ชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทย อ. สทิงพระ จ. สงขลา ประเทศไทย

EKNARIN RODCHAROEN
AQUATED
Published in
3 min readAug 22, 2018

--

ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ก่อนที่ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังจะมาในอีก 2 เดือนข้างหน้า (ช่วงมรสุมอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ยากต่อการออกไปทำการประมงเนื่องจากมีคลื่นลมแรง) ชาวประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ จ. สงขลา ยังคงออกทะเลเพื่อทำการประมง โดยผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นพวก ปู ปลาทู และหมึก

การทำประมงปู ปลา และหมึก

ชาวประมงพื้นบ้านแถบนี้จะใช้อวนในการจับปูและปลา ในขณะที่ปลาหมึกถูกจับโดยใช้กับดักที่ทำด้วยขวดแก้วหรือที่ชาวบ้านเรียก “กุ๊งกิ๊ง”

รูปภาพ: จากซ้ายไปขวา 1) ปูที่ได้จากการทำประมง; 2) อวน; 3) ชาวประมงกำลังตรวจสอบปลา; 4) หมึกในเครื่องมือดักจับที่ทำด้วยขวดแก้ว

การทำประมงพื้นบ้าน

จำนวนเรือประมงทั้งหมด 884 ลำจะออกจับสัตว์น้ำในทะเลอ่าวไทย โดยเรือเล็กสามารถออกได้ในระยะทางเพียง 3 กม.จากชายฝั่ง เพื่อวางอวนปู ปลา และกับดักหมึก อวนปูจะถูกวางไว้ในทะเลเป็นระยะเวลา 3 วัน ซึ่งได้ผลผลิตประมาณ 100 ตัวต่อลำ ส่วนกับดักหมึกจะถูกวางไว้ในทะเลเป็นระยะเวลา 2 คืน (ข้อมูลจากชาวประมง) เรือประมงปูและหมึกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 3–4 เมตร และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูง

รูปภาพ: ปูและหมึกที่จับได้ จากซ้ายไปขวา: 1) เรือประมงปูถูกดึงขึ้นชายหาดหลังจากออกไปเก็บอวนปูที่วางไว้; 2) เครื่องยนต์เรือ; 3) เรือประมงและอวน

การออกทะเลหาปลา

ชาวประมงกลับมาถึงฝั่งเวลา 9.00 น. พร้อมกลับอวนจับปลา สังเกตุเห็นว่าเรือจับปลามีขนาดใหญ่กว่าเรือปูและเรือหมึก

เช้ามืดของวันใหม่ ขณะที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ทอแสงและดวงจันทร์ยังคงส่องสว่างอยู่บนท้องฟ้า เป็นเวลาตี 2 ของวันที่ 21 สิงหาคม 2561 (ปฏิทินไทย) ชาวประมงเริ่มออกสู่ทะเลเป็นระยะทางห่างฝั่งออกไป 40 กม.พร้อมกับอวนจับปลา เรือจับปลานั้นมีขนาดใหญ่กว่าเรือปูและหมึก และใช้เวลาเดินเรือประมาณ 3 ชม.กว่าจะถึงจุดวางอวน แต่ใช้เวลาเพียง 1.30 ชม.ในการทำงาน คือวางอวน 30 นาที รอปลาติดอวน 30 นาที และดึงอวนขึ้นอีก 30 นาที และใช้เวลาในการเดินทางกลับอีก 3 ชม. (ชาวประมงอธิบาย)

เวลา 11.00 น. ซึ่งเป็นเวลาเกือบเที่ยง ชาวประมงกลับมาถึงฝั่งพร้อมกับคัดแยกปลาที่จับมาได้

หมึกราคา 100 บาท/กก.

ปลาทู 130 บาท/กก.

ปูราคา 300 บาท/กก.

นักชีววิทยาตรวจผลการจับสัตว์น้ำ

หมึกราคา €7.96/กก.

ปลาทู €3.45/กก.

ปูราคา €7.96/กก.

ในช่วงฤดูที่ลมมรสุมกำลังจะมา เวลา 12.30 ปลาที่ถูกจับได้ถูกนำไปขายให้กับคนในชุมชนกันเอง ชาวประมงเชิญพวกเราร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกับพวกเขา อาหารมื้อเที่ยงก็คือปูม้าและปลาทรายแดงที่เพิ่งจับมาได้นั่นเอง ถ้าช่วงที่สามารถทำประมงได้ผลผลิตมาก ผลผลิตเหล่านั้นจะถูกนำไปขายที่ตลาดชุมชุนซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กม. แต่หากเป็นช่วงลมมรสุมที่ไม่สามารถออกเรือได้ ชาวประมงจะเก็บขวดพลาสติกที่ลอยมาติดหาดขาย

ราคาขวดพลาสติก 7 บาท/กก.

ราคาขวดพลาสติก €0.19/กก

รายได้ 50 บาท/วัน

€1.32/วัน

ปัจจุบัน ปลา หมึก และปู ยังคงมีราคามากกว่าขวดพลาสติก แต่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ฉันพยามคิดเรื่องนี้อยู่ในใจ ในขณะที่กำลังกินปลาและปูในมื้อเที่ยง อาหารคือสิ่งสำคัญในประเทศเทศไทย (ชาวประมงพูด) ในขณะที่เรากำลังรับประทานอาหารที่ได้จากชาวประมงที่กำลังยิ้มอยู่

ก่อนหน้านี้เราพยายามปล่อยลูกปูลงสู่ทะเล แต่ตอนนี้เรากำลังกินแม่ปู

เขากำลังพูดถึงเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูประชากรปูและการทำปะการังเทียมขนาดเล็กตามบริเวณชายฝั่ง ซึ่งจะเป็นเรื่องราวที่จะถูกนำมาเสนอต่อไป

วัตภุประสงค์

1. บรรยายชีวิตการทำประมงของชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณชายฝั่งสงขลา

2. เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประมงชนิดต่างๆ

3. แลกเปลี่ยนความรู้กับชาวประมงพื้นบ้าน

4. แลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องต่อไป: พลาสติกจะมีจำนวนมากกว่าปลาในปี ค.ศ. 2050 (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)

กิจกรรมแนะนำ

1. แลกเปลี่ยนความรู้กับนักศึกษาเกี่ยวกับการพยายามทำการประมงและข้อมูลอะไรที่สำคัญและจำเป็นที่ต้องคำนวนออกมา โดยการใช้ข้อมูลจากบทความนี้

2. แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลอะไรที่เป็นกุญแจสำคัญที่จำเป็นต้องติดตามในการทำการประมงนี้

3. แลกเปลี่ยนความรู้สิ่งที่ท้าทายสำคัญในการติดตามผลจากการทำประมงพื้นบ้าน

4. จำแนกชนิดของปลาจากรูปข้างล่างและระบุลักษณะเด่นของแต่ละชนิด

การทำประมงพื้นบ้านบริเวณทะเลฝั่งอ่าวไทย

รูปภาพ และวิดีโอ โดย Dr Sara Barrento ถ่ายเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ขอขอบคุณสำหรับการไปเยี่ยมชมสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเลอ่าวไทย อ.สทิงพระ จ.สงขลา

ถ่ายรูปร่วมกับชาวประมงพื้นบ้าน สมาคมพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ. สทิงพระ จ.สขลา

แปลโดย ดร. เอกนรินทร์ รอดเจริญ

--

--