queen Mary, University of London, School of Economics and Finance WP 694. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2099321

กลยุทธ์ที่ใช้เวลาเป็นหลัก หรือ Time-based Strategy ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange หรือ FX) คือการใช้ข้อมูลเวลา มาช่วยในการตัดสินใจซื้อขาย โดยมีสมมุติฐานตั้งต้นที่ว่า ธุรกิจต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในรูปแบบที่คาดเดาได้

ซึ่งนักเก็งกำไร FX สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ นั่นเป็นคำถามที่น่าสนใจ โดยในบทความนี้เราจะมาทดสอบกันจาก Strategy ง่ายๆครับ

จาก Source paper ด้านบน แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในช่วงเวลาทำการท้องถิ่นและแข็งค่าขึ้นในช่วงเวลาทำการต่างประเทศ ซึ่งนักวิจัยตั้งสมมติฐานว่าภาคธุรกิจเป็นผู้ซื้อสุทธิของสกุลเงินต่างประเทศ และเนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการในช่วงเวลาทำการท้องถิ่น พวกเขาจึงทำให้สกุลเงินต่างประเทศแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินท้องถิ่น ต่อมาเมื่อธุรกิจต่างประเทศเปิดทำการ กระบวนการนี้ก็จะเกิดขึ้นในทางกลับกัน

โดยผู้ทำวิจัยได้พบแนวโน้มที่มีนัยสำคัญ ที่สกุลเงินจะมีการเสื่อมค่าลงในช่วงเวลาการซื้อขายท้องถิ่นครับ

ส่วนในเรื่องของ Trading Session กับ Volatility

Trading session หมายถึงช่วงเวลาที่ตลาดการเงินเปิดทำการและมีการซื้อขายอย่างแข็งขัน ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex) มีการแบ่ง trading session หลักๆ ดังนี้:

  • ช่วงเอเชีย: เริ่มตั้งแต่ประมาณเที่ยงคืนถึง 9:00 น. ตามเวลา GMT
  • ช่วงยุโรป: เริ่มตั้งแต่ประมาณ 7:00 น. ถึง 16:00 น. ตามเวลา GMT
  • ช่วงอเมริกาเหนือ: เริ่มตั้งแต่ประมาณ 12:00 น. ถึง 21:00 น. ตามเวลา GMT

แต่ละ session มีลักษณะเฉพาะและอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาและสภาพคล่องของตลาด

https://www.forex.academy/the-the-primary-global-trading-sessions/

Volatility คือการวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ทางการเงินในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งราคามีการเปลี่ยนแปลงมากและเร็ว ความผันผวนก็จะยิ่งสูง

ความสัมพันธ์ระหว่าง Trading Session และ Volatility:

  1. ความผันผวนมักจะสูงในช่วงที่มีการซ้อนทับของ trading session เช่น ช่วงที่ตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือเปิดพร้อมกัน เนื่องจากมีปริมาณการซื้อขายสูง
  2. ช่วงเวลาที่มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญมักจะทำให้เกิดความผันผวนสูง (ถ้าไม่มีกลยุทธ์ในการควบคุมความเสี่ยงที่ดีจะค่อนข้างอันตรายมาก) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วง trading session หลักของแต่ละภูมิภาค
  3. จากที่พูดถึงในส่วนต้นของบทความ มีแนวโน้มที่สกุลเงินจะมีค่าเสื่อมลงในช่วงเวลาการซื้อขายท้องถิ่น ซึ่งอาจส่งผลต่อรูปแบบความผันผวนในแต่ละ session ได้
  4. นักลงทุนและนักเก็งกำไรเงินตราต่างประเทศมักจะพิจารณา trading session และ volatility ร่วมกันเพื่อวางแผนกลยุทธ์การซื้อขายและการบริหารความเสี่ยง

การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง trading session และ volatility สามารถช่วยให้นักลงทุนคาดการณ์ช่วงเวลาที่อาจมีการเคลื่อนไหวของราคามากที่สุด และวางแผนการซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

https://www.investopedia.com/articles/forex/08/3-market-system.asp
Trading Session

Strategy Method Drafting

เรามาเริ่มการกำหนดกลยุทธ์ตั้งต้นกัน ซึ่งจะเริ่มจากกลยุทธ์ง่ายๆ อย่าง Breakout โดยจะกำหนดกรอบช่วงโซน Asia เปิดทำการ เเล้ววาง pending ที่กรอบเอาไว้ครับ

รูปตัวอย่าง
  • คำนวณกรอบ High,low ของช่วงเวลา asia session 02:00 ถึง 10:00 (GMT +2)
  • วาง buystop ที่กรอบบน เเละ sellstop ที่กรอบล่าง หลังจาก 10:00 เป็นต้นไป (เส้นประสีชมพู)
  • วาง Stoploss ที่กรอบของอีกฝั่ง
  • ปิด Positions ที่ถือเเละเคลีย orders ทั้งหมด เมื่อเวลา 18:00
  • เข้าไม่เกิน 2 Positions ต่อวัน

Backtesting Principal

  • ข้อมูลที่ใช้ทดสอบ Tick Data Suit ( Dukascopy )
  • Pair : GBPUSD
  • ช่วงเวลา 2017–1–1 ถึง 2024–6–30
  • กำหนดค่า Commission 3 $ ต่อ Lots
  • กำหนดค่า Delay หรือ Ratency ในการส่งคำสั่งที่ 275 ms (มาตรฐานของโบรคทั่วไป)
  • กำหนดค่า Spread ตามข้อมูลจริงจาก Tick Data Suite

จากรูป จะเห็นว่าผลลัพธ์ของกลยุทธ์เบื้องต้นค่อนข้างเป็นในทิศทางที่ดี ถึงเเม้จะมีช่วง Drawdown Period เป็นปี เเต่ก็สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ เราอาจต้องการ การยืนยันจากปัจจัยอื่นๆเพิ่มเติม เพราะ การใช้ breakout เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการทำกำไรให้มีความเสถียรในระยะยาว

ซึ่งกลยุทธ์ประเภท Breakout มีจุดอ่อนหลายอย่าง เช่น

  • การเกิด false breakout: ราคาอาจทะลุแนวต้านหรือแนวรับเพียงชั่วคราว แล้วกลับมาในกรอบเดิม ทำให้เกิดสัญญาณหลอก
  • ความล่าช้าในการเปิด position: การรอให้ราคาทะลุแนวต้านหรือแนวรับอย่างชัดเจนอาจทำให้พลาดโอกาสกำไรในช่วงแรก
  • ความเสี่ยงสูงในช่วงตลาดผันผวน: ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง อาจเกิด breakout หลอกได้บ่อย ๆ

Strategy Evaluation

เรามาเริ่มปิดจุดอ่อนกันเลยดีกว่า ด้วยความที่กลยุทธ์ประเภท Breakout จะเจอ False breakout บ่อยๆ ในช่วงที่ตลาดวิ่งในกรอบ จึงได้เลือก Indicator สำหรับมาทดสอบ 2 ตัว ซึ่งทั้งคู่ใช้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มตลาด โดยไม่คำนึงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง

1. The Efficiency Ratio (ER)

https://toslc.thinkorswim.com/center/reference/Tech-Indicators/studies-library/E-F/EfficiencyRatio

เงื่อนไขในการ Filter :

จะเปิด Positions ก็ต่อเมื่อ ค่า ER Timeframe Daily > ค่า ER Timeframe Daily ของเมื่อวาน

2. ADX หรือ Average Directional Index

https://www.investopedia.com/articles/trading/07/adx-trend-indicator.asp

เงื่อนไขในการ Filter :

จะเปิด Positions ก็ต่อเมื่อ ค่า ADX Timeframe Daily > ค่า ADX Timeframe Daily ของเมื่อวาน

จากรูป จะเห็นว่า ADX ค่อนข้างทำได้ดีกว่า ทั้งในด้านการทำกำไร เเละความผันผวนของ Portfolio เเต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงการทดสอบเเบบไวไวเท่านั้น

ซึ่งผู้อ่านอาจจะสามารถไปลองทดสอบกับตัวชี้วัดหรือเทคนิคอื่นๆ ที่ตัวเองถนัดได้ครับ จากนั้นค่อยนำ Money management มาประกอบอีกที

โดยส่วนตัว ผมมักจะไม่ค่อยปรับจูนหรือเพิ่ม Parameter เข้ามาในเเต่ละ Strategy มากเกินไป (เพราะจะยิ่งเพิ่มโอกาสของ Curve Fitting เข้าไปอีก) หากมีการเพิ่ม Parameter หรือ Indicator เข้ามา ก็ควรที่จะตั้งอยู่บนสมมุติฐานของการเทรดมากกว่าที่จะใส่เข้ามามั่วๆเเล้ว Fine tune จนผลลัพธ์สวยงาม

ทางที่ดีควรจะเน้นการปรับเเละทดสอบ Risk Method ในเเบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์นั้นๆ จากนั้นค่อยนำไปประกอบกับกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อปิดจุดอ่อน เเละลดความผันผวนของ Portfolio โดยรวม

อย่างเช่น กลยุทธ์ Breakout ที่มีจุดอ่อนในช่วงตลาด Sideway อาจจะนำไปใช้ร่วมกันกับกลยุทธ์ประเภท Mean Reversion ใน Asset เดียวกัน เป็นต้นครับ

.

Conclusion

ในบทความนี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นให้ทุกคนเห็นภาพ เพื่อทดสอบว่าทฤษฏีที่ได้นำมาใช้ เป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่เเละต้องตั้งอยู่บนหลักการที่มีเหตุมีผลและมีหลักฐานที่สามารถชี้วัดได้

ซึ่งกระบวนการพัฒนา Robust Trading System ยังต้องผ่านการทดสอบอีกหลายอย่างด้วยกัน กว่าจะสามารถออกไปสู้กับตลาดที่โหดร้ายนี้ได้ครับ

.

Indicator ที่ใช้ในบทความ (Range_breakout mt5)

A mistake is when you don’t follow your rules. If you don’t have rules in trading, everything you do is a mistake.

Dr. Van K. Tharp

.

Algo Alchemist

https://alchemist.trading/en

--

--